อะมิโน วิต (Amino Vit) อาหารทดแทนโปรตีนสกัดจากธรรมชาติ ทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ ผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ได้แก่ มะเร็ง ไตเสื่อม เบาหวาน ภูมิแพ้ แพ้ภูมิตัวเอง ความดันโลหิต ภาวะไขมันพอกตับและภาวะตับแข็ง ภาวะไขมันในเลือด
และโรคอ้วนที่ต้องการ "ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร" ผู้ที่ต้องการโปรตีนในการดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ วัยเด็กที่ต้องการพัฒนาการด้านร่างกายและการเรียนรู้ที่เหมาะสม คนวัยทำงานที่ต้องการพลังงาน ผู้สูงอายุที่ต้องการอาหารทดแทนในการ
ดูแลสุขภาพ ผู้ที่แพ้นมวัวและแลคโตส ผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก รวมทั้งผู้ที่ชอบออกกำลังกาย
อะมิโน วิต เป็นอาหารทดแทนโปรตีน พัฒนาโดยนายแพทย์บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ เพื่อลดปริมาณโปรตีนจากอาหารลงสู่ระดับที่ปลอดภัยและใช้กรดอะมิโนเข้าไปชดเชยปริมาณโปรตีนจากอาหาร ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น
(Essential Amino Acid) 8 ชนิด และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) 12 ชนิด อย่างสมดุล รวมทั้งวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด ผ่านกระบวนการไอโซเลท (Isolate) และไฮโดรไลซ์ (Hydrolyzed) จึงทำให้
ได้โปรตีนบริสุทธิ์ มีคุณค่าทางอาหารสูง โมเลกุลเล็กร่างกายดูดซึมได้ทันที ปราศจากน้ำตาลแลคโตสและไขมัน
*** มี 5 รสชาติ: รสธรรมชาติ รสวานิลลา รสกาแฟ รสชาเขียว และรสช็อคโกแลต
*** 1 กล่อง มี 30 ซอง ราคา 1,350 บาท (ราคาสมาชิกลด 10% เหลือ 1,215 บาท)
1. ไอโซเลท ซอย โปรตีน (Isolate Soy Protein) 5,000 มก. มีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่จำนวนมาก ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลฮอร์โมน ป้องกันมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน บำรุงผิวพรรณ และสามารถทดแทนมื้ออาหาร
2. ไฮโดรไลซ์ เวย์ โปรตีน (Hydrolyzed Whey Protein) 3,500 มก. คือเวย์โปรตีนที่ถูกผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์เพื่อย่อยเป็นเปปไทด์ ทำให้มีโปรตีนบริสุทธิ์สูงถึง 100% ไม่มีน้ำตาลแลคโตส ไม่มีไขมันร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุดและรวดเร็ว อีกทั้งยังทำให้มีโอกาสแพ้โปรตีนได้น้อยกว่าเวย์โปรตีนชนิดอื่น
3. ไอโซเลท เวย์ โปรตีน (Isolate Whey Protein) 3,000 มก. คือเวย์โปรตีนที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการแยกน้ำตาลแลคโตสและไขมันออก จนได้เวย์โปรตีนที่มีความเข้มข้นของโปรตีนสูง มากกว่า 90% ขึ้นไป
4. L-Glutamine 600 มก. เป็นกรดอะมิโนที่มีมากที่สุดในร่างกาย แต่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ในปริมาณน้อย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อ มีบทบาทสำคัญในการกำจัดแอมโมเนียส่วนเกิน ซึ่งเป็นของเสียของร่างกายที่อาจส่งผลต่อไต ช่วยให้ระบบการย่อยเป็นปกติ
5. L-Leucine 600 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่มีประโยชน์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เช่น กระดูก ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระตุ้นการรักษาบาดแผล ช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
6. L-Isoleucine 300 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและการทำงานของระบบประสาท รวมไปถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ตับทำงานในการขจัดสารพิษได้ดีขึ้น การผลิตฮีโมโกลบิน และการควบคุมพลังงาน
7. L-Lysine 600 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยในการสร้างโปรตีนทุกชนิดในร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและการสร้างกระดูกในวัยเด็ก ช่วยการดูดซึมแคลเซียมและคงความสมดุลของไนโตรเจนในวัยผู้ใหญ่ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน และเอนไซม์ ช่วยในการสร้างคอลลาเจนและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุน หากร่างกายได้รับโปรตีนชนิดนี้ไม่เพียงพอ อาจมีสัญญาณเตือนบางประการ เช่น เป็นโรคโลหิตจาง เมื่อยล้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และโรคนิ่วในไต
