Lecithin 
ข้อมูลผลิตภัณฑ์

ภาวะไขมันพอกตับและภาวะตับแข็ง ถือเป็นโรค NCDs ที่พบมากในปัจจุบัน เป็นโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันและพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดไปจากหลักธรรมชาติ หากไม่ได้ รับการดูแลด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ก็อาจส่งผลต่อชีวิตจากภาวะตับวายหรือโรคมะเร็งตับได้ ดังนั้นการแก้ไขที่ต้นเหตุ อาทิ สลายไขมันที่พอกตับ หยุดการทำร้ายจากสารเคมีต่าง ๆ และบำรุงตับที่แข็งให้กลับมาเป็นปกติจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสม “ผลิตภัณฑ์ Lecithin เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สกัดเลซิตินจากถั่วเหลืองประกอบด้วยฟอสฟอรัส กรดไขมัน และวิตามินในกลุ่มวิตามินบี อีกทั้งมีสารสำคัญ ชื่อว่า “ฟอสโฟไลปิด (Phospholipid)” เป็นสารที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะสมองกับระบบประสาท ช่วยลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นได้ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันที่ตับ สลายไขมันที่พอกตับ ช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของตับ ป้องกันการดูดซึมคอเลสเตอรอลในระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มการขับถ่ายคอเลสเตอรอลทางอุจจาระ อีกทั้งลดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับและภาวะตับแข็ง ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ผู้ที่ต้องการบำรุงสมอง ระบบประสาท และควบคุมไขมัน ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ ร่วมกับแนวทางอื่น

 

         *** 1 กระปุก บรรจุ 60 แคปซูล ราคา 790 บาท 


 

ส่วนประกอบสำคัญ

Soy Lecithin / Lecithin (100%) 1,200 mg.

         เลซิติน (Lecithin) ที่สกัดจากถั่วเหลือง ประกอบด้วยฟอสฟอรัส กรดไขมัน และวิตามินในกลุ่มของวิตามินบี อีกทั้งมีสารสำคัญ ชื่อว่า “ฟอสโฟไลปิด (Phospholipid)” ที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้

         1. โคลีน (Choline) ในเลซิตินจะมีผลในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ ส่งผลให้ร่างกายมีการนำไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น ภาวะไขมันพอกตับก็จะลดลง ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลที่เป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ อะซิติลโคลีน (Acetylcholine) เข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท บำรุงสมอง เสริมสร้างความจำและช่วยลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น

         2. สารฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) ในเลซิติน เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ตับ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติจากยา แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษต่าง ๆ ที่จะทำลายตับ จึงมีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์และบำรุงตับได้

 

         3. ช่วยทำให้คอเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้คอเลสเตอรอลไม่เกาะติดกับผนังเส้นเลือดจนเกิดการอุดตัน เพิ่มระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น อีกทั้งมีส่วนช่วยลดการดูดซึมและเพิ่มการขับถ่ายคอเลสเตอรอลทางอุจจาระ จึงช่วยเพิ่มสัดส่วนของไขมันดี (HDL-Cholesterol)

         4. ช่วยป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี เลซิตินในน้ำดี ทำหน้าที่ช่วยเผาผลาญไขมันและควบคุมคอเลสเตอรอล โดยจะละลายไขมันให้แตกตัวเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ จึงช่วยทำให้คอเลสเตอรอลไม่ตกตะกอนในเลือดจนทำให้เกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้

         5. ช่วยในกระบวนการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดีขึ้น จึงทำให้ร่างกายนำวิตามินที่ละลายในไขมัน อันได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค สามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         6. ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพราะเลซิตินช่วยทำให้ไขมันกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่แขวนลอยในน้ำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญคอเลสเตอรอลและนำไปใช้เป็นพลังงานให้ดีขึ้น

 

บทความแนะนำ
รู้จักนิ่วในถุงน้ำดี โรคใกล้ตัว

โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา ส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 1-2 เท่า ส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจากพันธุกรรม หากเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ถึงขั้นอักเสบแล้ว อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก เราจึงไม่ควรละเลยและหันมาทำความรู้จักกับโรคนี้

         ถุงน้ำดีมีหน้าที่ “เก็บสะสมน้ำดี” ที่ตับสร้างไว้ เพื่อใช้น้ำดีย่อยอาหารประเภทไขมัน โดยในน้ำดีจะประกอบไปด้วยสารคอเลสเตอรอล กรดน้ำดี สารฟอสโฟลิพิด (Phospholipids) และสารอื่น ๆ โดยนิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) เกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) คอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี ที่เกิดมาจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลกับบิลิรูบินในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กจำนวนหลายก้อนก็ได้ และการสะสมของนิ่วกว่า 95 % มักทำให้เกิดภาวะอักเสบในถุงน้ำดี

