CVO 
ข้อมูลผลิตภัณฑ์

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ทั้งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกเซลล์ เป็นสารสำคัญในการสร้างฉนวนเส้นใยประสาท เป็นสารสำคัญในการสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ สร้างวิตามินดี สร้างน้ำดี และเป็นสารประกอบอื่น ๆ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้หลายประการ แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น อวัยวะทุกส่วนของร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ประกอบกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารผิดหลักธรรมชาติจึงกระตุ้นให้อวัยวะที่มีหน้าที่ในการนำคอเลสเตอรอลไปใช้เสื่อมสภาพลง นำคอเลสเตอรอลไปใช้ได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายต้องปรับระดับคอเรสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้น จนสามารถนำคอเรสเตอรอลไปใช้ได้อย่างเพียงพอ เห็นได้จากภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ถือเป็นโรค NCDs ที่คนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ดังนั้นเราจึงควรกลับมาดำเนินชีวิตตามหลักธรรมชาติ แทนการรับประทานยาลดคอเรสเตอรอลระยะยาว ซึ่งส่งผลเสียต่อตับและไต สำหรับผู้ที่ไม่สามารถปรับพฤติกรรมจนระดับไขมันอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย “ผลิตภัณฑ์ CVO” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประกอบด้วยน้ำมันสกัดจากธรรมชาติ 4 ชนิดคือ น้ำมันเคย น้ำมันปลา น้ำมันโบราจ และน้ำมันกระเทียม มีคุณสมบัติหลักในการเพิ่มไขมันดี ลดไขมันร้าย การแก้อักเสบที่เกิดขึ้นในหลอดเลือด ช่วยสลายไขมันที่อุดตันหลอดเลือดและไขมันพอกตับ และมีโคเอนไซม์ คิวเท็น (CoQ10) ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง สามารถสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือดได้ดี โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ ตา-ไต-หัวใจ-สมอง จึงเหมาะสำหรับผู้ต้องการเพิ่มไขมันดี (HDL- Cholesterol) ลดไขมันร้าย (LDL- Cholesterol) และลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับและภาวะตับแข็ง รวมทั้งการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ที่เป็นผลจากการเสื่อมสภาพของอวัยวะ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ควบคู่ไปกับแนวทางอื่น ๆ

*** 1 กล่อง มี 30 แคปซูล ราคา 950 บาท

ส่วนประกอบสำคัญ

1 แคปซูล 860 มก. ประกอบด้วยสารสกัดจากน้ำมันจากธรรมชาติ 4 ชนิด และ CoQ10 ดังนี้

1. น้ำมันเคย (Krill Oil) 250 มก. เป็นน้ำมันสกัดจากกุ้งเคยในมหาสมุทรที่กินสาหร่ายแดงเป็นอาหาร อุดมด้วยสารแอสตาแซนทิน (Astaxanthin) ที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระได้จากแหล่งอาหารที่มีสีแดง และเป็นแหล่งสารอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิด EPA และ DHA ที่สำคัญ มีคุณสมบัติสำคัญในการแก้อักเสบที่เกิดขึ้นในหลอดเลือด เพิ่มไขมันดี (HDL-C) ลดไขมันร้าย (LDL-C) และลดไตรกลีเซอไรด์ (Tri) ในเลือด

2. น้ำมันปลา (Fish Oil) 235 มก. เป็นน้ำมันที่สกัดจากปลาในมหาสมุทรที่มีปริมาณของกรดไขมันโอเมก้า-3 ชนิด EPA และ DHA สูง ช่วยในการเพิ่มไขมันดี (HDL-C) ลดไขมันร้าย (LDL-C) และลดไตรกลีเซอไรด์ (Tri) ในเลือด ลดความหนืดข้นของเลือด ช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้สะดวก

3. น้ำมันกระเทียม (Garlic Oil) 10 มก. น้ำมันกระเทียมสกัดบริสุทธิ์ มีสารอัลลิซิน (Allicin) เป็นส่วนประกอบสำคัญ ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต เพิ่มไขมันดี (HDL-C) ลดไขมันร้าย (LDL-C) และลดไตรกลีเซอไรด์ (Tri) ในเลือด