8. L-Valine 450 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ สมรรถนะของสมองและการประสานงานกันของกล้ามเนื้อรวมไปถึงการผลิตพลังงาน และรักษาสมดุลไนโตรเจนในเลือด
9. L-Methionine 300 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ การดูดซึมสังกะสี ซีลีเนียม และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในการย่อยสลายไขมัน ป้องกันการสะสมของไขมันในตับ ป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับอ่อน จึงช่วยแก้ปัญหาระบบการย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งเป็นสารต้านฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการแพ้ต่าง ๆ ยับยั้งการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ฮีสตามีนและสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ
10. L-Phenylalanine 450 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เป็นสารถ่ายทอดข้อมูลจากสมองสู่ประสาท ช่วยให้มีความทรงจำดี บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดความอยากอาหาร เพิ่มความตื่นตัวและความกระฉับกระเฉง รวมไปถึงการผลิตพลังงาน และรักษาสมดุลไนโตรเจนในเลือด
11. L-Arginine 250 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นเหมาะสมกับทารกและเด็ก ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต บำรุงสมองและพัฒนาการเรียนรู้ ป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้ใหญ่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญไขมันที่สะสมตามร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
12. มีวิตามินที่ร่างกายต้องการครบถ้วนทุกชนิด 10 มก.
13. ใช้ซูคราโลส 60 มก. เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ไม่กระตุ้นอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือด
14. มีส่วนประกอบของฟอสเฟต โพแทสเซียมและเกลือในปริมาณต่ำ
15. ไม่มีน้ำตาลและครีมเทียมเป็นส่วนประกอบ
โรคไตเสื่อมเป็นโรคที่แพร่หลายมากในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคไต 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,500 - 2,000 บาท/ครั้ง หรือประมาณ 30,000 บาท/เดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือดหรือล้างไตผ่านหน้าท้องซึ่งเป็นค่าใช้ที่จ่ายสูง และเป็นที่น่าเสียดายว่า คนไทยประมาณ 8 ล้านคนนั้นมีเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อม จึงขาดโอกาสที่ดีในการที่จะได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่
ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไตจะเสื่อม
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสไตเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปคือ
1. ผู้ป่วยเบาหวาน
2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
3. ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคใดโรคหนึ่งหรือหลายโรคเป็นเวลานาน ๆ
4. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเสื่อม
5. ผู้ป่วยในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง
6. ผู้ป่วยที่ผ่านการให้เคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง
7. ผู้ป่วยที่ชอบรับประทานอาหารที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
8. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด
9. ผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานหรือมีภาวะอารมณ์เครียด
10. ผู้ที่เข้าสู่ภาวะสูงวัย
11. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง หรือเส้นเลือดบริเวณอื่นตีบตัน
12. ผู้ป่วยที่มีโรคนิ่วหรือติดเชื้อทางเดินปีสสาวะเป็นประจำ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจสภาพการทำงานของไตด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ (lab) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่ามีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อจะได้มีโอกาสฟื้นฟูไตให้กลับมามีสภาพปกติได้
