โรคมะเร็ง จัดเป็นโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ส่วนภาวะไตเสื่อม จัดเป็นโรค NCDs ที่ปี พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่า มีผู้ป่วยภาวะไตเสื่อมมากกว่า 12 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 17 ของประชากร ดังนั้นเราจึงควรกลับมาดำเนินชีวิตตามหลักธรรมชาติ ลดความเครียด ดูแลการรับประทานอาหารของตนเอง ด้วยการใช้ “อาหารให้เป็นยา” จัดการกับสภาวะที่ส่งเสริมมะเร็งและไตเสื่อม รวมทั้งใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้มีส่วนช่วยทั้งในแง่การป้องกันและดูแลตนเองด้วยพลังธรรมชาติในร่างกายของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ “ผลิตภัณฑ์ CAK” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่พัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการ “สกัดเฉพาะสารออกฤทธิ์จากพืช เห็ด และสาหร่าย” ประกอบกัน 10 ชนิด มีสารออกฤทธิ์สำคัญช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้สามารถป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ บำรุงร่างกายและช่วยฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้ดี รวมทั้งเซลล์ที่ไต ช่วยให้ไตทำงานได้ดีขึ้น เหมาะกับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็ง และโรคไตเสื่อม-ไตวาย ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ ร่วมกับแนวทางอื่น ๆ
*** 1 กล่อง มี 30 แคปซูล ราคา 1,200 บาท (ราคาสมาชิกลด 10% เหลือ 1,080 บาท)
1 แคปซูล 550 มก. ประกอบด้วยสารสกัด 10 ชนิด ดังนี้
1. สารสกัดจากพลูคาว (Houttuynia Cordata Extract) 150 มก. เป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติบำบัดโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เพราะอุดมไปด้วยสารกลุ่มเทอร์พีน (Terpenes) สารกลุ่มแอลคาลอยด์ (Alkaloid) และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) หลายชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวหลายชนิด ต้านการอักเสบ ต้านการกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย ช่วยป้องกันและกำจัดเซลล์มะเร็ง รวมทั้งช่วยฟื้นฟูเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งเซลล์ที่ไต
2. สารสกัดจากเห็ดชิตาเกะ (Shitake Extract) 75 มก. หรือเห็ดหอม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Lentinula Edodes” ให้สารสำคัญคือ สารเลนติแนน (Lentinan) ซึ่งเป็นสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันและกำจัดเซลล์มะเร็ง ช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้สารเคมีบำบัดและรังสีบำบัด เนื่องจากมีคุณสมบัติสำคัญในการกระตุ้นการสร้างอินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ในร่างกาย ซึ่งเป็นโปรตีนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัส และสามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน Natural Killer Cell (NK CELL) ให้ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและเซลล์มะเร็งอีกด้วย
3. สารสกัดจากจมูกข้าวสาลี (Wheat Germ Extract) 75 มก. มีสารสำคัญหลายชนิด อุดมด้วยวิตามินอีในรูปของ โทโคฟีรอล (Tocopherol) และโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol) ในรูปแบบธรรมชาติที่สมบูรณ์ครบ 8 ชนิด จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติภายในเซลล์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งและชะลอความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ จึงช่วยฟื้นฟูไตและสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้มีประสิทธิภาพสูง
