Calcium Plus      ซื้อสินค้า
ข้อมูลผลิตภัณฑ์

 

       โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเริ่มบางลง ส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยปกติแล้วโรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการแสดงใด ๆ ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน และมักเข้ารับการรักษาเมื่อผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากโรคแล้ว สาเหตุของโรคกระดูกพรุนเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการขาดสารอาหารจากการควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย การรับประทานโปรตีนมากเกินไปทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเป็นกระดูกพรุน หรือการสูญเสียความสมดุลของแร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดีในเลือดจากภาวะไตเสื่อม เป็นต้น “ผลิตภัณฑ์ Calcium Plus” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบสำคัญคือ “แคลเซียม, วิตามินดี 3, แมกนีเซียมและซิงค์” แร่ธาตุรวมครบถ้วนในการบำรุงกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ช่วยซ่อมสร้างกระดูก เพิ่มระดับแคลเซียมในเลือดให้เพียงพอต่อร่างกาย บำรุงเนื้อเยื่อกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน และลดภาวะการเกิดตะคริวจากการขาดสมดุลของแร่ธาตุ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมแคลเซียม ผู้เป็นโรคกระดูกพรุน รวมทั้งผู้ที่เสียสมดุลแร่ธาตุและวิตามินดีจากภาวะไตเสื่อม

 

วิธีรับประทาน : รับประทาน 1 – 2 เม็ดหลังอาหารเช้า

1 กระปุก มี 60 แคปซูล ราคา 500 บาท 

 

ผลิตและพัฒนาโดยศูนย์ธรรมชาติบำบัดเวลเนสแคร์ โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

 

ส่วนประกอบสำคัญ

 

       1. แคลเซียม คาร์บอเนต (Calcium Carbonate)

            เป็นแคลเซียมที่ช่วยซ่อมสร้างกระดูก ยับยั้งการสลายตัวของกระดูกและเสริมสร้างมวลกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน และใช้เสริมสำหรับผู้ที่ขาดแคลเซียม เช่น ผู้ป่วยพาราไทรอยด์ต่ำชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง สตรีวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกอ่อนและความผิดปกติของกระดูก รวมทั้งนิยมใช้รักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

         2. แคลเซียม กลูโคเนต โมโนไฮเดรต (Calcium Gluconate Monohydrate)

            เป็นแคลเซียมที่ใช้สำหรับผู้ที่มีระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำ ใช้เสริมสำหรับผู้ที่ขาดแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ หรือผู้ที่มีความต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้น เช่น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน มีกลไกการออกฤทธิ์โดยการเข้าไปสร้างสมดุลของเกลือแคลเซียมในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและนำไปใช้เพื่อคงความสมดุลของเกลือแร่ต่าง ๆ ในเลือดอีกด้วย

         3. Vitamin D3 หรือ Cholecalciferol

            วิตามินดี 3 ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม โดยช่วยจับและนำพาแคลเซียมไปที่กระดูก เพื่อเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้น มีความหนามากขึ้น ลดความเสี่ยงของมวลกระดูกพรุน อีกทั้งช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น โดยกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้ามาทำอันตรายเรา

         4. แมกนีเซียม ออกไซด์ (Magnesium Oxide)

             แมกนีเซียม ออกไซด์ (Magnesium Oxide) เป็นอาหารเสริมแร่ธาตุใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ช่วยส่งเสริมให้แคลเซียมและวิตามินดี ในการบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน และส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งช่วยป้องกันการสะสมตัวของแคลเซียม นิ่วในไต และนิ่วในถุงน้ำดีได้

         5. แมกนีเซียม กลูโคเนต (Magnesium Gluconate Anhydrous)

            แมกนีเซียม กลูโคเนต เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยรักษาระดับแร่ธาตุในร่างกายให้เพียงพอ ป้องกันการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และป้องกันโรคกระดูกพรุน

         6. ซิงค์ กลูโคเนต (Zinc Gluconate)

           ซิงค์ กลูโคเนต หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยควบคุมสมดุลกรดด่างในร่างกาย ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ ทำงานร่วมกับเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสซึ่งช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟัน

         7. ซิงค์ ซิเตรท (Zinc Citrate)

            ซิงค์ ซิเตรท เป็นสังกะสีที่อยู่ในรูปแบบที่ดีที่สุด เป็นแร่ธาตุที่ช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟัน ลดการอักเสบ ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อตามร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดการเกิดสิวและบรรเทาอาการอักเสบของสิว ป้องกันและรักษาอาการผมหลุดร่วงได้

ข้อมูลเชิงวิชาการ

วิตามินดีจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร

          วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน อาศัยไขมันในการช่วยดูดซึมและสามารถเก็บสะสมในร่างกายได้โดยปกติร่างกายเราสามารถสร้างได้เองจากการสัมผัสแสงแดดโดยมากับรังสี UVB และได้รับจากการรับประทานอาหาร โดยวิตามินดีมีประโยชน์ช่วยดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ให้เดินทางไปสะสมที่กระดูกได้ดีขึ้น ช่วยลดการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ได้ ดังนั้นหากร่างกายขาดวิตามินดี จะส่งผลให้มวลกระดูกลดลงจนนำไปสู่ภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุนได้ รวมทั้งอาจเสี่ยงต่อกระดูกหักได้มากขึ้น

 

25-OH-Vitamin D2/D3 คืออะไร

          วิตามินดี 2 หรือ เออโกแคลซิเฟอรอล (Vitamin D2; Ergocalciferol) วิตามินดีชนิดนี้ได้มาจากพืชและยีสต์ ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น