อาการใดบ้างที่แสดงว่าอาจมีภาวะไตเสื่อม
ผู้ที่ไตเสื่อมจนมีอาการผิดปกติแสดงออกให้สังเกตได้จะเป็นผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะท้าย ๆ แล้วอาการที่พบได้บ่อย ๆ เช่น
1. ปัสสาวะมีฟองมาก เกิดจากมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมากทำให้ปีสสาวะเหนียวข้นจึงเกิดฟองเมื่อปัสสาวะลงในน้ำ
2. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เนื่องจากหน่วยกรองปัสสาวะในไตเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถกรองน้ำปีสสาวะได้ตามปกติ ปัสสาวะจึงลดปริมาณลดลง
3. มีอาการบวมตามขา หรือตามส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ใบหน้า หนังตาบน ถ้ามีอาการมากอาจบวมทั้งตัวผู้ป่วยในภาวะเช่นนี้ต้องเฝ้าระวังภาวะน้ำท่วมปอดเพราะเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
อาการบวมเกิดจากระดับโปรตีนอัลบูมิน (albumin) ในเลือดลดลง เพราะโปรตีนอัลนูมินรั่วออกมาในปัสาวะ เนื่องจากไตไม่สามารถดูดชับโปรตีนอัลบูมินจากปัสสาวะกลับเข้าสู่กระแสเลือดได้หมด จึงทำให้มีโปรตีนอัลบูมินบางส่วนรั่วปนออกมากับปัสสาวะ ทำให้ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดลงลง
4. มีอาการโลหิตจาง สามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีผิวที่ซีดลงกว่าเดิม เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง สาเหตุที่เม็ดเลือดแดงลดลง เพราะเมื่อไตเสื่อมสภาพลงจะทำให้ไตสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินได้น้อยลงฮอร์โมนชนิดนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าปริมาณฮอร์โมนลดลงเม็ดเลือดแดงในเลือด ก็ลดลงตามไปด้วย
5. มีผิวหนังแข็ง ดำคล้ำ และคัน อาการนี้เกิดจากมีภาวะระดับธาตุฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้ ธาตุนี้ไปสะสมที่ผิวหนังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนัง ทำให้แข็งขาดความยืดหยุ่น สีผิวเปลี่ยนเป็น ดำคล้ำ และผิวจะแห้งผิดปกติทำให้เกิดอาการคันตามมา
6. มีอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย เกิดจากร่างกายขาดสมดุลของสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ เพราะไตไม่สามารถปรับสมดุลสารต่าง ๆ เหล่านี้ได้ นอกจากนี้อาการเหนื่อยง่ายยังเกิดจากภาวะโลหิตจางจากการขาดเม็ดเลือดแดงอีกด้วย
7. มีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร เนื่องจากของเสียสะสมอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง โดยเฉพาะของเสียที่เกิดจากย่อยสลายและเผาผลาญสารประกอบโปรตีน ซึ่งทำให้เกิดการคั่งค้างของยูเรียในกระแสเลือดจำนวนมาก จึงเกิดอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร
ผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการแสดงออกมา จนกว่าจะมีความผิดปกติทั้งหมดทุกข้อ ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยที่สูญเสียหน่วยกรองปัสสาวะในไตไปเป็นจำนวนมากแล้ว การฟื้นการทำงานของไตจะช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติทั้งหมด หากมีการดูแลพื้นฟูอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้โดยยังไม่ต้องเข้าสู่การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดด้วยการล้างช่องท้อง
การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาภาวะไตเสื่อมในระยะเริ่มแรก
การตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มทำได้โดยง่าย ปัจจุบันนี้มีเทคนิคในการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะ ไตเสื่อมได้โดยละเอียดมีหลายวิธี โดยแนะนำวิธีง่ายๆ เสียค่าใช้จ่ายน้อยและผลก็ถูกต้องแม่นยำดีมาก ด้วยการตรวจหาค่าของเสียที่สะสมอยู่ในเลือด 2 ชนิด คือ
1. BUN (Blood Urea Nitrogen) อ่านว่า “บียูเย็น” เป็นการตรวจหาระดับของเสีย คือยูเรียในเลือดจากการย่อยสลายและเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย จนเกิดของเสียขึ้นมาเป็น “แอมโมเนีย” สุดท้ายตับจะเปลี่ยน “แอมโมเนีย” ให้กลายเป็น “ยูเรีย”
