BC Detox      ซื้อสินค้า
ข้อมูลผลิตภัณฑ์

อาการท้องผูกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นสภาวะที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากไม่ทำการรักษาหรือปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ระบบการทำงานของร่างกาย และเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นอันตรายและมีส่วนอย่างมากต่อการเกิดโรคมะเร็ง การรับประทานสมุนไพรที่มีเส้นใยอาหารสูงเพื่อช่วยการทำงานของระบบลำไส้ให้ง่ายต่อการขับถ่ายของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย เป็นทางเลือกที่ดีประการหนึ่ง “ผลิตภัณฑ์ BC DT” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อุดมด้วยใยอาหารจากธรรมชาติ และโพรไบโอติกส์ Bacillus Coagulans ช่วยการทำงานของระบบลำไส้และการขับถ่าย จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูก และผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งและโรคภูมิแพ้

         *** 1 ขวด บรรจุ 30 เม็ด ราคา 970 บาท

ส่วนประกอบสำคัญ

 

         ส่วนประกอบสำคัญ

         1. Aloe Powder (ผงว่านหางจระเข้)

            อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด ช่วยในการย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ ลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ดีท็อกล้างสารพิษในร่างกาย และออกฤทธิ์เป็นยาระบาย

         2. Roselle Powder (ผงกระเจี๊ยบแดง)

          กระเจี๊ยบแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ 2 ชนิดได้แก่ Anthocyanin และ Protocatechuic Acid ที่เป็นตัวช่วยในการป้องกันมะเร็ง ชะลอวัย และบำรุงเส้นเลือด อีก ทั้งยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยระบบย่อยอาหาร เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น รวมทั้งมีฤทธิ์ต่อต้านการเกิดพิษต่อตับและป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ

         3. Okra Powder (ผงกระเจี๊ยบเขียว)

          เส้นใยของกระเจี๊ยบมีคุณสมบัติสำคัญคือ กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยดักจับสารพิษร่วมกับน้ำดีในลำไส้และขับออกมาผ่านอุจจาระ มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ เสมือนการทานโพรไบโอติกส์แบคทีเรีย เพราะช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่

         4. Champignon Mushroom Powder (ผงเห็ดแชมปิญอง/ผงเห็ดกระดุม)

          เห็ดแชมปิญอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Agaricus bisporus และชื่อสามัญคือ เห็ดกระดุม (Button Mushroom) เป็น “เห็ดทางการแพทย์” ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ มีสารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ ที่มีคุณสมบัติเป็น “พรีไบโอติกส์” (Prebiotics) ช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ มีประโยชน์ต่อการขับถ่าย อุดมด้วยเส้นใยอาหาร ลดการหมักหมมกากอาหารในลำไส้ รวมไปถึงการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้

         5. Needle Mushroom Powder (ผงเห็ดเข็มทอง)

          เห็ดเข็มทอง (Needle Mushroom หรือ Enoki Mushroom) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Flammulina velutipes อุดมด้วยไฟเบอร์ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ แก้อาการท้องผูก และกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดภาวะอาหารคั่งค้างในระบบย่อยอาหารสะสมจนกลายเป็นไขมันพอกตามอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ช่วยสลายไขมันและเผาผลาญในระบบทางเดินอาหารเพื่อให้ลำไส้สามารถดูดซึม

สารอาหารไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น

         6. Indian Gooseberry Powder (ผงมะขามป้อม)

          มะขามป้อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Phyllanthus emblica L. และชื่อสามัญคือ Indian gooseberry มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ลดภาวะการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งยับยั้งความเป็นพิษของตับและไตได้

         7. Tamarind Powder (ผงมะขาม)

           เนื้อผลมะขามมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับมะขามป้อม มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก และขับลมในลำไส้

         8. โพรไบโอติกส์ Bacillus Coagulans

            เป็นจุลินทรีย์ตัวดีกลุ่ม Lactobacillus spp. มีความแข็งแรงทนทานต่อความร้อนและกรดภายในทางเดินอาหารได้ดี จึงมีอายุยืนยาวและช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์ดีกว่าโพรไบโอติกชนิดอื่น มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นและรักษาสมดุลในลำไส้ ช่วยรักษาอาการลำไส้แปรปรวน จึงช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดปัญหาการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงมะเร็งลำไส้