4. สารสกัดจากดาวเรือง (Marigold Extract) 49 มก. ดาวเรืองมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Tagetes Erecta” ชื่อสามัญคือ “Marigold” มีสารประกอบสำคัญในกลุ่มกรดฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีผลการวิจัยพบว่า สารเหล่านี้มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ มะเร็งท่อน้ำดี และมะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังให้สารเบต้าแคโรทีน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับและมะเร็งปอด
5. สาหร่ายสไปรูลินาชนิดผง (Spirulina Powder/Arthrospira Platensis) 45 มก. มีคุณสมบัติกึ่งกลางระหว่างพืชและสัตว์ ให้โปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 8 ชนิด รวมทั้งให้สารสำคัญที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการสร้างโปรตีน ที่จะทำหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอย่างครบถ้วน จึงเหมาะสำหรับการฟื้นฟูร่างกาย รวมทั้งป้องกันและบำบัดมะเร็ง
6. สารสกัดจากโสม (Ginseng Extract) 30 มก. สายพันธุ์เอเซีย (Panax Ginseng) มีแหล่งปลูกสำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เกาหลีใต้ และเกาหลีเหนือ มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ อแดปโตเจน (Adaptogens) ที่ช่วยให้เซลล์ทั่วร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น เป็นผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และสร้างโปรตีนอินเตอร์เลนคิน-วัน (Interlenkin-1) เป็นผลทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็งได้ดี
7. สารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Reishi Extract) 30 มก. มีสารสำคัญคือเจอร์เมเนียมอินทรีย์ (Organic Germanium) ที่ช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันหรือการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage เพิ่มออกซิเจนในระดับเซลล์กระตุ้นให้ร่างกายผลิตแกมมาอินเตอร์เฟอรอน (IFN-g) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ร่างกายผลิตขึ้นใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง รวมทั้งลดผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัดและรังสีบำบัด นอกจากนั้นยังช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้ดี เหมาะแก่การฟื้นฟูสภาพการทำงานของไต
8. สารสกัดแอสต้าแซนทิน (Astaxanthin) จากสาหร่ายแดง พบได้มากในทะเลแถบประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย สารสีแดงสดในสาหร่ายคือสารแอสตาแซนทิน (Astaxanthin) มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก จึงมีคุณสมบัติช่วยทำให้อวัยวะฟื้นตัวจากการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระได้ดี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม รวมทั้งต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งในทุกอวัยวะ
9. สารสกัดจากเห็ดไมตาเกะ (Maitake Mushroom Extract) เป็น “ราชาแห่งเห็ด” มีสรรพคุณทางยาสูง มีสารโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) สูงที่สุดในบรรดาเห็ดทางการแพทย์ โดยเฉพาะสาร Grifolans เป็นเป็นสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) กระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันหรือการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Killer T Cells (Cytotoxic T Cell) และ Natural Killer Cell ให้มีจำนวนมากขึ้นและเตรียมพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคและเซลล์ที่มีการแบ่งตัวผิดปกติ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