ถ้าไตทำงานได้ดีระดับของเสีย “ยูเรีย” ในเลือดจะตรวจพบไม่เกิน 25 mg% แต่ถ้าตรวจพบค่า “ยูเรีย ในเลือด หรือ BUN” เกินกว่า 25 m% จะเป็นข้อบ่งขี้ข้อหนึ่งว่าภาวะไตเสื่อมกำลังเริ่มต้นแล้ว
2. CR (Creatinine) อ่านว่า “ครีเอทินีน” เป็นของเสียที่มาจากกล้ามเนื้อ มีค่าค่อนข้างคงที่ โดยปกติ ไตจะขับครีเอทีนีนออกมากับน้ำปัสสาวะ ทำให้ระดับครีเอทินีนในเลือดมีค่าไม่สูงเกินกว่า 125 mg% ดังนั้นหากพบค่าครีเอทินีนในเลือดสูงเกินกว่า 125 mg% ประเมินเบื้องต้นได้ว่าไตกำลังเข้าสู่ภาวะเสื่อม
เนื่องจาก “ค่าครีเอทินีน” มีความแม่นยำในการบอกภาวะไตเสื่อมได้ดีกว่า “ค่าบียูเอ็น” เพราะมาจากของเสียที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณโปรตีนในอาหารเหมือนกับค่าบียูเอ็น จึงสามารถนำเอาค่าครีเอทินีนมาคำนวณหาค่าอัตราที่เลือดไหลผ่านไต (glomerular filtration rate) ตัวย่อคือ GFR ได้โดยคำนึงถึงน้ำหนัก อายุ เพศและเชื้อชาติ ค่า GFR ยิ่งสูง แสดงว่าเลือดยิ่งไหลผ่านไตมาก ประสิทธิภาพในการกรองของเสียทิ้งจะสูงตามไปด้วย
3. การจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อมด้วยค่า GFR
แบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ดังตารางการจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อม. ด้วยค่า GFR (glomerular filtration rate) ต่อไปนี้
ระดับ |
ค่า GFR (มล./นาที) |
สภาวะของไต |
ปริมาณเลือดไหลผ่านไต |
ระดับ 1 |
มากกว่า 90 มล./นาที |
ไตทำงานได้ตามปกติ |
ผ่านไตมากกว่า 90 มล./นาที |
ระดับ 2 |
ระหว่าง 60-90 มล./นาที |
ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 2 |
ผ่านไต 60-90 มล./นาที |
ระดับ 3 |
ระหว่าง 30-59 มล./นาที |
ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 3 |
ผ่านไต 30-59 มล./นาที |
ระดับ 4 |
ระหว่าง 15-29 มล./นาที |
ไตเสื่อมในระดับที่ 4 |
ผ่านไต 15-29 มล./นาที |
ระดับ 5 |
น้อยกว่า 15 มล./นาที |
ไตเสื่อมในระดับที่ 5 หรือระดับที่ต้องพึ่งพาการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
ผ่านไตน้อยกว่า15 มล./นาที |
4. การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม
การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำโดยการตรวจหาค่าโปรตีนในปัสสาวะที่ได้จากการเก็บปัสสาวะในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าปริมาณมากกว่า 150 มก./วัน แสดงถึงว่าไตเริ่มทำงานผิดปกติ
การตรวจให้แน่ชัดขึ้นอีกจะเป็นการตรวจหาโปรตีนเฉพาะชนิดคือ “อัลบูมิน” เรียกว่า “ไมโครอัลบูมิน” (micro albuminuria)” หากมีค่ามากกว่า 30 มก/วัน แสดงว่าไตเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว
การตรวจคัดกรองเพื่อหาผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม จะอาศัยการตรวจง่ายสะดวกรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยมากคือ การตรวจหาค่าครีเอทินีนในเลือด ต้องมีค่าไม่เกิน 1.25 mg% ค่าบียูเอ็นในเลือดต้องมีค่า ไม่เกิน 25 mg% และค่าโปรตีนในปัสสาวะต้องไม่พบโปรตีนในปัสสาวะเลย เพียงใช้เวลาในการตรวจไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็จะทราบแล้วว่าเรามีภาวะไตเสื่อมหรือไม่
จะเห็นได้ว่าการตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำได้ง่ายมาก สะดวกรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ส่วนคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องเข้าถึงบริการตรวจสุขภาพไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งถ้าได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้องตามหลักธรรมชาติ เราก็สามารถมีไตคุณภาพดีใช้งานได้ตลอดชีวิต อีกทั้งอวัยวะทุกส่วนในร่างกายจะได้รับการฟื้นฟูไปพร้อมกับการฟื้นฟูไตด้วย
อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ไข่ นม เห็ด ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ มีโปรตีนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป โปรตีนเป็นสารอาหารที่ย่อยยากและต้องใช้พลังงานมากเพื่อย่อยโปรตีนให้แตกออกเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการใช้ 20 ชนิด การรับประทานโปรตีนจากอาหารชนิดใด ชนิดหนึ่งมักมีกรดอะมิโนไม่ครบ 20 ชนิด เราจึงจำเป็นต้องรับประทานโปรตีนจากอาหารอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนครบ 20 ชนิด และต้องรับประทานปริมาณมากจึงจะเพียงพอ เมื่อพยายามเสริมโปรตีนหรือรับประทานมากเกินไป ก็เกิดปัญหาย่อยไม่ทันและมีของเสียเกิดขึ้นจำนวนมากในร่างกาย เกิดสารพิษ และสารก่อ “มะเร็ง” นอกจากนี้โปรตีนเมื่อย่อยสลายในร่างกายจะเกิดสารแอมโมเนียขึ้น ซึ่งตับจะเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นยูเรียแล้วขับออกทางปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานหนักอันเป็นสาเหตุสำคัญของ “โรคไตเสื่อม”
ทางออกที่ดีมากและปลอดภัยต่อผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ได้แก่ มะเร็ง ไตเสื่อม เบาหวาน ภูมิแพ้ แพ้ภูมิตัวเอง โรคไขมัน โรคอ้วน รวมทั้งผู้ที่ต้องการเสริมโปรตีนให้กับร่างกายคือ การลดปริมาณโปรตีนจากอาหารลงสู่ระดับที่ปลอดภัย และใช้กรดอะมิโนเข้าไปชดเชยปริมาณโปรตีนจากอาหาร
การสร้างโปรตีนของกรดอะมิโนจะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) 8 ชนิด และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) 12 ชนิด อย่างสมดุล ซึ่งกรดอะมิโน แต่ละชนิดมีประโยชน์แตกต่างกันออกไปทั้งในแง่ของการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ฟื้นฟูสุขภาพให้ร่างกายมีพลังในการทำงาน
อะมิโน วิต (Amino Vit) ได้ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพองค์รวม วัยทารกและเด็กที่ต้องการพัฒนาการร่างกาย สติปัญญาและการเรียนรู้ที่เหมาะสม คนวัยทำงานที่ต้องการพลังงาน ผู้สูงอายุที่ต้องการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ควบคู่ไปกับแนวทางอื่นๆ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ เช่น การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบ 3 ต่ำ คือ “ไขมันต่ำ แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” โดยรับประทานผักมาก มีเส้นใยสูงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตเสื่อม และมะเร็ง หรือการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบ 1 สูง 2 ต่ำ คือ “ไขมันสูง แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตเสื่อม และมะเร็ง ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจำเป็นต้องเข้าใจประเภทของไขมันดี ไขมันร้าย และต้องจำกัดจำนวนไขมันหากต้องลดน้ำหนักส่วนเกิน
ข้อมูล: นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
ภาวะไตเสื่อม ถือเป็นโรค NCDs ที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงมาก ในปี พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่า มีผู้ป่วยภาวะไตเสื่อมมากกว่า 12 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 17 ของประชากร ความน่ากลัวของภาวะนี้ คือ ภาวะความเสื่อมจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา เมื่อภาวะความเสื่อมเข้าสู่ระดับ 5 เรียกภาวะนี้ว่า ไตวาย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดทางหน้าท้อง ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตในเวลาต่อมา
การทำงานของไต ในการขับของเสียออกมากับปัสสาวะ เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจ (Descending Aorta) ส่งเลือดผ่านเข้าไตทั้ง 2 ข้างทางหลอดเลือดแดงไต (Renal Artery) และหลอดเลือดแดงไตแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงฝอย ประมาณ 1 ล้านหน่วย ในหน่วยไต (nephron) และเลือดจะไหลกลับทางหลอดเลือดดำฝอยในหน่วยไต (nephron) ทำให้เกิดการขับน้ำปัสสาวะออกทางท่อเล็ก ๆ ในหน่วยใต (nephron) เรียกท่อเล็ก ๆ นี้ว่า "tubule" จากหน่วยไต (nephron) ที่มีจำนวนข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย จะเกิดการรวบรวมน้ำปัสสาวะที่กรวยไต (Pelvis of Kidney) แล้วขับออกทางท่อปัสสาวะจากไต (Ureter) ลงสู่กระเพาะปัสสาวะ
ไตของเรามีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบด้วยหน้าที่หลักคือ