4. น้ำมันโบราจ (Borage Oil) 150 มก. น้ำมันจากเมล็ดโบราจ มีสารแกมมาลิโนเลนิก (GLA) ในปริมาณสูง ซึ่งประกอบไปด้วยแร่ธาตุและกรดอะมิโนจำเป็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบไหลเวียนหลอดเลือด มีคุณสมบัติโดดเด่นในการลดการอักเสบของหลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ ลดอาการปวดประจำเดือน

5. โคเอนไซม์ คิวเท็น (CoQ10) 15 มก. เป็นสารประเภทโคเอนไซม์ที่มีอยู่ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ มีหน้าที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง สามารถสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือดได้ดี

บทความแนะนำ
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล

       คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ทั้งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกเซลล์ เป็นสารสำคัญในการสร้างฉนวนเส้นใยประสาท เป็นสารสำคัญในการสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ สร้างวิตามินดี สร้างน้ำดี และเป็นสารประกอบอื่น ๆ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้หลายประการ
       เมื่อเรา “อายุมากขึ้น” อวัยวะทุกส่วนของร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ประกอบกับ “พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารผิดหลักธรรมชาติ” จึงกระตุ้นให้อวัยวะที่มีหน้าที่ในการนำคอเลสเตอรอลไปใช้เสื่อมสภาพลง นำคอเลสเตอรอลไปใช้ได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายต้องปรับระดับคอเรสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้น จนสามารถนำคอเรสเตอรอลไปใช้ได้อย่างเพียงพอ เห็นได้จากภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งถือเป็นโรค NCDs ที่คนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ผู้รักสุขภาพหลายคนเริ่มตระหนักความสำคัญของการใส่ใจสุขภาพ แต่อาจยังเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลจนไม่กล้ารับประทานอาหารบางประเภท เช่น ไข่ กุ้ง ปลาหมึก เพราะกังวลว่าค่าคอเลสเตอรอลจะสูง อันเกิดจากความเข้าใจเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น โดยอาจยังรู้ไม่เท่าทันเกี่ยวกับ “การรับประทานไขมันทรานส์” และ “การบริโภคน้ำตาลเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน” ที่กำลังรณรงค์กันทั่วโลก รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ บทความนี้จึงขออธิบายถึง “ระดับไขมันในเลือดผิดปกติคืออะไร” เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่เราควรเข้าใจเบื้องต้น
       ระดับไขมันในเลือด มีอยู่ 4 ประเภทของไขมัน
       ประเภทที่ 1 คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol ตัวย่อ TC)
       เป็นค่าที่เกิดจากไขมันคอเลสเตอรอล 3 ชนิดรวมกันคือ ไขมันดี เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C), ไขมันร้าย แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) และไขมันร้ายกว่า วีแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (VLDL-C)
       ในปัจจุบันค่าคอเลสเตอรอลรวม (TC) นิยมให้มีค่าไม่เกิน 200 mg% แต่ตามแนวทางของ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดเวลเนสแคร์ แนะนำให้เลิกยึดถือตัวเลข 200 mg% เนื่องจากในผู้ที่ดูแลสุขภาพดีมาก รับประทานอาหารถูกต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะมีค่าไขมันดี (HDL-C) สูงมาก บางคนสูงถึง 100 mg% ทำให้ค่าคอเลสเตอรอลรวม (TC) เกินกว่า 200 mg% ไปมาก ซึ่งในกรณีนี้ก็ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดหรือภาวะไขมันพอกตับ โดยแนะนำให้ยึดเกณฑ์ “สัดส่วนของ Triglyceride/HDL-C และ LDL-C/HDL-C”
       ประเภทที่ 2 ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride ตัวย่อ Tri)
       ไขมันไตรกลีเซอไรด์ จัดอยู่ในกลุ่ม “ไขมันร้าย” ถ้ามีมากเกินไป จะไปเกาะตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตันและไปพอกตับ โดยสาเหตุที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง มีสาเหตุสำคัญ 5 ประการคือ
       1. รับประทานน้ำตาลและแป้งมากเกินไป
       2. รับประทานไขมันทรานส์
       3. ขาดการรับประทานผัก ซึ่งเป็นอาหารเส้นใยสูง
       4. ขาดการออกกำลังกาย
       5. มีความเครียดในจิตใจสูง
       ประเภทที่ 3 แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-Cholesterol ตัวย่อ LDL-C)
       ไขมันแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) จัดอยู่ในกลุ่ม “ไขมันร้าย” ถ้ามีมากเกินไป จะไปเกาะตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตัน มีสาเหตุเดียวกันกับสาเหตุที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง
       ประเภทที่ 4 เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol ตัวย่อ HDL-C)
       ไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) จัดอยู่ในกลุ่ม “ไขมันดี” เพราะถ้ามีปริมาณมาก จะไปดึงไขมันร้าย Tri และ LDL-C ที่เกาะตามหลอดเลือดกลับไปใช้ประโยชน์ที่ตับ และช่วยสลายไขมันที่พอกตับ
       ค่าระดับไขมันต่าง ๆ ในเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย โดยเกณฑ์เบื้องต้นคือ
       1. HDL-C ควรมากกว่า 50 mg%
       2. Tri ควรต่ำกว่า 100 mg%
       3. LDL-C ควรต่ำกว่า 150 mg%
       เนื่องจาก HDL-C ทำงานตรงกันข้ามกับ Tri และ LDL-C คือ HDL-C ช่วยล้างหลอดเลือด แต่ LDL-C และ Tri จะไปพอกหลอดเลือด จากเกณฑ์เบื้องต้นถ้าเรานำมาเปรียบเทียบสัดส่วน จะได้ดังนี้
        Tri   /  HDL - C       =  100 mg%  /   50 mg%         น้อยกว่าหรือเท่ากับ     2.0
       LDL - C / HDL - C  = 150 mg%   /   50 mg%         น้อยกว่าหรือเท่ากับ     3.0