          วิตามินดี 3 หรือ โคเลแคลซิเฟอรอล (Vitamin D3; Cholecalciferol) เป็นชนิดที่ได้มาจากสัตว์ และจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังของคนเรา โดยเมื่อผิวหนังของเราได้รับแสงแดดที่มีรังสีอัลตร้าไวโอเลตบี ซึ่งเป็นรังสีคลื่นสั้น รังสีจะถูกดูดซับและกระจายตัวอยู่บนผิวหนังชั้นบน แล้วผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นวิตามินดี 3 อย่างรวดเร็ว

          ซึ่งวิตามินทั้ง 2 แบบ จะสะสมในร่างกายในรูป แคลซิไดออล (Calcidiol) คือ “25(OH) vitamin D2” กับ “25(OH) vitamin D3” ซึ่งเป็นรูปแบบของวิตามินดีที่ยังไม่ออกฤทธิ์ ใช้บอกระดับวิตามินดีที่สะสมในร่างกายนั่นเอง

          ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นเมืองร้อนและแดดดีมากเกือบตลอดทั้งปี แต่รูปแบบการดำเนินชีวิตปัจจุบันของเราเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสแสงแดดลดลง หลบแดดอยู่ในที่ร่ม การใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันความเสี่ยงอื่นที่มาพร้อมแสงแดด เช่น ผิวหมองคล้ำ มะเร็งผิวหนัง การใช้ชีวิตในอาคารบ้านเรือน สภาพอากาศ หมอกควัน และฝุ่นละออง การรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่รับประทานเนื้อปลา ล้วนส่งผลให้ผิวหนังมีการสังเคราะห์วิตามินดีได้น้อยและอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในร่างกาย

แหล่งของวิตามินดีที่ร่างกายต้องการ

         1. แสงแดดจากดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลาประมาณ 11.30 – 13.30 น. เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด

         2. การรับประทานอาหาร โดยอาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินดี 3 ได้แก่ น้ำมันตับปลา ไข่แดง นม เนย ตับสัตว์ ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่ ส่วนอาหารที่พบวิตามินดี 2 ได้แก่ เห็ดและสาหร่าย เป็นต้น

         3. นม ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาทูน่า ปลาซาดีน ปลาแม็คเคอร์เรล เป็นอาหารที่นิยมเสริมด้วยวิตามินดี เพราะเป็นอาหารที่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัสและไขมัน ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมจากลำไส้เล็ก

         4. การรับประทานวิตามินดีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (supplement) โดยรับประทาน Vitamin D3 (Cholecalciferol) กลุ่มที่รับประทานมังสวิรัติจะรับประทาน Vitamin D2 (Ergocalciferol) ที่มาจากพืช ส่วนในกลุ่มที่ขาดมากร่วมกับมีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคไต ที่ไม่สามารถเปลี่ยน Vitamin D3 หรือ D2 ให้เป็นลักษณะที่ใช้โดยร่างกายได้ จำเป็นต้องมีการประเมินให้เป็น Active form ของ Vitamin D ที่สามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถนำมาใช้ได้ง่ายขึ้น

         ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีเองได้ใต้ชั้นผิวหนัง ผ่านการกระตุ้นจากรังสียูวีบี  (Ultraviolet B ray) ดังนั้นเพื่อป้องกันการขาดวิตามินดี แนะนำให้ออกมาสัมผัสแสงแดดบ้าง โดยเฉพาะแสงแดดตอนเช้า การรับประทานอาหาร หรือการรับประทานวิตามินดีในรูปของอาหารเสริม (Vitamin D Supplement) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

 

ผลเสียของการขาดวิตามินดี

         1. โรคกระดูกพรุน

            การขาดวิตามินดีทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets) และ โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)  ในผู้ใหญ่ โดยพบว่าผู้สูงอายุที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับวิตามินดี  ต่ำกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน

         2. ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)

            การที่วิตามินดีต่ำจะทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)

         3. โรคหัวใจและความดัน

            กลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่า 15 ng/ml จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเป็น 2 เท่า

         4. การเจริญเติบโตในเด็ก

            การขาดวิตามินดีจะส่งผลให้รูปร่างไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง

         5. โรคมะเร็ง

            วิตามินดีมีบทบาทในการควบคุมการเจริญของเซลล์มะเร็ง โดยพบว่า ระดับวิตามินดีสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colorectal carcinoma) มะเร็งเต้านม (breast cancer) มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) และมะเร็งรังไข่ (ovarian cancer)

         6. โรคซึมเศร้า

            ผู้ที่ขาดวิตามินดีจะมีภาวะซึมเศร้า เครียดและนอนไม่หลับ ส่งผลให้ร่างกายมีความอ่อนเพลียเมื่อยล้า

         7. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 การขาดวิตามินดีจะส่งผลต่อกระดูกและมีภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 มากกว่าคนทั่วไป

 

         ปัจจุบัน “การตรวจระดับวิตามินดีในเลือด” จึงมีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยและตรวจติดตามผู้ป่วยหรือผู้ที่มีพยาธิสภาพต่าง ๆ เช่น ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดน้อย ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคกระดูกอ่อนและโรคกระดูกพรุน เป็นต้น

 

         การแบ่งสภาวะวิตามินดี ตามระดับความเข้มข้นของวิตามินดีในกระแสเลือด

         1. ระดับ 25-OH-Vitamin D2/D3 ที่บ่งบอกว่าขาดวิตามินดีคือ น้อยกว่า 20 ng/ml

         2. ไม่แนะนำให้คัดกรองระดับ 25-OH-Vitamin D2/D3 ในประชาชนทั่วไป แต่อาจพิจารณาในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงบางกลุ่ม เช่น ในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

         3. เพื่อป้องกันการขาดวิตามินดี ผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 70 ปี ต้องการวิตามินดีอย่างน้อย 600 ยูนิตต่อวัน และผู้สูงอายุต้องการอย่างน้อย 800 ยูนิตต่อวัน

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.