 

         ประเภทของก้อนนิ่วที่เกิดในถุงน้ำดี

       นิ่วในถุงน้ำดี ประกอบด้วยสาร 3 ชนิดหลัก ได้แก่ แคลเซียม คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน สามารถแบ่งจากลักษณะและองค์ประกอบของการเกิดนิ่วได้ 2 ประเภท ได้แก่

       1. ชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) เป็นนิ่วที่เกิดขึ้นจากการจับตัวของคอเลสเตอรอลประมาณ 70% โดยน้ำหนัก เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลมากเกินไป ไม่สามารถขับออกมาจากถุงน้ำดีได้หมด จึงตกตะกอนกลายเป็นก้อนนิ่ว นิ่วชนิดนี้มักพบในผู้ป่วยในประเทศแถบตะวันตกและผู้รับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ

       2. ชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน (pigment stones) ก้อนนิ่วชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล มักพบในผู้ป่วยโรคตับหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย

 

         ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว

         1. ความอ้วน คนอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐานจะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอล เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง

         2. การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป ทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลออกมามากขึ้น รวมถึงถุงน้ำดีจะบีบตัวลดน้อยลง น้ำดีจึงค้างอยู่ในถุงน้ำดีนานขึ้น โอกาสเกิดการตกตะกอนก็มากขึ้น

         3. พฤติกรรมการรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารที่มีไขมันสูงและเส้นใยอาหารต่ำ ทำให้เกิดการสะสมไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย การย่อยไขมันไม่สมบูรณ์ เมื่อสะสมเป็นเวลานานก็จะเกิดอาการนิ่วในถุงน้ำดี

         4. ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้นคนที่ขาดการออกกำลังกายจึงมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ออกกำลังกาย

      5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อย จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ง่ายขึ้น

         6. การรับประทานยาลดไขมันบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง

      7. การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง และลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี

         8. ผู้ป่วยโรคเลือดบางโรค เช่น ธาลัสซีเมีย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก จะมีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าคนทั่วไป

         9. พันธุกรรม บิดามารดาที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

 

      อาการของนิ่วในถุงน้ำดี

       อาการในช่วงแรก

       ในช่วงแรกที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี บางคนอาจยังไม่แสดงอาการ หรือมีอาการแต่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นนิ่วและตรวจเช็คร่างกาย เมื่อระยะเวลาผ่านไป นิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือสะสมเพิ่มจำนวนขึ้น จึงเริ่มมีอาการ โดยอาการ ในช่วงแรกที่ยังไม่รุนแรงมาก มักเกิดขึ้นเป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากจากรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจึงไปกระตุ้นให้เกิดอาการบวมตึงในถุงเนื่องจากการคั่งของของเหลว ข้อสังเกตคือ มักมีอาการหลังรับประทานอาหารไขมันสูงหรือช่วงเวลากลางคืน อยู่ 1 - 2 ชั่วโมงก็หาย และในขณะที่มีอาการยังพอขยับตัวได้ ลักษณะอาการที่สังเกตได้มีดังนี้

         - แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ มีลมมาก

         - ปวดจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ และอาจปวดร้าวไปบริเวณสะบักขวา

         - อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน คล้ายอาการของอาหารไม่ย่อย ร่วมด้วย

 

         อาการรุนแรง

         โดยทั่วไปหากเริ่มมีอาการแล้วก็มักเป็นต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น เนื่องจากก้อนนิ่วมักไม่ได้สลายไปแต่จะสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้มีโอกาสเกิด “ภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis)” ได้ทุกเมื่อ และมีอาการรุนแรงกว่า โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้

             - ปวดจุกแน่น ยาวนาน 4 - 6 ชั่วโมงแล้วยังไม่หาย

         - ปวดท้องรุนแรงบริเวณช่วงท้องส่วนบนด้านขวา หรือปวดจุกเสียดรุนแรงบริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา

         - มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)

         - ปัสสาวะเหลืองเข้ม หรืออุจจาระสีซีด (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)

         - เป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น

             - คลื่นไส้ อาเจียน (เมื่อถุงน้ำดีติดเชื้อ)

         ข้อสังเกตคือ ผู้ป่วยแทบจะขยับตัวไม่ได้เลยเนื่องจากมีอาการปวดมาก ดังนั้นหากพบว่ามีอาการดังกล่าวแล้วควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

         อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

         นอกจากอาการอักเสบเฉียบพลันและอาการของผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีที่พบเป็นประจำแล้ว อาจมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นซึ่งอันตรายไม่แพ้กัน ได้แก่

         1. ตับและตับอ่อนอักเสบ

            เกิดจากการอุดตันของนิ่วในท่อน้ำดี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีซ่าน และทำให้ตับหรือตับอ่อนเกิดการอักเสบตามมาได้

         2. ลำไส้อุดตัน

            เกิดจากการคั่งของน้ำดี แล้วทะลุไปยังช่องท้องหรือทะลุไปสู่อวัยวะอื่น ทำให้ก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่ไป   อุดตันบริเวณลำไส้ ซึ่งมักเกิดกับบริเวณที่ลำไส้ตีบแคบ เช่น ileocecal valve เป็นต้น

         3. มะเร็งถุงน้ำดี

            ผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีส่วนใหญ่ มีนิ่วในถุงน้ำดีร่วมด้วย ยิ่งถ้าก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ถุงน้ำดีมากขึ้นไปอีก

         4. ติดเชื้อรุนแรง (กรณีผู้ป่วยเบาหวาน)

            ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยให้อักเสบขึ้นมาแล้ว มักจะมีภาวะติดเชื้อที่รุนแรงและเสี่ยงถึงชีวิต

         จะเห็นได้ว่า แม้ยังไม่ได้มีอาการอักเสบเกิดขึ้น แต่การปล่อยให้เป็นนิ่วเป็นระยะเวลาอยู่นาน จะส่งผลให้มีการอักเสบและเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา ดังนั้นเราควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบอาการข้างต้นควรรีบปรึกษาแพทย์ ที่สำคัญเราสามารถดูแลและป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารมีไขมันสูง โดยเฉพาะของมัน ของทอด ขนมหวาน รับประทานอาหารที่มีเลซิตินสูง รวมทั้งหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

เลซิติน สำคัญต่อสมองและร่างกายอย่างไร

เลซิติน (Lecithin) คือสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน (Choline) และอินอสซิตอล (Inositol) อีกทั้งมีสารสำคัญ ชื่อว่า “ฟอสโฟไลปิด (Phospholipid)” ที่มีความจำเป็นต่อต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกายมนุษย์ เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท โดยพบมากในอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ตับ ไต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สมอง” มีเลซิตินเป็นส่วนประกอบมากถึง 30%   ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

         ประเภทของเลซิติน แบ่งตามแหล่งที่พบได้ 2 แหล่งคือ

         1. ร่างกายมนุษย์

             ร่างกายมนุษย์สามารถผลิต “เลซิติน” ขึ้นได้เอง จากการสังเคราะห์โดยกลไกของร่างกายที่อวัยวะ “ตับ”

พบมากในอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง โดยสารตั้งต้นที่ร่างกายใช้ผลิตเลซิติน ได้แก่ กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่น ๆ

         2. แหล่งธรรมชาติในพืชและสัตว์

            โดยพบมากในแหล่งอาหารต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เมล็ดทานตะวัน เมล็ดดอกคำฝอย ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี เมล็ดธัญพืช เนื้อสัตว์ ปลา ตับ และไข่แดง โดยเลซิตินที่ได้จากถั่วเหลืองจะมีคุณภาพดีกว่าจากไข่แดง เนื่องจากมี “กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง” อีกทั้งยังพบว่าในถั่วเหลืองมีเลซิตินสูงที่สุดประมาณ ร้อยละ 1.1-3.2

         ถึงแม้ว่าร่างกายสามารถผลิต “เลซิติน” ขึ้นมาเองได้ที่ตับ แต่หากร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเลซิตินไม่เพียงพอก็จะทำให้ไม่สามารถผลิตเลซิตินได้มากพอที่ร่างกายต้องการ และเกิดภาวะขาดเลซิตินตามมา ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับเลซิตินจากแหล่งอาหารธรรมชาติร่วมดัวย

 

         ประโยชน์ของเลซิตินต่อร่างกาย มีดังนี้

         1. บำรุงตับและลดภาวะไขมันพอกตับ

             โคลีน (Choline) ในเลซิตินจะมีผลในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ ส่งผลให้ร่างกายมีการนำไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น ภาวะไขมันพอกตับก็จะลดลง ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลที่เป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ และสารฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) ในเลซิติน เป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ตับ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติจากยา แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษต่าง ๆ ที่จะทำลายตับ จึงมีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับและบำรุงตับได้ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานที่มีการพบว่า ผู้ที่มีการทำงานของตับผิดปกติสามารถรักษาได้ด้วยการให้โคลีนหรือเลซิติน (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย, 2563: 238-241)

