BC Cal 
ข้อมูลผลิตภัณฑ์

โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่ข้อต่อต้องเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักต่อเนื่องสะสมเป็นเวลานาน อันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ การใช้งานหนัก หรือภาวะสูงวัย ซึ่งไม่รวมข้อเข่าเสื่อมจากโรคโดยเฉพาะ เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ ทำให้เกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ เกิดเป็นความขรุขระ ไม่เรียบของผิวกระดูกอ่อน อาการอักเสบ บวม แดง ร้อน เกิดอาการเจ็บข้อ และเคลื่อนไหวติดขัด หรือในกรณีรุนแรงอาจไม่สามารถเดินได้ วิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่ การลดน้ำหนักตัว การได้รับแร่ธาตุที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมกระดูก การบำรุงผิวข้อและความยืดหยุ่นของร่างกายทุกส่วน และที่สำคัญคือ “การบำรุงกระดูกและผิวข้อให้เรียบเพื่อลดการอักเสบ” โดย “ผลิตภัณฑ์ BC Cal” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดจากแคลเซียมแอลทรีโอเนต (Calcium L-Threonate) เป็นแคลเซียมที่สามารถดูดซึมดีที่สุดโดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดี ผงเนื้อเยื่อเปลือกไข่ (Egg Shell Membrane Powder) และคอลลาเจนชนิดที่ 2 ( Collagen Type II) ช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น กระดูกอ่อนที่เป็นผิวข้อจะลดการอักเสบและค่อย ๆ ปรับตัวเรียบลง อาการปวดจะค่อยลดลงตามลำดับ บำรุงกล้ามเนื้อและเอ็นที่ช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก ช่วยลดอาการเกิดตะคริวได้ผลดีมาก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมแคลเซียม ผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ปวดข้อ ข้ออักเสบ ข้อผิดรูป และกระดูกบาง สามารถใช้ได้ในวัยรุ่นไปจนถึงผู้สูงอายุง


       *1 ขวด บรรจุ 30 แคปซูล ราคา 980 บาท 

ส่วนประกอบสำคัญ

1 แคปซูล 1,400 มก. ประกอบด้วย
1. Calcium L - Threonate 950 มก.

เป็นแคลเซียมที่สามารถดูดซึมได้ดีที่สุด ซึ่งดูดซึมเข้าร่างกายได้ถึง 95% มากกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต 9 เท่า โดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดีช่วยในการดูดซึม ไม่ก่อให้เกิดหินปูน ละลายน้ำได้ดีมาก โดยไม่ต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหาร จึงสามารถรับประทานได้ทุกเวลาตามต้องการ ช่วยบำรุงให้กระดูกแข็งแรง ยับยั้งการสลายตัวของกระดูกและช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก

2. โปรตีนจากเยื่อหุ้มเปลือกไข่ (Egg Protein) 300 มก.

ผงเยื่อหุ้มเปลือกไข่ อุดมไปด้วยคอลลาเจน อีลาสติน Glycosaminoglycan (GAGs) อันได้แก่ กลูโคซามีน (Glucosamin) คอนโดอิติน ซัลเฟต (Chondroitin Sulfate) กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) และโปรตีนกว่า 500 ชนิด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ต้านการอักเสบและลดการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนอันเป็นสาเหตุของการปวดข้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเอ็น และช่วยเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อ

3. คอลลาเจนชนิดที่ 2 ( Collagen Type II : UC-II) 40 มก.

คอลลาเจนชนิดที่ 2 คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีการรวมตัวของกรดอะมิโน หลายชนิดต่อกันเป็นสายยาว เป็นคอลลาเจนชนิดเดียวกับที่พบใน “เซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ” ต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า กระดูกสันหลัง สะโพก เป็นต้น ช่วยลดการอักเสบของกระดูกอ่อนผิวข้อ ช่วยเพิ่มระดับของกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำหล่อเลี้ยงข้อ บรรเทาอาการปวดตามข้อเข่าและข้อต่าง ๆ


บทความแนะนำ
ข้อเข่าเสื่อม ทางเลือกรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด

         โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยมักพบในผู้ที่มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก หากไม่ได้รับการรักษา หรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาจทำให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน. ไม่สะดวก หรือในกรณีรุนแรงอาจไม่สามารถเดินได้ ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

         โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่ข้อต่อต้องเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักต่อเนื่องสะสมเป็นเวลานาน อันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ การใช้งานหนัก หรือภาวะสูงวัย ซึ่งไม่รวมข้อเข่าเสื่อมจากโรคโดยเฉพาะ เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ ทำให้เกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ เกิดเป็นความขรุขระ ไม่เรียบของผิวกระดูกอ่อน อาการอักเสบ บวม แดง ร้อน เกิดอาการเจ็บข้อ และเคลื่อนไหวติดขัด หรือกรณีรุนแรงอาจไม่สามารถเดินได้

             ข้อเข่าเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการเกิดคือ

         1. ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือ ไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น น้ำหนักตัว เพศหญิง และกรรมพันธุ์

      2. ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่ข้อและเส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่า จากการทำงานหรือเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าต์   ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

            อาการแสดงในระยะแรก

         เริ่มปวดเข่าเมื่อเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ     มีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานานแล้วเริ่มขยับข้อ จะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ ขาดความยืดหยุ่น

         หากมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด มีอาการบวม เข่าหลวมทำให้เดินล้มบ่อย มีเสียงดังกรอบแกรบในเข่าซึ่งเกิดจากการเสียดสี กล้ามเนื้อต้นขาลีบ เข่ามีรูปร่างผิดปกติ โก่งงอผิดรูป หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก รวมทั้งมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ

 

         การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม

         แพทย์จะประเมินจากประวัติความเจ็บป่วย และตรวจร่างกายโดยแพทย์ ร่วมกับภาพถ่ายรังสี ซึ่งสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้

         วิธีการดูแลรักษา

         การดูแลรักษาโรคเข่าเสื่อม มีเป้าหมายเพื่อลดอาการปวดข้อเข่า ชะลอการดำเนินโรค ฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า และป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยมีวิธีการที่สำคัญได้แก่

         1. การลดน้ำหนักตัว

            ภาวะน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมและชำรุดได้รุนแรง บางคนเมื่อลดน้ำหนักตัวลงมาเป็นปกติ อาการปวดข้อก็จะหายไป

         2. การบำรุงกระดูกและผิวข้อให้เรียบเพื่อลดการอักเสบ

            การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น Calcium L-Threonate เป็นแคลเซียมที่สามารถดูดซึมได้ดีที่สุดโดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดีในการดูดซึม เพื่อช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงขึ้น การรับประทานคอลลาเจนชนิดที่ 2 ( Collagen Type II : UC-II) กลูโคซามีน (Glucosamin) กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) ช่วยลดการอักเสบและลดการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนผิวข้ออันเป็นสาเหตุของการปวดข้อ ช่วยเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อ บำรุงกล้ามเนื้อและเอ็นที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวก

         3. การได้รับแร่ธาตุที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมกระดูก

            แร่ธาตุที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมกระดูก ได้แก่ แคลเซียมและแมกนีเซียม ต้องอาศัย “วิตามินซี” ช่วยในการดูดซึม ซึ่งวิตามินซีนอกจากช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุแล้ว ยังช่วยในการสร้างคอลลาเจนในกระดูกและกระดูกอ่อนทั้งในข้อเข่าและข้อต่าง ๆ

         4. การบำรุงผิวข้อและความยืดหยุ่นของร่างกายทุกส่วน

            ในการบำรุงผิวข้อและความยืดหยุ่นของร่างกายทุกส่วน ต้องอาศัย “คอลลาเจน” เพื่อช่วยซ่อมแซมกระดูกและข้อให้กลับมามีสภาพปกติ ทั้งยังเสริมสร้างความยืดหยุ่นที่กล้ามเนื้อและผิวหนังอีกด้วย

 