         9. Microcrystalline Cellulose 460i  

             มีโครงสร้างเป็นเซลลูโลสสายสั้น ที่เกิดจากการทำให้คาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลกลูโคสสายยาวนั้นสั้นลงและบริสุทธิ์ โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ ดังนั้นจึงถูกขับออกจากลำไส้ผ่านทางอุจจาระ เพื่อทำความสะอาดลำไส้ กำจัดสารพิษโลหะหนักและสารอันตรายอื่น ๆ ออกจากร่างกาย

ข้อมูลเชิงวิชาการ

“ภาวะท้องผูก ปัจจัยเสี่ยง และวิธีปรับพฤติกรรม”

      หลายคนคงเคยประสบปัญหาท้องผูกและมักคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยสภาวะท้องผูกอย่างต่อเนื่องอาจพัฒนากลายเป็นโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นอันตรายและมีส่วนอย่างมากต่อการเกิดโรคมะเร็ง ปัจจุบันมะเร็งที่เป็นกันมากคือ มะเร็งทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่ช่องปากจนถึงทวารหนัก

         ท้องผูก หมายถึง การที่ลำไส้ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายและสม่ำเสมอ โดยมีความถี่ของการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ได้แก่ การมีอุจจาระแข็งหรือเม็ดกระสุน ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่าย มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ หรือหลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมด

 

         ปัจจัยเสี่ยงของท้องผูก

         1. การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยไม่เพียงพอและดื่มน้ำน้อย

             โดยปกติเราควรรับประทานอาหารที่กากหรือเส้นใยประมาณ 20-35 กรัม/วัน รวมทั้งข้าวไม่ขัดสี เพราะกากใยช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ดังนั้นผู้ที่รับประทานอาหารที่ขาดใยอาหาร หรือดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลดลงอุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า

         2. การกลั้นอุจจาระ

             ชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบัน บางคนมักกลั้นอุจจาระ เมื่อทำบ่อย ความรู้สึกอยากถ่ายก็จะหายไป ท้องผูกก็จะเข้ามาแทนที่ กลไกของการขับถ่ายก็จะผิดปกติไป ดังนั้นเราควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลาและถ่ายในตอนเช้า หลังจากร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนมาระยะหนึ่ง

         3. ขาดการออกกำลังกาย

             เมื่อร่างกายไม่ค่อยออกกำลังกาย ระบบเผาผลาญอาหารจึงน้อยลง โดยปกติแล้วลำไส้ของเรามี      การเคลื่อนไหวตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย หรือผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ลำไส้ก็จะนิ่งไม่ขยับส่งผลให้ท้องผูก

         4. ความเครียด

             จากสภาวะแวดล้อมและสังคมที่เป็นยุคแห่งการแข่งขันมากขึ้น คนเราจึงมีความเครียดมากขึ้นตามมา ส่งผลให้การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อนและระบบการขับถ่ายแปรปรวนไปด้วย

         5. ท้องผูกที่มีความผิดปกติของการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Primary Constipation)

            แบ่งตามลักษณะของการทำงานที่ผิดปกติ ได้แก่ ท้องผูกชนิดที่มีการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ปกติ หรือเรียกกลุ่มนี้ว่า “ลำไส้แปรปรวน” ซึ่งพบได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง, ท้องผูกชนิดที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับถ่าย และท้องผูกชนิดที่ลำไส้มีภาวะเคลื่อนไหวตัวช้ากว่าปกติ ซึ่งพบได้น้อยที่สุด

         6. ท้องผูกที่มีปัจจัยนอกจากการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย (Secondary Constipation) ได้แก่

            6.1 การอุดกั้นของทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อหรือมะเร็งมากด หรือรวมไปถึงการตีบแคบของลำไส้จากพังผืดหรือการผ่าตัด

            6.2 การตั้งครรภ์

            6.3 โรคทางระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ

            6.4 ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมสูง

             6.5 การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาระงับปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยารักษาความดันโลหิตบางชนิด (กลุ่มยับยั้งแคลเซียม) ยาต้านปวดเกร็ง ยาต้านซึมเศร้า ยารักษามะเร็งบางชนิด ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะ รวมไปถึงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ

            6.6 โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยนอนติดเตียง

 

       วิธีการรักษาท้องผูก

         1. การปรับพฤติกรรม

            เราควรให้ความสนใจกับสัญญาณขับถ่ายและให้เวลาที่เพียงพอสำหรับการขับถ่าย โดยสัญญาณกระตุ้นการขับถ่ายจากสมองมักมาช่วงตอนเช้า ลำไส้จะเคลื่อนไหวมากภายหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอาหารเช้า เราจึงควรไปขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกครั้งแรก ไม่ควรกลั้นอุจจาระไว้จนหายปวดหรืออย่ารอจนสัญญาณการขับถ่ายอ่อนลงเพราะจะทำให้ถ่ายไม่ออกและเกิดอาการท้องผูก

         2. การนั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม

            ท่านั่งขับถ่ายมีผลอย่างมากต่อการขับถ่ายอุจจาระของคุณ ท่านั่งที่ถูกจะช่วยให้ไส้ตรงทำมุมดีขึ้นต่อการขับถ่าย ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและไม่ล้า ท่าที่ควรนั่งขับถ่าย คือ ท่าประเภทนั่งยองหรือ งอเข่า หากใช้ชักโครกแบบนั่ง ก็สามารถปรับเปลี่ยนด้วยการงอเข่าเข้าหาลำตัว หรือหาเก้าอี้เล็ก ๆ มาวางไว้เพื่อช่วยยกขาให้สูงขึ้นก็ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้อย่านั่งนานกว่า 10 นาที ถ้าลำไส้คุณยังไม่พร้อมให้ลองใหม่อีกครั้ง       ในภายหลัง

       3. การออกกำลังกายเป็นประจำ

             การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น เราจึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

         4. การดื่มน้ำเพิ่มขึ้น

            ผู้ที่มีอาการท้องผูกควรดื่มน้ำสะอาดควบคู่ไปกับการรับประทานอาหาร เพื่อช่วยให้ใยอาหารดูดซับน้ำได้ดี ทำให้อุจจาระพองตัว นุ่ม และเบ่งออกได้ง่าย ในแต่ละวันคนเราควรดื่มน้ำสะอาดประมาณ 2 ลิตร

            ในช่วงแรกให้ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณในการดื่มน้ำให้มากขึ้น 1-2 แก้วจากปริมาณน้ำที่ดื่มปกติ ดื่มน้ำในตอนเช้าของทุกวัน และอาจเลือกจิบน้ำมะนาวผสมน้ำอุ่นควบคู่ไปด้วยเพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้

 

 

         5. การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง

             อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ (20-35 กรัมต่อวัน) จะช่วยให้อุจจาระมีขนาดใหญ่และนุ่ม โดยพยายามเพิ่มเส้นใยอาหารประเภทที่ละลายได้ง่าย (เส้นใยจากผัก ผลไม้ และข้าวโอ๊ต) ซึ่งดีกว่าประเภทที่ไม่ละลาย (เส้นใยจากเมล็ดธัญพืช)

             อาหารบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยระบายโดยธรรมชาติ เช่น ลูกพรุน (ผลพลัมแห้ง) ผลมะเดื่อฝรั่ง กีวี ชะเอมเทศ กากน้ำตาล (Molasses) การโรยเมล็ดเฟล็กซ์กะเทาะเปลือก (Cracked linseeds) ลงในอาหารจะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับออกได้ง่าย

             สำหรับผู้ที่ท้องผูกง่ายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่มีเส้นใยหรือมีน้อย เช่น ไอศกรีม ชีส เนื้อสัตว์ หรืออาหารสำเร็จรูป

         6. การรับประทานสมุนไพรที่มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง

             การรับประทานสมุนไพรที่มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์สูงเป็นวิธีที่ถือว่าปลอดภัยที่สุด เพราะช่วยการทำงานของระบบลำไส้ เส้นใยอาหารจะดูดน้ำให้อยู่ในลำไส้ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มง่ายต่อการขับถ่าย นอกจากนี้เส้นใยอาหารจะช่วยให้กากอาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น ทำให้สารก่อมะเร็งมีโอกาสสัมผัสกับผนังลำไส้ได้น้อยลง