1. กรองของเสียจากในเลือดแล้วขับถ่ายออกมากับน้ำปัสสาวะ
ของเสียหลักที่ไตขับทิ้งคือ “ยูเรีย” ซึ่งได้จากการที่ร่างกายย่อยสลายโปรตีน แล้วเกิดสารแอมโมเนีย (Ammonia) แอมโมเนียมีพิษต่อร่างกายสูงมาก ตับจะรีบจัดการเปลี่ยนแอมโมเนียในเลือดให้เป็นยูเรีย ซึ่งมีพิษต่อร่างกายลดลง ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจะเป็นภาระหนักทั้งของตับและไต เพราะตับต้องเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นยูเรีย และไตต้องคอยขับยูเรียออกมากับปัสสาวะ ส่วนผู้ป่วยโรคไตเสื่อมต้องลดปริมาณการรับประทานโปรตีนลงเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักและเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
2. ปรับสมดุลน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เมื่อเราดื่มน้ำมากเกินกว่าที่ร่างกายเราต้องใช้ ไตก็จะขับปัสสาวะออกมามากขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าเรารับประทานน้ำน้อยเกินไป ไตจะขับปัสสาวะลดลงเพื่อรักษาน้ำไว้ในร่างกายให้เพียงพอต่อความจำเป็นที่ต้องการใช้ การทำหน้าที่ปรับปริมาณน้ำในร่างกายให้เหมาะสม ไตต้องทำงานร่วมกับต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ที่ผลิตฮอร์โมนซึ่งคอยควบคุมการขับน้ำจากร่างกาย
3. ปรับสมดุลกรดและด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เลือดของคนเราควรมี “ค่าความเป็นกรดและด่าง” หรือค่าพีเอช (pH-Potential Hydrogen) ที่เหมาะสมอยู่ที่ 7.4 เพราะจะทำให้การทำงานของเซลล์ทุกเซลล์มีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าเลือดมีความเป็นกรดสูงเกินไป ไตจะขับกรดออกมากับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเลือดมีความเป็นด่างมากเกินไป ไตจะลดการขับกรดลง การควบคุมระดับความเป็นกรดและด่างในเลือด ไตต้องทำงานร่วมกับปอดด้วย
4. ปรับสมดุลของเกลือแร่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เกลือแร่ที่ไตต้องคอยปรับระดับให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ก็คือ โซเดียม โพแทสเชียม คลอไรด์ ฟอสฟอรัส และแคลเชียม ส่วนที่ทำหน้าที่ปรับสมดุลเกลือแร่ของไต คือส่วนที่เรียกว่า “ท่อไต (Renal Tubule)”
5. ปรับปริมาณเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ไตมีกลไกการควบคุมให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดงมากหรือน้อย ด้วยการผลิตฮอร์โมนชื่อ อีริโทรพอยอีติน (Erythropoietin) จากเซลล์ในเนื้อเยื่อของไตที่เรียกว่า อินเตอร์สติเชียลทิสชู (Interstitial Tissue)
ถ้าต้องการให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงมาก ไตก็จะผลิตฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินออกมามาก ในสภาวะที่ไตเสื่อมสภาพจากโรคไตวายเรื้อรัง ไตจะผลิตฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินได้ลดลง ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงลดลง จึงทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อมมีเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดน้อย ที่เรานิยมเรียกว่า “ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง”
6. ผลิตฮอร์โมนและวิตามิน ได้แก่
6.1 ฮอร์โมนเรนิน (Renin)
ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตและการดูดซึมเกลือแร่ที่ไต เมื่อไตเสื่อมการผลิตฮอร์โมนเรนินและการดูดซึมเกลือแร่จะผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและสมดุลของเกลือแร่แปรปรวน
6.2 ฮอร์โมนอีริโทรพอยอีติน
ช่วยกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง เมื่อไตเสื่อมทำให้การผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ลดลงจึงเกิดภาวะซีดตามมา
6.3 วิตามินดี
ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร และช่วยเสริมสร้างกระดูก เมื่อไตเสื่อมการผลิตวิตามินดีก็ลดลง มีผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอ
ภาวะไตเสื่อม คือ การที่หน่วยไต (nephron) มีการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงฝอย หรือหลอดเลือดดำฝอยในหน่วยไต (nephron) ทำให้เลือดไหลผ่านไตได้น้อยลง (ค่า eGFR ลดลง) การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดเหล่านี้มีสาเหตุหลายประการ