10. สารสกัดจากเห็ดยามาบูชิตาเกะ (Lion’s Mane Extract) หรือเห็ดหัวลิง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Hericium Erinaceus” เป็นแหล่งโปรตีนธรรมชาติ มีกรดอะมิโนอยู่ถึง 16 ชนิด อุดมไปด้วยสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) กลุ่ม Glucoxylan กระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดบี (B Cells) และชนิดที (T Cells) รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage ในการจับกินเชื้อโรค จึงช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานมีประสิทธิภาพ ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัดและรังสีบำบัด
โรคมะเร็ง จัดเป็นโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยในปัจจุบัน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากเซลล์มะเร็งเกิดในร่างกายของเราตลอดเวลา เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอ่อนแอ มันจะปรากฏออกมาและอาจทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น โดยมีอัตราความเสี่ยง 1 ใน 8 คน นับเป็นความเสี่ยงที่มีโอกาสสูงมากที่จะเสียชีวิตด้วยโรคนี้ โดยการรักษามะเร็งมีหลากหลายชนิด ทั้งการรักษาแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาด้วยสมุนไพรต่าง ๆ รวมทั้งแบบแผนการแพทย์ทางเลือกหลากหลายสาขา การจัดหาทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละราย ซึ่งส่วนใหญ่ต้องใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสาน
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรคมะเร็งที่น่าสนใจก็คือ แม้ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้ามาก แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ ทั้งที่รู้แน่ชัดว่าเป็นเซลล์มะเร็งชนิดใด บางกรณีเคมีบำบัดก็ไม่สามารถกจัดเซลล์ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำการรักษา หรือการรักษาด้วยรังสีบำบัดก็มีผลการรักษาออกมาไม่ต่างจากเคมีบำบัด คือ ไม่สามารถทำให้มะเร็งหายขาดได้ สุดท้ายผู้ป่วยกลับมาเป็นมะเร็งชนิดเดิมอีก หรือบางครั้งก็เกิดมะเร็งชนิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งในที่สุดก็ไม่มีการบำบัดรักษาใดที่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในรอบใหม่ได้อีก ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในร่างกายเราได้อย่างไร
โดยทั่วไปร่างกายของคนเราจะมีเซลล์ตายประมาณ 12 ล้านเซลล์ทุกวินาที สเต็มเซลล์ (stem cell) ในร่างกายจึงต้องแบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ใหม่มาชดเชยเซลล์เก่าที่ตายไปเป็นจำนวนมากถึง 12 ล้านเซลล์ต่อวินาที ซึ่งในขณะที่สเต็มเซลล์กำลังมีการแบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ เป็นช่วงเวลาเปราะบางมากที่หน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่าดีเอ็นเอ (DNA) ในสเต็มเซลล์จะถูกสภาวะส่งเสริมให้เกิดมะเร็ง และส่งผลให้เกิดความผิดปกติขึ้นใน ดีเอ็นเอของเซลล์ที่เกิดใหม่ นั่นก็คือ “เซลล์กลายพันธุ์” หรือที่เราเรียกว่า “เซลล์มะเร็ง” นั่นเอง ปัจจุบันมีข้อมูลทางการแพทย์ที่แน่ชัดแล้วว่า เซลล์มะเร็งเกิดจากสเต็มเซลล์ในอวัยวะนั้น ๆ กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งในขณะที่แบ่งตัวเพื่อมาซ่อมแซมอวัยวะนั้น ๆ ยิ่งหากอวัยวะใดมีการใช้งานหนัก ต้องมีการแบ่งตัวของสเต็มเซลล์เพื่อมาซ่อมแซมอวัยวะนั้นมาก ก็มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็ง
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าร่างกายของคนเรามีเซลล์มะเร็งเกิดตลอดเวลา แต่ร่างกายของคนเรามีภูมิคุ้มกันโรคคอยกำจัดสิ่งแปลกปลอม สารต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่รู้จัก ยารักษาโรค เชื้อโรค รวมทั้งเซลล์มะเร็ง ดังนั้นบางคนที่ไม่เป็นมะเร็งก็เพราะว่า “ภูมิคุ้มกันของบุคคลนั้นสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด” หากช่วงใดที่ภูมิคุ้มกันโรคไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นก้อนมะเร็งที่ร่างกายของเราไม่สามารถกำจัดได้อีก
2. การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกมีประโยชน์ในการรักษามะเร็งหรือไม่
เมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ เซลล์มะเร็งก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ แบบไร้ขีดจำกัด และเพิ่มขนาดแบบทวีคูณ โดยระยะแรกก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เราจะเริ่มมองเห็นก้อนมะเร็งได้เมื่อก้อนมะเร็งมีเซลล์มะเร็งมากกว่าหนึ่งร้อยล้านเซลล์ ซึ่งเมื่อตรวจพบก้อนมะเร็ง แพทย์จะพิจารณาว่าควรผ่าตัดเอาออกหรือไม่ โดยพิจารณาถึง “ตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดเอาออกได้สะดวกและสามารถผ่าตัดออกได้หมดทั้งก้อน” หากการผ่าตัดไม่สามารถเอาก้อนมะเร็งออกได้หมด จะยิ่งเป็นการเร่งให้เซลล์มะเร็งจากก้อนมะเร็งที่หลงเหลือแพร่กระจายออกจากตำแหน่งเดิมไปสู่อวัยวะอื่น ๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางกระแสเลือดและระบบหมุนเวียนน้ำเหลือง นอกจากนี้ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการกระจายเซลล์มะเร็งออกจากก้อนเดิมแล้ว แพทย์จึงจำเป็นต้องหา “วิธีการกำจัดเซลล์มะเร็งที่กระจายออกไปด้วยวิธีการอื่น” อีก ไม่สามารถจบการรักษามะเร็งด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว
3. การใช้รังสีบำบัดช่วยในการรักษามะเร็งได้อย่างไร
การใช้รังสีบำบัด คือการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยอาศัย “คุณสมบัติการดูดซับรังสีได้มากกว่าปกติ” ตายก่อนเซลล์ปกติ ซึ่งเซลล์ปกติจะไม่ตายแต่จะเกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรง ข้อดีของการใช้รังสีบำบัดคือ หากเซลล์มะเร็งกระจุกตัวอยู่บริเวณที่ฉายรังสี เซลล์มะเร็งจะตายหมด แต่ข้อเสียก็คือ หากมีเซลล์มะเร็งที่กระจายตัวออกจากตำแหน่งเดิมไปแล้ว เนื่องจากการฉายรังสีทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง เซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่จะกลับมาเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้มะเร็งลุกลามรุนแรงกว่าเดิม หรืออาจเกิดเซลล์มะเร็งเกิดใหม่จากการฉายรังสีได้ และในบางครั้งเซลล์ปกติที่บาดเจ็บ หากเป็นสเต็มเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวเองเพิ่มจำนวนได้ก็อาจมีการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง
4. การใช้เคมีบำบัดช่วยในการรักษามะเร็งได้อย่างไร
การใช้เคมีบำบัด คือการฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยสารเคมีที่สังเคราะห์ให้มีคุณสมบัติ “ฆ่าเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วและโตเร็ว” จึงถูกฆ่าตายก่อนเซลล์ปกติของร่างกาย แต่เซลล์ของร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตก็ถูกสารเคมีดังกลาวฆ่าตายเช่นกัน จึงทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง หากมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ เซลล์มะเร็งจะกลับมาแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็ว หรือทำให้เซลล์มะเร็งเกิดใหม่ได้ และในบางครั้งสเต็มเซลล์ที่โดนพิษจากสารเคมีอาจเกิดการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งชนิดใหม่ขึ้นมา
กล่าวได้ว่าการรักษามะเร็งด้วยวิธีการผ่าตัด การใช้รังสีบำบัด หรือการใช้เคมีบำบัด ยังไม่มีวิธีการใดที่จะทำให้มะเร็งหายขาดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการทำให้มะเร็งสงบลงชั่วคราว แต่โอกาสที่มะเร็งจะกลับมาใหม่ยังคงมีตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะทำให้มะเร็งไม่กลับมาเป็นใหม่หรือไม่เกิดขึ้นอีก มีวิธีการเดียวคือ “การสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดมะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกายชองเราอย่างเพียงพอ” เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับสภาพจิตใจให้มีความสุข การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ หรือการบำบัดมะเร็งตามแนวทางธรรมชาติบำบัดเพื่อให้สะดวกในการประยุกต์ใช้ เช่น อาหารบำบัดมะเร็ง อาหารทดแทน สารสกัดจากธรรมชาติ เกลือแร่และวิตามินบำบัด เป็นต้น