         ดังนั้นหากรู้เท่าทันอาการท้องผูกจะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้อย่างถูกวิธี เมื่อปรับพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้น เราสามารถรับประทานสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัย เพื่อให้เราสามารถขับถ่ายได้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้ลำไส้สะอาด ไม่เก็บของเสีย เพราะของเสียเมื่อเน่าจะเป็นอาหารของมะเร็ง

 

"ท้องผูกเรื้อรัง" ปล่อยไว้เสี่ยงหลายโรค

    ปัญหาท้องผูก ระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยให้มีอาการท้องผูกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ทำการรักษาหรือปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ระบบการทำงานของร่างกาย และเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้

         1. มะเร็ง

            ภาวะท้องผูกจะเพิ่มสารก่อมะเร็งในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานจะเกิดเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ลำไส้เป็นแผล

       2. โรคตับ

            ตับมีหน้าที่ขับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย สารพิษที่เกิดจากอาการท้องผูกก็ต้องใช้ตับขับออกเช่นกัน จึงทำให้ตับทำงานหนักขึ้นและตับเสื่อมสภาพลง เมื่อท้องผูกเป็นประจำ ส่งผลให้การขับสารพิษไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้อาการท้องผูกยิ่งทำให้ผู้ป่วยโรคตับมีอาการกำเริบและทรุดหนักลงได้

       3. โรคภูมิแพ้

            ภาวะท้องผูกจะทำให้มีของเสียจากทางเดินอาหารถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกาย เช่น น้ำดีซึ่งนำของเสียจากตับมาขับทิ้งออกทางปัสสาวะจะทำงานไม่ได้ หรือกากอาหารที่เน่าเสียในลำไส้ใหญ่จะถูกดูดกลับผ่านหลอดเลือดกลับไปสู่ตับและกระจายต่อไปทั่วร่างกาย จึงกระตุ้นให้ภาวะภูมิแพ้รุนแรงมากขึ้น

         4. โรคลำไส้อุดตัน

            คนที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ อาจก่อให้เกิดโรคลำไส้อุดตัน ทำให้ปวดท้องมาก อึดอัด แน่นท้อง เพราะไม่ถ่ายอุจจาระ หากเป็นรุนแรงอาจต้องผ่าตัดลำไส้บางส่วนออกไป

         5. ริดสีดวงทวาร

            เมื่อท้องผูกเรื้อรังเป็นเวลานาน ทำให้ในทุกครั้งที่มีการถ่ายอุจจาระจะต้องใช้แรงเบ่งถ่ายของเสียออกมา เมื่อเวลาผ่านไปหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักที่มีการโป่งพองเป็นหัวริดสีดวงทวารและแตกในที่สุด ทำให้พบภาวะเลือดไหลกระปิดกระปอยจากทวารหนัก

         6. โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ

            สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดสมอง การเบ่งอุจจาระแรง ๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต อาจทำให้โรคหัวใจกำเริบ หรือทำให้อาการต่าง ๆ ทรุดหนัก

         7. โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง

          ภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ช่องคลอดไม่กระชับ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากอาการท้องผูก เพราะการเบ่งอุจจาระเป็นประจำ จะทำให้กล้ามเนื้อเสียหายได้

 

       8. แก่ก่อนวัย

            กากอาหารที่บูดเน่าจะเกิดสารพิษ เช่น สารแอมโมเนีย ไนโตรเจน อินโดลมีเทน กำมะถัน เมื่อสารเหล่านี้ดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับน้ำในลำไส้ จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของเราเสื่อมเร็วมากขึ้น และ ผิวพรรณหยาบกร้าน แก่ก่อนวัยอันควร

 

         จะเห็นได้ว่าภาวะท้องผูกนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย หากปล่อยให้มีอาการเป็นระยะเวลานาน เช่น ความถี่ของการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่ง ได้แก่ การมีอุจจาระแข็งหรือเม็ดกระสุน ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่าย มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ หรือหลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมด อาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังกล่าวได้ เราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง รวมทั้งปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามหลักธรรมชาติ หากยังไม่รู้สึกดีขึ้น เราไม่ควรมองข้ามและควรรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.