         ทั้งนี้เราควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่ามากเกินความจำเป็นและการปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น การนั่งเก้าอี้เตี้ยแทนการนั่งยอง ๆ การนั่งเก้าอี้สูงแทนการยืนเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดหลายขั้นโดยไม่จำเป็น หรือการยกหรือแบกของหนัก และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเน้นการออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัย สำหรับผู้ที่มีอายุวัยกลางคนขึ้นไปซึ่งเริ่มเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ควรออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักที่ข้อเข่ามากกว่าปกติ แต่ยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้ เช่น การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การว่ายน้ำ การรำมวยจีน การเดิน หรือถ้าเป็นการเต้นแอโรบิก ก็ควรเป็นท่าเต้นที่ไม่มีการกระโดด หรือก้าว-ขึ้นลงบันได (step) ร่วมด้วย เป็นต้น ส่วนผู้ที่อยู่ในระยะมีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง หรือเล่นเทนนิส

กระดูกพรุน ภัยเงียบใกล้ตัวผู้สูงวัย

         โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเริ่มบางลง ส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยปกติแล้วโรคกระดูกพรุน  มักไม่มีอาการแสดงใด ๆ ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน และมักเข้ารับการรักษาเมื่อผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากโรคแล้ว เช่น กระดูกแตก กระดูกหัก

         สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน

          ร่างกายของคนเราจะมีการสร้างและการสลายกระดูกอย่างสม่ำเสมอ โดยมี “การสร้างกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก” แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะปรับเข้าสู่ช่วงถดถอย “การสร้างกระดูกจะลดลง การสลายกระดูกจะมากขึ้น” ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน อาจมาจากการสะสมมวลกระดูกที่น้อยเกินไป หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกที่มากเกินไป ทั้งนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง ดังนี้

         1. อายุ

          ในช่วงอายุก่อน 30-35 ปี เราจะมีการสร้างและการทำลายกระดูกอย่างสม่ำเสมอ โดยมี “การสร้างมากกว่าการทำลาย” เพราะฉะนั้นกระดูกจะค่อย ๆ แข็งขึ้น หลังจากอายุ 30-35 ปี อีกประมาณ 5-10 ปี มวลกระดูกจะคงที่ คือมี “การสร้างและการทำลายที่สมดุลกัน” แต่เมื่ออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป “การทำลายกระดูกจะเริ่มมากกว่าการสร้าง” เพราะฉะนั้นโดยธรรมชาติของเรา กระดูกจะค่อย ๆ บางลงจากการทำลายกระดูกที่เยอะกว่าการสร้างกระดูก ยิ่งอายุมากกระดูกเราจะค่อย ๆ บางไปตามธรรมชาติ

          อย่างไรก็ตาม ระดับของกระดูกพรุนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการสะสมมวลกระดูกตั้งแต่ช่วงอายุแรกเกิดจนถึง 30 ปี การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงที่ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด

         2. พันธุกรรม

          บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนและมีอาการอย่างชัดเจน โอกาสที่บุตรหลานจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงถึง 80% ส่วนที่เหลือขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายนอกจากนี้ชาวผิวขาวหรือเชื้อชาติชาวเอเซียมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าชนผิวดำ

         3. ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล

           ฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชายที่ลดลงในช่วงวัยทอง โดยเฉพาะการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่มีฮอร์โมนไทรอยด์สูง ต่อมพาราไทรอยด์และต่อมหมวกไตทำงานมากผิดปกติ เพศหญิงที่หมดประจำเดือนเร็วหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปี

 

         4. พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

                 การขาดสารอาหารจากการควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย การผ่าตัดทางเดินอาหารที่ส่งผลต่อการดูดซึมอาหาร นอกจากนี้มีการรับประทานโปรตีนมากเกินไปทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องขับออกโดยสลายกรดอะมิโนในตับให้กลายเป็นสารยูเรียออกมาพร้อมปัสสาวะ ซึ่งการขับยูเรียทางปัสสาวะร่างกายต้องสูญเสียเกลือแร่ไปมากรวมทั้ง “แคลเซียม” ด้วย จึงเป็นอีกสาเหตุที่กระดูกพรุนได้