ข้อมูล: หนังสือพิชิตโรคร้ายโดยไม่ใช้ยา เล่ม 3 พิชิตมะเร็ง ฟื้นฟูไตด้วยพลังธรรมชาติ
โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
โรคมะเร็ง จัดเป็นโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยในปัจจุบัน เกิดจากความผิดปกติ ที่หน่วยพันธุกรรมที่เรียกว่าดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์ที่เกิดใหม่ นั่นก็คือ “เซลล์กลายพันธุ์” หรือที่เราเรียกว่า “เซลล์มะเร็ง กล่าวได้ว่า เซลล์มะเร็งเกิดจากสเต็มเซลล์ในอวัยวะนั้น ๆ กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งในขณะที่แบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ใหม่มาซ่อมแซมอวัยวะนั้น ๆ ดังนั้นเซลล์มะเร็งจึงสามารถเกิดขึ้นได้เกือบทุกอวัยวะของคนเรา แต่ที่พบบ่อยมักเป็นอวัยวะที่เซลล์มีการแบ่งตัวจำนวนมากซึ่งย่อมมีโอกาสเกิดความผิดปกติของเซลล์ที่เกิดใหม่ได้ง่าย
เมื่อมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในอวัยวะใดของร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะทำหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ผิดปกตินั้น หากร่างกายเรากำจัดได้ เราจะรอดพ้นจากการเป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้ากำจัดไม่ได้ เซลล์มะเร็งก็จะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วเกิดเป็นก้อนมะเร็งขึ้นในอวัยวะนั้น ๆ สิ่งที่น่ากลัวของเซลล์มะเร็งก็คือ มันสามารถกระจายออกจากอวัยวะเดิมไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ทางกระแสเลือดและท่อน้ำเหลือง จากนั้นจึงเกิดเป็นก้อนมะเร็งขึ้นในอวัยวะอื่น ๆ ได้ หากเกิดในอวัยวะสำคัญ เราก็จะเสียชีวิตจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากก้อนมะเร็งไปทำลายอวัยวะนั้น
หากเราดำเนินชีวิตและรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ อันได้แก่ การละวางความเครียด การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายให้เหมาะสม การรับประทานผักผลไม้สดเป็นอาหารหลัก การรับประทานอาหารโปรตีนสูงถูกชนิดและปริมาณเหมาะสม การไม่รับประทานน้ำตาล และการไม่รับประทานไขมันทรานส์ โอกาสเกิดเซลล์มะเร็งจะน้อย ระบบภูมิคุ้มกันดี สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ทุกครั้ง เราก็จะไม่เป็นโรคมะเร็ง สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง เราก็สามารถบูรณาการวิถีธรรมชาติดังกล่าวควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผลการรักษาออกมาดียิ่งขึ้น ไม่ขัดแย้งกัน โดยมีแนวทางสรุปได้ ดังนี้
1. การปรับสภาพจิตใจให้มีความสุข หากผู้ป่วยมะเร็งมีจิตใจที่ผ่อนคลาย ไม่เกิดความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวลต่าง ๆ การซ่อมแซมและเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงก็จะเกิดขึ้นตามมา ระบบภูมิคุ้มกันโรคและภูมิคุ้มกันมะเร็งก็จะทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. งดรับประทานน้ำตาลทุกชนิด เพราะน้ำตาลจะทำให้เลือดเป็นกรดและกดภูมิต้านทานมะเร็งให้ต่ำลง อันได้แก่
2.1 น้ำตาลที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลกรวด น้ำตาลปี๊บ รวมถึงน้ำผื้งแท้ด้วย
2.2 ผลไม้สุกและผลไม้หวาน น้ำตาลที่อยู่ในผลไม้สุกและผลไม้หวาน เกิดจากเอนไซม์ในผลไม้ชนิดนั้นเปลี่ยนแป้งที่มีอยู่ให้กลายเป็นน้ำตาล
2.3 ขนมต่าง ๆ ซึ่งขนมจะมีส่วนประกอบหลักคือ แป้งและน้ำตาล ทั้งขนมไทยและขนมต่างประเทศ
2.4 เครื่องดื่มต่าง ๆ ปัจจุบันเครื่องดื่มมีหลากหลายประเภททั้งบรรจุกล่อง บรรจุขวด หรือชงขายตามร้านค้า ซึ่งจะมีน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก
3. งดรับประทานของทอดทุกชนิด เพื่อป้องกันการเกิดไขมันทรานส์ เนื่องจากไขมันทรานส์เป็นสารก่อมะเร็ง ถ้าจำเป็นต้องผัดหรือทอด ควรใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน
4. ต้องขับถ่ายอุจจาระทุกวัน ถ้ามีปัญหาเรื่องท้องผูกอาจรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ภาวะท้องผูกจะเพิ่มสารก่อมะเร็งในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว
5. ต้องหลับให้สนิททุกคืน ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ถ้ามีปัญหาเรื่องการนอนอาจรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ เสื่อมโทรม และภูมิต้านทานมะเร็งลดลง
6. ต้องงดโปรตีนอันตรายที่กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งโตเร็ว อันได้แก่ นมวัว ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากนมวัว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และคุมจำนวนอาหารโปรตีนสูง ได้แก่ สัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ปลา กุ้ง ปู ไก่ เป็ด ไข่ต่าง ๆ ทั้งไข่แดงและไข่ขาว เห็ด ถั่วแกะเมล็ด เมล็ดพืช และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ขนม รวมกันไม่เกิน 3 ขีดต่อวัน เพราะต้องลดของเสียจากการย่อยโปรตีนลง ลดค่า BUN ในเลือดลงเพื่อให้เซลล์มะเร็งขาดอาหาร โดยในช่วงที่โรคมีอาการรุนแรง อาจใช้วิธีงดรับประทาน
7. การรับประทานอาหารทดแทนโปรตีน เพื่อชดเชยการลดอาหารโปรตีนสูง ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานมะเร็ง
8. การรับประทานสารเสริมอาหารสกัดจากธรรมชาติควบคู่กับการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ ซึ่งต้องพิจารณาตามความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละบุคคลว่าต้องการสารอาหารใดเป็นพิเศษ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารต้านการอักเสบ สารอาหารต้านอนุมูลอิสระ และสารอาหารต้านมะเร็ง เพื่อช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการทำลายจากเซลล์มะเร็ง มีสารออกฤทธิ์ที่สามารถกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่ไม่เกิดโทษต่อเซลล์ปกติ เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดเพื่อเป็นการเพิ่มภูมิต้านทานมะเร็ง ป้องกันภาวะเลือดออกง่ายในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด รวมทั้งเพิ่มความสามารถของตับในการสร้างภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทั้งผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งในที่อื่น ๆ
9. การปรุงอาหารที่สะอาด ปราศจากสารพิษปนเปื้อน ปราศจากผงชูรส ปราศจากน้ำตาล และปราศจากไขมันทรานส์เพื่อให้การใช้อาหารบำบัดมีประสิทธิผลเต็มที่
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติ ร่วมกับการใช้อาหาร อาหารทดแทน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดจากธรรมชาติและวิตามิน ตามที่กล่าวข้างต้น ถือเป็นแนวทางที่ส่งผลดีต่อการบำบัดมะเร็งในทุกอวัยวะ เพื่อเสริมสร้างสิ่งที่ดีให้กับร่างกายและจิตใจ สามารถใช้เป็นแนวทางดูแลร่วมกับแผนปัจจุบัน ซึ่งส่งผลดีต่อการบำบัดและเสริมประสิทธิภาพกันและกันได้อย่างดียิ่ง
ข้อมูล: หนังสือพิชิตโรคร้ายโดยไม่ใช้ยา เล่ม 3 พิชิตมะเร็ง ฟื้นฟูไตด้วยพลังธรรมชาติ
คู่มือบำบัดกลุ่มโรค NCDs ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามหลักธรรมชาติ
โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
ข้อดีของการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง
ค่าใช้จ่ายไม่แพง การตรวจทำได้ง่าย สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้หลายชนิดทั้งในเพศชายและหญิง ค่าใช้จ่ายไม่แพง ทราบผลได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถพบมะเร็งตั้งแต่ในระยะแรกก่อนที่เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์และแพร่กระจาย
