อาหารพิชิตมะเร็ง

1. ผักและผลไม้สดไม่หวาน
       - เพราะ น้ำตาล เป็นอาหารของเซลล์มะเร็ง
       - มีสาระสำคัญต่าง ๆ เอนไซม์ วัตถุออกฤทธิ์ทางยา วิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยขจัดมะเร็ง
       - ทานอย่างหลากหลายเพื่อเสริมความแข็งแรงของร่างกาย และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
       - ทานก่อนอาหารชนิดอื่น และต้องทานในปริมาณมากกว่าอาหารชนิดอื่นในแต่ละมื้อ เพื่อให้การดูดซึมเอ็นไซม์ตรงลำไส้เล็กส่วนต้นดีขึ้น ซึ่งควรมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ถึง 70

2. อาหารที่ให้โปรตีนสูงและสะอาด ไม่เกิดการเน่าเสีย

เห็ดต่าง ๆ
     - เห็ดมีโปรตีนสูงมาก เป็นอาหารที่เน่าเสียน้อยที่สุด จึงปลอดภัยที่สุด
     - ควรทานเห็ดให้หลากหลายชนิดมากที่สุด เพื่อให้เป็นอาหารขจัดมะเร็ง

ถั่วต่าง ๆ
     - ทานถั่วที่สะอาด ไม่มีสารปนเปื้อนใดๆ
     - ทำให้สุกด้วยการต้มหรือนึ่ง ไม่นำไปทอดด้วยน้ำมัน
     - ถั่วให้ไขมันดีในกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคและภูมิคุ้มกันมะเร็งสูงขึ้น
     - ทานถั่วหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้กรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด และยังได้วิตามิน แร่ธาตุ ที่ร่างกายต้องการเป็นจำนวนมาก
     - ถั่วมีเส้นใยอาหารสูงมาก ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ทำให้ไม่มีการเน่าเสียของอาหารที่ตกค้างในร่างกาย ซึ่งเป็นอาหารของเซลล์มะเร็ง
     - ทานถั่วที่สดใหม่ ไม่มีเชื้อราชนิดที่ก่อให้เกิดสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งตับ

ไข่ต่าง ๆ
     - มีสารอาหารครบถ้วนในการซ่อมแซมและเสริมสร้างร่างกาย
     - ไข่ไม่ใช่อาหารที่ต่อต้านเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่ก็ไม่ถึงกับส่งเสริมเซลล์มะเร็ง
     - ผู้ป่วยมะเร็งไม่ควรรับประทานเกินวันละ 1 ฟอง
     - ห้ามนำไข่ไปทอดด้วยน้ำมัน เช่น ไข่เจียว ไข่ดาว โดยเฉพาะไข่ลูกเขย ซึ่งนอกจากจะทอดด้วยน้ำมันแล้ว ยังนำไข่ไปชุบน้ำตาลอีกด้วย

เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
     - เนื้อปลาจะย่อยได้ง่าย เกิดการเน่าเสียน้อยลง
    - งดเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมู วัว งดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด เพราะ มีอันตรายจากวิธีการเลี้ยงที่มีสารก่อมะเร็งติดมา เช่น สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งการเติบโต ยาปฏิชีวนะ ความเครียดของสัตว์ที่สูงมากในระหว่างการถูกนำมาฆ่า ซึ่งจะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