       
       ถ้าเรามีค่า HDL-C ต่ำลง Tri และ LDL-C และจะลดลงตามด้วย จึงจะปลอดภัยจากการมีไขมันร้าย
       เช่น HDL-C มีค่า 40 mg% ค่า Tri ต้องน้อยกว่า 80 mg% เพื่อไม่ให้อัตราส่วนเกิน 2.0 และ LDL-C ต้องน้อยกว่า 120 mg% เพื่อไม่ให้อัตราส่วนเกิน 3.0
       แต่อย่างไรก็ตามหาก HDL-C มากกว่า. 80 mg% ขึ้นไป ค่า Tri ก็ไม่ควรเกิน 150 mg% และสำหรับ LDL-C ไม่ควรเกิน 200 mg%
       หากเรามีพฤติกรรม 5 ข้อได้แก่ ลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต งดการรับประทานไขมันทรานส์ รับประทานผักเป็นอาหารหลัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ละวางความเครียด ทำจิตใจให้ผ่องใส ผลลัพธ์ที่ได้คือ “HDL-C จะสูงขึ้น Tri จะต่ำลง และ LDL-C จะต่ำลง” โดยหากปฏิบัติตาม 5 ข้ออย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแล้ว อัตราส่วนของ Tri/HDL-C และ LDL-C/HDL-C จะอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เป็นการดำเนินชีวิตตามกฎธรรมชาติให้ร่างกายกลับสู่กระบวนการซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ที่เสื่อมสภาพได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ร่างกายหมดความจำเป็นที่จะคงระดับคอเรสเตอรอลไว้ในเลือดที่ระดับสูง ระดับคอเรสเตอรอลในเลือดก็จะลดระดับลงสู่ปกติ แทนการรับประทานยาลดคอเรสเตอรอลระยะยาวที่ส่งผลเสียต่อตับและไต ทั้งยังเป็นการป้องกันและช่วยสลายไขมันที่ไปอุดตันหลอดเลือดหรือไปพอกตับ
       สำหรับผู้ที่ไม่สามารถปรับพฤติกรรมจนระดับไขมันอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย อาจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นตัวช่วย เช่น อาหารเสริมที่สกัดน้ำจากน้ำมันจากธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อช่วยสลายไขมันที่เกาะตามหลอดเลือดและไขมันที่พอกตับ รวมทั้งเสริมโคเอนไซม์ คิวเทน (CoQ10) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง สามารถสูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือดได้ดี ทั้งนี้ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติจะไม่เกิดโทษต่อสุขภาพ ถ้าไม่เกิดการอุดตันที่หลอดเลือด สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดการอุดตันได้อย่างมากคือ มีการแข็งตัวของหลอดเลือด มีการอักเสบขึ้น ซึ่ง “ความเครียด” จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเสียหายของหลอดเลือดตามที่กล่าวมา รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย

ข้อมูล: นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

ปรับชีวิต เปลี่ยนพฤติกรรม เพิ่มไขมันดี ลดไขมันร้าย

         การปรับตัวในวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ซึ่งหมายถึง ความผิดปกติใหม่ เราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น และควรปฏิบัติให้เป็นนิสัยตามหลักธรรมชาติ แต่เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไป เราจึงมี “พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารผิดหลักธรรมชาติ” ประกอบกับเมื่อเราอายุมากขึ้น อวัยวะทุกส่วนของร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง เห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป จึงกระตุ้นให้อวัยวะที่มีหน้าที่ในการนำคอเลสเตอรอลไปใช้เสื่อมสภาพลง   นำคอเลสเตอรอลไปใช้ได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายต้องปรับระดับคอเรสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้น จนสามารถนำคอเรสเตอรอลไปใช้ได้อย่างเพียงพอ ก่อให้เกิดภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งถือเป็นโรค NCDs ที่คน     ทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ดังนั้นเราควรยึดหลักสำคัญ 5 ประการ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์      นั่นคือ “HDL-C สูงขึ้น Tri ต่ำลง และ LDL-C ต่ำลง” ดังนี้

              1. ละวางความเครียด

                  ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า เมื่อเกิดความเครียดขึ้นทั้งทางจิตใจและร่างกาย จะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติชิมพาเทติกทำงานมากขึ้น ฮอร์โมนอะดรีนาลีนจากต่อมหมวกไตถูกปล่อยออกมามากขึ้น ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้มีการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ร่างกายจะเร่งสร้างไขมันตัวร้ายไตรกลีเซอไรด์ (Tiglyceride) และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) มากขึ้น พร้อมทั้งลดการสร้างเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL -C) ซึ่งเป็นไขมันดีลง เลือดเป็นกรดมากขึ้น ภูมิต้านทานโรคลดลง ภูมิแพ้รุนแรงขึ้น แพ้ภูมิตัวเองมากขึ้น เซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น ร่างกายถูกกระทำให้เสื่อมโทรมลง       ทุกอวัยวะ เราจึงควรละวางความเครียด พยายามจัดการกับอารมณ์เชิงลบ กล้าเผชิญกับปัญหาอุปสรรคและทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ

              2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

                 คนไทยเราในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพโดยไม่ต้องออกกำลังกาย จึงขาดการออกกำลังกาย เพราะคนเราส่วนใหญ่ชอบความสบาย ไม่ชอบความเหนื่อยจากการออกกำลังกาย ถึงแม้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพในทางการแพทย์พบว่า “การออกกำลังกายที่ดีจะต้องทำให้เหนื่อยมากพอที่หัวใจจะต้องเต้นเร็วขึ้น 30% และต้องคงภาวะความเหนื่อยให้ต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่า 30 นาที” จึงจะเกิดภาวะ “แอโรบิกเอ็กเซอร์ไซส์”    ผลที่ร่างกายจะได้รับคือ หัวใจแข็งแรงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจจะช้าลง แต่จะเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ผลดีอื่นที่ตามมาคือ ความดันโลหิตที่สูงจะลดลง ไขมันร้ายในเลือดลดลง ไขมันดีเพิ่มขึ้น รวมทั้งโรคภูมิแพ้และโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ดีขึ้น ภูมิต้านทานโรคสูงขึ้น และสภาวะเลือดเปลี่ยนจากกรดเป็นด่าง