         5. พฤติกรรมการดำเนินชีวิต

            พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเป็นกระดูกพรุน ได้แก่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ การ   สูบบุหรี่ การดื่มสุราเป็นประจำ การดื่มคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น โค้ก ชา จะลดประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงเป็นกระดูกพรุนมากกว่าคนทั่วไป การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เซลล์สลายกระดูกก็จะเพิ่มจำนวนและทำงานมากขึ้น

         6. ยาบางชนิด

            การใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาว (มากกว่า 3 เดือน) การใช้ยารักษาโรคลมชักบางชนิด การใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างที่นำสู่การลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น คอร์ติโซน (Cortisone) สำหรับโรคข้ออักเสบ โรคหืด และฮอร์โมนผิดปกติ ยาเฮปารินสำหรับโรคหัวใจและความดันโลหิต การใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารกลุ่ม Proton pump inhibitors การรักษาโดยการฉายรังสีหรือการให้สารเคมีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีการทำลายเซลล์กระดูกนำไปสู่โรคกระดูกพรุน

         7. โรคประจำตัว

             โรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น โรคมะเร็ง โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต หรือโรคบางชนิดที่ต้องรับประทานยาสเตียรอยด์นาน ๆ เช่น โรคไขข้อรูมาตอยด์ เป็นต้น

         8. การขาดวิตามินดี

              วิตามินดีมีความจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยมักไม่มีปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี

 

        เราสามารถป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร

           1. การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดีซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง งาดำ ปลาขนาดเล็ก ซึ่งสามารถรับประทานกระดูกปลาได้ ส่วนอาหารวิตามินดีสูงที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม พบมากในปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่ และนม โดยควรได้รับอย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กตลอดช่วงอายุ จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงอายุ 30-35 ปี

           2. การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยอย่างสม่ำเสมอ เช่น เต้นแอโรบิก การเดินเร็ว การเดินสลับวิ่ง เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหว เนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานในระดับเซลล์จะไปกระตุ้นให้มีแรงกระทำต่อกระดูกที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก ทั้งนี้แนะนำให้ออกกำลังกายช่วงเช้าหรือเย็นที่มีแดดอ่อนๆ จะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูกได้

           3. การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

           4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การดื่มคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะน้ำอัดลมจะทำให้ความสมดุลระหว่างแคลเซียมกับฟอสเฟตในร่างกายเสียไป ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนตามมาได้

            5. หมั่นตรวจสุขภาพและความพร้อมร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีควรเข้ารับการตรวจวัดกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

         6. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำ ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกพรุน

 

         การรับประทานแคลเซียมมีประโยชน์หรือไม่

             โดยปริมาณปกติที่คนทั่วไปต้องการปริมาณแคลเซียมต่อวัน คือ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่บุคคลตั้งครรภ์และผู้สูงอายุจะต้องการปริมาณแคลเซียมที่มากกว่าคนทั่วไป คือประมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หากปริมาณการรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอต่อวัน สำหรับการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมก็สามารถช่วยได้ โดยควรเลือกรับประทานแคลเซียมที่สามารถดูดซึมได้ดี เช่น แคลเซียมแอลทริโอเนต (Calcium L-Threonate) ซึ่งสามารถดูดซึมโดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดี ไม่ก่อให้เกิดหินปูน หรือรับประทานแคลเซียมควบคู่กับวิตามินดีที่ทำให้กลไกในการดูดซึมในลำไส้ได้ดีขึ้น ช่วยบำรุงให้กระดูกแข็งแรง ยับยั้งการสลายตัวของกระดูกและช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก

         โรคกระดูกพรุนจึงถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นยิ่งต้องระวัง โดยสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันภาวะโรคกระดูกพรุน คือการเริ่มต้นป้องกันตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพื่อเสริมสร้างมวลกระดูก เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ควรตรวจประเมินภาวะกระดูกพรุน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพตั้งแต่ระยะแรก ส่งผลให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และช่วยลดความเสียหายของการเกิดโรคกระดูกพรุนที่ตามมาได้

        

 

ที่มา

พัชรพล  อุดมเกียรติ. กระดูกพรุน แก้ง่ายเพียงเติมแคลเซียมจริงหรือ. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.

          https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=153#

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.