3. น้ำมันที่มีฤทธิ์ช่วยขจัดมะเร็ง

น้ำมันมะกอก
     - เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว คือตำแหน่งของธาตุคาร์บอนในโมเลกุลตำแหน่งที่ 9 ยังว่างอยู่
     - มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เป็นแหล่งพลังงานที่ดีให้กับเซลล์ร่างกาย แต่ไม่เป็นพลังงานให้กับเซลล์มะเร็ง
     - ควรทานในรูปน้ำมันมะกอกสกัดเย็น น้ำมันสลัด หรือรับประทานด้วยการดื่มโดยตรง ในการปรุงอาหารต้องไม่นำน้ำมันมะกอกมาทอดหรือผัดอาหาร เพราะ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนโมเลกุลเป็นไขมันทรานส์กลายเป็นสารก่อมะเร็งได้ น้ำมันมะพร้าว
     - มีกรดไขมันลอริก เป็นกรดไขมันอิ่มตัวชนิดสายกลาง ซึ่งช่วยในการเพิ่มภูมิคุ้มกนโรคและภูมิคุ้มกันมะเร็ง และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อรา เชื้อยีสต์ เชื้อ แบคทีเรีย และไวรัส
     - เป็นแหล่งพลังงานให้ผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งลดการใช้พลังงานจากกลุ่มแป้งและน้ำตาลลง เพราะเซลล์มะเร็งจะใช้พลังงานจากน้ำตาล ไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำมันได้
     - การนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้เป็นอาหาร จะต้องนำมาใช้อย่างถูกวิธี คือ นำมาใช้ในรูปของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หรือทานในรูปกะทิสด ห้ามนำน้ำมันมะพร้าวมาทอดอาหารหรือผัด อาหาร ถ้านำมาทำแกงหรือต้มข่าห้ามเคี่ยวข้าววันข้ามคืน ควรทำเครื่องแกงหรือเครื่อง ต้มข่าให้สุกก่อนแล้วจึงใส่กะทิสดลงไป เมื่ออาหารเริ่มเดือดอีกครั้งก็ยกลงจากเตาทันที ควรปรุงรับประทานให้หมดเป็นมื้อๆ ไม่ควรนำไปอุ่นรับประทานหลายครั้ง

น้ำมันปลา
     มีกรดไขมันโอเมกา 3 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 2 ชนิด คือ
     1. กรดไขมันอีพีเอ (EPA: Eicosapentaenoic acid ไอโคซาเพนทาอีโนอิก แอซิด)
        - ช่วยให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL) เพิ่ม
        - ลดการสร้างคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ลง ลดการสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์ลง จึงช่วยให้เส้นเลือดไม่อุดตัน เลือดไม่หนืด เลือดไหลเวียนผ่านเส้นเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้ดี
        - มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ และต้านเซลล์มะเร็ง
     2. กรดไขมันดีเอชเอ (DHA: Docosahexaenoic acid โดโคซาเฮกซาอีโนอิก แอซิด)
        - ทำให้เซลล์สมองแข็งแรง และเพิ่มเส้นสมองให้มากขึ้น
        - น้ำมันปลามีอยู่ในปลาทุกชนิด เมื่อเราทานปลาที่ผ่านการปรุงด้วยการต้มหรือนึ่ง เราจะได้น้ำมันปลาที่ดี แต่ถ้าเรานำปลาไปทอดด้วยน้ำมัน น้ำมันปลาในปลาจะเปลี่ยนตัวเองเป็นไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง  

ข้อควรระวัง
       อาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น เห็ดต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ซึ่งจัดเป็นอาหารต้านมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งต้องทานด้วยความระมัดระวัง ควบคุมปริมาณโปรตีน ทานในจำนวนที่จำกัด โดยเฉลี่ยแล้วไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของสัดส่วนการรับประทานแต่ละมื้อ เพราะถ้าทานในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 จะย่อยไม่ทัน เกิดการเน่าเสียในลำไส้ได้ ถ้าเราทานมากเกินไปจะกลับเป็นอาหารส่งเสริมมะเร็งได้ ร่างกายยังจำเป็นต้องยึดหลัก การรับประทานพืชผักสดและผลไม้สดไม่หวานเป็นอาหารหลัก ซึ่งควรมีสัดส่วนการรับประทานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ถึง 70 ต่อการรับประทานในแต่ละมื้อ น้ำมันต่าง ๆ ทานน้อย ๆ หากเป็นมะเร็งที่เกี่ยวกับท่อน้ำดี ตับ ตับอ่อนหรือมะเร็งที่ให้เคมีบำบัด การทานอาหารที่มีน้ำมัน การย่อยไขมันจะยาก ท้องจะอืดง่าย ถ้าผู้ป่วยมะเร็งไม่มีผลของไตเสื่อมมาก ควนทานข้าวกล้องล้วน เพื่อให้ได้สารอาหารโปรตีน แป้งและไขมันจากจมูกข้าว มีเส้นใยช่วยขับถ่าย การทานแป้งไม่ขัดขาวจะย่อยสลายเป็นน้ำตาลช้า ๆ ซึ่งปลอดภัยกว่า

ที่มา : หนังสือพิชิตมะเร็ง ฟื้นฟูไต ด้วยพลังธรรมชาติ
เขียนโดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์


TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.