              3. รับประทานผักสดและผลไม้สดเป็นอาหารหลัก

                  ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า สิ่งที่ผักสดและผลไม้สดแตกต่างจากเมนูที่ปรุงสุก เพราะมีสารสำคัญ 2 ชนิดที่ไม่ถูกทำลายคือ วิตามินซี (Vitamin C) และเอนไซม์ (Enzyme)

                 ประโยชน์ที่วิตามินซีมีต่อสุขภาพของคนเรา คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงต่อต้านความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารยืดหยุ่น คือ คอลลาเจนและ    อิลาสติน โดยเฉพาะที่ผิวหนัง หลอดเลือด ข้อต่าง ๆ และกระดูก ทำให้คงความยืดหยุ่นของร่างกายไว้ได้นาน    ทำให้แก่ช้าและอายุยืน รวมทั้งเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค และต้านทานมะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง

                  เอนไซม์เป็นสารประกอบโปรตีน มีหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการทางชีวะเคมีในร่างกายทุกขั้นตอน ในร่างกายคนเรามีเอนไซม์มากกว่า 2,700 ชนิด เพราะคนเรามีร่างกายที่ชับซ้อนกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น การย่อยอาหาร การดูดซึมอาหาร การขจัดสารพิษในร่างกาย การซ่อมแชมร่างกาย การสร้างร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ ต้องใช้เอนไชม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเป็นตัวควบคุม ถ้าขาดเอนไซม์ กระบวนการต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะไม่สามารถดำเนินการได้

                   การรับประทานอาหารสดที่ไม่ผ่านการปรุงด้วยความร้อน ทำให้เราได้เอนไชม์จากอาหารสูง การซ่อมแซมร่างกายจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ต้องทำให้ละเอียดก่อนกลืน เพราะการดูดซึมเอนไซม์ ซึ่งเป็นสารประกอบโปรตีนมีความจำเพาะในการดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) เท่านั้น เอนไซม์ในผักผลไม้จะถูกดูดซึมได้ก็ต่อเมื่อผักผลไม้ต้องถูกทำให้ละเอียดมากพอจนปลดปล่อยเอนไชม์ออกมา การปั่นผักและผลไม้ให้ละเอียดจนสามารถปลดปล่อยเอนไซม์ออกมาจึงเป็นทางเลือกเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพที่ดี รวมทั้งรับประทานก่อนอาหารอื่นทุกมื้อเพื่อการดูดซึมเอนไซม์จะทำได้สมบูรณ์กว่าการรับประทานหลังอาหาร ทั้งนี้ปริมาณผักสดและผลไม้สดที่รับประทานในแต่ละวัน ควรมีสัดส่วนร้อยละ 50-70 ของปริมาณอาหารประจำวัน และหลากหลายชนิด เนื่องจากผักและผลไม้แต่ละชนิดมีเอนไชม์ไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายเราต้องการ ผักและผลไม้แต่ละชนิดจะมีเอนไชม์แตกต่างกัน ถ้าเรารับประทานหลากหลายชนิดจะทำให้ร่างกายได้รับชนิดของเอนไซม์ครบถ้วน

              4. การไม่รับประทานน้ำตาล และลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต

                 เป็นที่ยอมรับกันทุกประเทศทั่วโลกว่า การรับประทานน้ำตาลส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น กระตุ้นให้เกิดภาวะเบาหวาน เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาต่ออวัยวะ ตา-ไต-หัวใจ-สมอง-หลอดเลือดและระบบประสาท ทำให้ตับสร้างไขมันร้าย ทั้งไตรกลีเซอไรด์ (Tri) และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) เพิ่มขึ้น ตับสร้างไขมันดี เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) ลดลง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ปริแตกง่าย นำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดมีสภาวะเป็นกรด ภูมิต้านทานโรคลดลง เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย ร่างกายเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้รวมถึงการลดรับประทานแป้งที่ย่อยสลายได้น้ำตาลในเวลาอันรวดเร็วด้วย หันมาบริโภคแป้งที่เป็นธัญพืชที่ไม่ขัดขาว ทำให้การย่อยเกิดน้ำตาลเพียงเล็กน้อย

              5. งดรับประทานไขมันทรานส์

              การทอดอาหารด้วยน้ำมันที่เดือด ทำให้โมเลกุลของน้ำในอาหารแตกออกจากความร้อนสูงของน้ำมันที่เดือด ธาตุไฮโดรเจนจากโมเลกุลของน้ำจะเข้าไปเกาะกับธาตุคาร์บอนที่มีช่องว่างตรงตำแหน่งที่ไม่อิ่มตัวของไขมันไม่อิ่มตัวที่นำมาทอดอาหาร ทำให้โมเลกุลของไขมันเปลี่ยนเป็นไขมันที่ผิดจากธรรมชาติดั้งเดิม เกิดเป็น “ไขมันทรานส์” ซึ่งเกิดโทษต่อร่างกายมากมาย ได้แก่

              1) ทำให้ร่างกายต้องมาสร้างกระบวนการกำจัดไขมันทรานส์ออกจากร่างกายเพราะไขมันทรานส์ ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายต้องขับทิ้ง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ โดยง่าย

              2) ทำให้ตับสร้างไขมันร้ายทั้งไตรกลีเซอไรด์ (Tri) และแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) เพิ่มขึ้น

              3) ทำให้ตับสร้างไขมันดี เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) ลดลง

              4) ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ-หลอดเลือดอุดตันที่หัวใจและสมองได้ง่าย

                   โดยทางออกของคนไทยที่ต้องการผัดหรือทอดอาหารแล้วไม่เกิดไขมันทรานส์ คือการใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อนในการผัดหรือทอดอาหาร เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน เป็นไขมันอิ่มตัวที่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ ซึ่งต่างจากน้ำมันไม่อิ่มตัวอื่น ๆ

         หากเรามีพฤติกรรม 5 ข้อได้แก่ ละวางความเครียด ทำจิตใจให้ผ่องใส ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอรับประทานผักสดและผลไม้สดเป็นอาหารหลัก การไม่รับประทานน้ำตาลและลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต รวมทั้งงดรับประทานไขมันทรานส์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ “HDL-C จะสูงขึ้น Tri จะต่ำลง และ LDL-C จะต่ำลง” โดยหากปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแล้ว อัตราส่วนของ Tri/HDL-C และ LDL-C/HDL-C จะอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เป็นการดำเนินชีวิตตามกฎธรรมชาติให้ร่างกายกลับสู่กระบวนการซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ที่เสื่อมสภาพได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ร่างกายหมดความจำเป็นที่จะคงระดับคอเรสเตอรอลไว้ในเลือดที่ระดับสูง ระดับคอเรสเตอรอลในเลือดก็จะลดระดับลงสู่ปกติ แทนการรับประทานยาลดคอเรสเตอรอลระยะยาวที่ส่งผลเสียต่อตับและไต ทั้งยังเป็นการป้องกันและช่วยสลายไขมันที่ไปอุดตันหลอดเลือดหรือไปพอกตับ

         สำหรับผู้ที่ไม่สามารถปรับพฤติกรรมจนระดับไขมันอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย อาจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นตัวช่วย เช่น อาหารเสริมที่สกัดน้ำจากน้ำมันจากธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อช่วยสลายไขมันที่เกาะตามหลอดเลือดและไขมันที่พอกตับ รวมทั้งเสริมโคเอนไซม์ คิวเทน (CoQ10) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง สามารถสูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือดได้ดี

 

ข้อมูล: นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

 

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.