1. ความชราทำให้ไตเสื่อม
เมื่อเราอายุมากขึ้น จำนวนหน่วยกรองปัสสาวะในไตจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงตามธรรมชาติ หากเรารู้จักเลือกรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ นอกจากจะช่วยให้การเสื่อมสภาพของไตเกิดขึ้นช้าลง ยังช่วยในการฟื้นฟูไตอีกด้วย ทั้งยังเป็นการลดภาระการทำงานของไตลง
2. โรคเบาหวานทำให้ไตเสื่อม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ไตเสื่อมคือ โรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมากเท่าไร ไตจะเสื่อมเร็วและเสื่อมรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากน้ำตาลระดับสูงในเลือดจะก่อให้เกิดการอักเสบในเซลล์ ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งเซลล์ของผนังเส้นเลือดด้วย เมื่อเกิดการอักเสบก็จะเกิดการเสื่อมสภาพตามมา
หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุม “ระดับน้ำตาลที่ได้จากการเจาะเลือด” และ “ค่าน้ำตาลสะสม” หรือ HbA1c-Hemoglobin A1c ได้ดีจาก “การควบคุมอาหาร” ไตของท่านก็จะหยุดเสื่อมจากโรคเบาหวาน สาเหตุรองลงมาคือ ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาเบาหวาน เพราะสารเคมีที่ใช้ทำยาทุกชนิดต้องถูกขับทิ้งออกทางไต การรับประทานเป็นเวลานานจึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ไตมีโอกาสเสื่อมจากยา ส่วนการฉีดยาเบาหวานไม่ทำให้ไตเสื่อม
3. โรคความดันโลหิตสูงทำให้ไตเสื่อม เป็นสาเหตุที่พบบ่อยรองลงมาจากโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตที่สูงมากจะทำให้เส้นเลือดในหน่วยกรองปัสสาวะในไต ซึ่งมีขนาดเล็กมากและบอบบางมาก เกิดความเสียหายและเสื่อมสภาพได้ง่าย ในขณะเดียวกันไตยิ่งเสื่อมมากเท่าไร เส้นเลือดในไตที่เสื่อมจะยิ่งไปขัดขวางไม่ให้เลือดไหลผ่านไตได้สะดวก ก็จะยิ่งไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นอีก เรียกได้ว่าเป็น “วงจรแห่งความเสื่อม” นอกจากนี้ยาควบคุมความดันโลหิต ก็มีผลข้างเคียงทำให้ไตเสื่อม เช่นเดียวกับยาควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือด
ความดันโลหิตในคนเรา ปกติควรมีค่าตัวบนขณะที่หัวใจบีบตัว (Systolic) ไม่เกิน 140 มม.ปรอท (mmHg) และควรมีค่าตัวล่างขณะที่หัวใจคลายตัว (Diastolic) ไม่เกิน 90 มม.ปรอท ถ้าควบคุมได้ในระดับดังกล่าวจะไม่ทำให้ไตเสื่อม
4. โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองทำให้ไตเสื่อม
ผู้ที่ไตเสื่อมจากภูมิคุ้มกันกลับมาทำร้ายไตตัวเอง มักพบได้ตั้งอายุยังไม่มาก บางรายไตเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 ปี หรือบางรายก็อาจเป็นในตอนสูงอายุก็ได้
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่กลับมาทำร้ายร่างกายเรา แทนที่จะคอยป้องกันโรคให้กับเรา เช่น เอสแอลอี (SLE) รูมาตอยด์ สะเก็ดเงิน หนังแข็ง เบาหวานชนิดที่ 1 ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเหล่านี้มากขึ้นกว่าในอดีตมาก สาเหตุสำคัญในการเกิดโรคเหล่านี้มาจากความเครียด การรับประทานผิดกฎธรรมชาติ และการใช้ชีวิตที่ผิดธรรมชาติ
5. โรคพันธุกรรมทำให้ไตเสื่อม
โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ไตเสื่อมมีหลายประเภท บางชนิดเกิดจากขนาดไตเล็กกว่าปกติ บางชนิดมีถุงน้ำจำนวนมากอยู่ในไต บางคนเกิดมาอาจมีไตเพียงข้างเดียว ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวข้างต้นมาตั้งแต่แรกเกิด ไตจะทำงานหนักกว่าคนปกติทั่วไปมาตังแต่เด็ก เพราะว่าจำนวนหน่วยกรองปัสสาวะในไตจะมีจำนวนน้อยกว่าคนทั่วไป จึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายและไตตั้งแต่วัยเด็ก หากดูแลไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง ไตก็จะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุยังไม่มาก หลักการในการดูแลจะเป็นหลักการเดียวกันกับไตเสื่อมจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง
6. ผู้ที่มีไตเพียงข้างเดียวทำให้ไตที่เหลือเสื่อมได้ง่าย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ที่มีไตปกติมาแต่กำเนิด แต่เหลือไตข้างเดียวในเวลาต่อมาก็คือ การบริจาคไตให้กับญาติ การเกิดอุบัติเหตุทำให้ต้องตัดไตทิ้ง ผู้ที่มีมะเร็งเกิดขึ้นที่ไตและแพทย์ได้ผ่าตัดไตข้างที่เกิดมะเร็งออกไป แนวทางการรักษาผู้ที่ไตเสื่อมด้วยสาเหตุนี้ ยังคงใช้แนวทางเดียวกับผู้ที่ไตเสื่อมจากสาเหตุโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองทำให้ไตเสื่อม และโรคพันธุกรรมทำให้ไตเสื่อม
7. การขาดเลือดมาเลี้ยงไตเนื่องจากโรค หรือภาวะบางประการทำให้ไตเสื่อม
มีสาเหตุบางประการที่ทำให้เลือดมาเลี้ยงไตน้อยกว่าปกติ เช่น การเสียเลือดเป็นจำนวนมาก การขาดน้ำในร่างกาย การติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง จึงทำให้ไตเสื่อมสภาพแบบเฉียบพลัน หากสาเหตุนี้คงอยู่ต่อเนื่องนานจะทำให้ไตเสื่อมสภาพแบบถาวรได้ สำหรับผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เส้นเลือดที่มาที่ไตตีบตันเช่นเดียวกัน
8. การรับประทานโปรตีนเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม
ปัจจุบันนี้รูปแบบของอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม คนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม ถั่ว และเห็ดต่าง ๆ ถ้ารับประทานมากจนเกินไป ไตจะต้องทำงานหนักเพื่อขับของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนและการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย
อาหารโปรตีนสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราไตเสื่อมมากกว่าอาหารที่มีเกลือสูง โดยทั่วไปเมื่อไตเสื่อม คนส่วนใหญ่ก็จะหยุดรับประทานเค็ม แต่ไม่ลดการรับประทานอาหารโปรตีนสูงลง ซึ่งจะไม่ทำให้ไตของผู้ป่วยดีขึ้นแต่อย่างใดเลย
9. การรับประทานเกลือเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม
การรับประทานเกลือมากเกินไปทำให้เป็นภาระให้ไตต้องขับทิ้งมากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากการหยุดรับประทานเกลืออาจทำให้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงในเลือดต่ำมากจนถึงระดับอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมโดยละเอียด
10. การได้รับสารพิษและสารเคมีทำให้ไตเสื่อม
รูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคปัจจุบันนี้ ทำให้คนเราได้รับสารเคมีเป็นจำนวนมาก ทั้งจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อนมากับอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งยารักษาโรคต่าง ๆ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ ไตต้องทำงานหนัก ไตอ่อนแอลงจนเสื่อมสภาพในที่สุด นอกจากนั้นความเครียดจากการทำงาน หรือความเครียดจากความคิดและอารมณ์ ก็มีส่วนทำให้เกิดสารพิษขึ้นในร่างกายส่งผลเสียทำให้ไตเข้าสู่ภาวะเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น
11. เคมีบำบัด
เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ทำให้หลอดเลือดที่ไตและร่างกายส่วนอื่น ๆ เสื่อม
12. มีภาวะฉุกเฉินที่ทำให้ความดันโลหิตตกลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง (ภาวะ Shock) จนทำให้เลือดไหลผ่านไตน้อยลงอย่างเฉียบพลัน เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียนรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเกิดภาวะช็อก จะทำให้หลอดเลือดในหน่วยไต (nephron) ได้รับความเสียหาย
13. มีภาวะนิ่วไปอุดตันทางเดินปัสสาวะบางส่วน ทำให้เกิดแรงดันตีกลับไปที่ไตทำให้ไตพองตัว หน่วยไตได้รับความเสียหาย
14. มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แล้วลุกลามเข้าไปในไตจนเกิดความเสียหายต่อหน่วยไต (nephron)
สาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นสามารถป้องกันได้ หากเราเริ่มลงมือป้องกันไตเสื่อมตั้งแต่ไตยังมีคุณภาพดี เราจะมีไตที่มีคุณภาพดีไว้ใช้งานได้ตลอดชีวิต หากท่านเริ่มรู้ตัวว่าไตเสื่อม การเริ่มดูแลตนเองและฟื้นฟูโดยเร็วที่สุดโดยปฏิบัติอย่างถูกต้องทุกประการ ไตของเราจะสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติดังเดิม แม้ว่าเราต้องฟอกไตแล้วก็ตาม