         2. เลซิตินกับสมอง

             โคลีน (Choline) ในเลซิตินเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ อะซิติลโคลีน (Acetylcholine) เป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญของระบบประสาท มีหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และความจำ ควบคุมการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของร่างกาย เข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท บำรุงสมอง เสริมสร้างความจำและช่วยลดอาการอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้น

เลซิตินจึงถือเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสมอง และเป็นสารธรรมชาติที่ทุกเพศทุกวัยต้องการ (Boeke, Gillman, Hughes, Rifas-Shiman, Villamor, & Oken, 2013: 1338-1347; Freeman, & Jenden, 1976: 949–961; Korsmo, Jiang, & Caudill, 2019: 1823)

         3. ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด

            เลซิตินช่วยทำให้คอเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้คอเลสเตอรอลไม่เกาะติดกับผนังเส้นเลือดจนเกิดการอุดตัน เพิ่มระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น อีกทั้งมีส่วนช่วยลดการดูดซึมและเพิ่มการขับถ่ายคอเลสเตอรอลทางอุจจาระ จึงช่วยเพิ่มสัดส่วนของไขมันดี (HDL-Cholesterol) ดังนั้นการรับประทานเลซิตินจากถั่วเหลืองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีต่อสุขภาพเพื่อเพิ่มการขับคอเลสเตอรอล เพราะการรับประทานไขมันไม่ว่าจากสัตว์หรือพืชในปริมาณมากอาจเป็นสาเหตุกระตุ้นการอักเสบในร่างกายได้ หากบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

         4. ลดความเสี่ยงของนิ่วในถุงน้ำดี

             เลซิตินในน้ำดี ทำหน้าที่ช่วยเผาผลาญไขมันและควบคุมคอเลสเตอรอล โดยจะละลายไขมันให้แตกตัวเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ จึงช่วยทำให้คอเลสเตอรอลไม่ตกตะกอนในเลือดจนทำให้เกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการสลายโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ (Zhao, & Kim, 2017: 1341–1347)   จึงลดความเสี่ยงต่อนิ่วในถุงน้ำดี

         5. ประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ

            5.1 ช่วยในกระบวนการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดีขึ้น จึงทำให้ร่างกายนำวิตามินที่ละลายในไขมัน อันได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค สามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            5.2 ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพราะเลซิตินช่วยทำให้ไขมันกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่แขวนลอยในน้ำซึ่งจะทำให้ร่างกายเผาผลาญคอเลสเตอรอลและนำไปใช้เป็นพลังงานให้ดีขึ้น

            5.3 ช่วยสร้างเยื่อบุผิวเซลล์ต่าง ๆ

                 ร่างกายจะนำเลซิตินไปใช้ในการสร้างเยื่อบุผิวเซลล์ต่าง ๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือด เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ผิวหนัง รวมถึงเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ และเลซิตินยังเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างโมเลกุลที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ ระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด การแข็งตัวของเลือด เพื่อให้การทำงานภายในร่างกายสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

         จะเห็นได้ว่า “เลซิติน” มีความสำคัญต่อสมองและร่างกายในการควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากร่างกายเราสามารถผลิตเลซิตินได้เองที่ตับแล้ว การได้รับจากแหล่งอาหารธรรมชาติในยุคปัจจุบันที่ต้องผ่านกระบวนการปรุงสุก เช่น ต้ม ทอด ย่าง ซึ่งอาจทำลายเลซิตินในอาหารให้ลดลงไปมาก ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลซิตินที่สกัดจากธรรมชาติ จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งที่ทำให้เราได้รับเลซิตินจากแหล่งอาหารธรรมชาติได้เพียงพอต่อความต้องการ

 

เอกสารอ้างอิง

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย . (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.

2563. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ.วี. โปรเกรสซีฟ.

Boeke, C.E., Gillman, M.W., Hughes, M.D., Rifas-Shiman, S.L., Villamor, E., & Oken, E. (2013). Choline

Intake during pregnancy and child cognition at age 7 years. Am. J. Epidemiol, 177:

1338-1347.

Freeman J.J., & Jenden D.J. (1976). The source of choline for acetylcholine synthesis in brain.

Life Sci. 19: 949–961.

Korsmo H.W., Jiang, X., & Caudill M.A. (2019). Choline: Exploring the growing science on its benefits

for moms and babies. Nutrients, 11:1823.

Zhao PY., & Kim IH. (2017). Effect of diets with different energy and lysophospholipids levels on

performance, nutrient metabolism, and body composition in broilers, Poult Sci,

96(5): 1341–1347.

 

 

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.