ข้อเสียของการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง
การแปลผลค่าของสารบ่งชี้มะเร็งต้องแปลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผลการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งอาจต้องมีการตรวจซ้ำหรือการแปลผลต้องใช้ข้อมูลอื่นประกอบ เนื่องจากอาจมีค่าผลบวกเทียม หรือค่าผลลบเทียม
การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งมีหลายประเภท ดังนี้
1. CEA
การตรวจหาระดับ CEA ในกระแสเลือด นิยมใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งในลำไส้ใหญ่ จะได้ผลแม่นยำและค่าสูงมากกว่ามะเร็งในที่อื่น ซึ่งอาจมีค่าสูงบ้างแต่ไม่มาก เช่น ตับอ่อน เต้านม ปอด รังไข่
2. AFP
การตรวจหาค่าระดับ AFP ในกระแสเลือด ใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) ซึ่งจะมีค่าที่สูงมากกว่ามะเร็งในที่อื่น และอาจมีค่าสูงบ้างแต่ไม่มาก เช่น รังไข่ อัณฑะ ปอด โดยระดับ AFP ที่ตรวจพบมักจะสัมพันธ์กับระยะของโรคมะเร็งด้วย
3. CA 19-9
การตรวจหาสารคาร์โบไฮเดรตแอนติเจน (carbohydrate antigen) สามารถพบทั้งในเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม
จัดเป็น tumor marker ที่ดีที่สุดในการช่วยวินิจฉัยและติดตามผลการรักษามะเร็งตับอ่อน และมะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma carcinoma) ทั้งนี้คนที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง แต่มีการอักเสบของตับอ่อน ท่อน้ำดี และถุงน้ำดี อาจพบค่า CA 19-9 สูงกว่าคนปกติ
4. PSA
การตรวจหาค่าระดับ PSA ในกระแสเลือด ใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากได้ผลดีมาก และปัจจุบันการตรวจ Free PSA ช่วยเพิ่มความจำเพาะในการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากขึ้น ทั้งนี้อาจพบค่า PSA สูงในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต
5. CA 125
การตรวจหาค่าระดับ CA 125 ในกระแสเลือด ใช้ตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ชนิด non-mucinous type ส่วนมะเร็งชนิดอื่น เข่น มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งของระบบทางเดินอาหาร มะเร็งตับ อาจมีค่า CA 125 สูงขึ้นได้บ้าง
6. CA 15-3
การตรวจสารไกลโคโปรตีน (glycoprotein) ในเซลล์มะเร็งหลายชนิด พบมากในเซลล์มะเร็งเต้านม พบบ้างในมะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ มักใช้ตรวจดูผลการรักษา หรือตรวจติดตามการกลับมาเป็นใหม่ของมะเร็งเต้านมหลังการรักษา
7. Beta-HCG
การตรวจหาฮออร์โมนชนิดหนึ่งซึ่งจะมีค่าสูงมากในผู้ป่วยตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy) มะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก (choriocarcinoma) มะเร็งรังไข่ มะเร็งอัณฑะ (testicular carcinoma) หรือผู้ป่วยมะเร็งปอดบางราย ทั้งนี้หญิงตั้งครรภ์อาจมีค่า Beta-HCG สูง
8. NSE
การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งที่ดีที่สุดในการช่วยวินิจฉัย และติดตามผลการรักษามะเร็งปอดชนิด small cell lung cancer ซึ่งเป็นมะเร็งปอดที่มีการพยากรณ์โรคที่รุนแรง
1. สภาวะจากภายนอกร่างกาย
1.1 มลพิษทางอากาศ
- สารไฮโดรคาร์บอนจากฝุ่นควันท่อไอเสียรถยนต์และจากโรงงานอุตสาหกรรม
- ฝุ่นละอองจากโลหะหนักและยาฆ่าแมลง
1.2 มลพิษจากอวกาศ
- รังสีอัลตราไวโอเลต
- รังสีคอสมิก
1.3 อาหารและเครื่องดื่มที่มีสารก่อมะเร็ง
- อาหารไหม้เกรียม
- ไขมันทรานส์
- เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนมวัว
- สารถนอมอาหาร/สารกันบูดหลายชนิด
1.4 อาหารที่ให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดแบบรวดเร็ว
- เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมทุกชนิด
- น้ำผลไม้ต่าง ๆ ที่มีรสหวาน
- ขนมหวานทุกชนิด
- ผลไม้หวานทุกชนิด
- อาหารที่มีแป้งเป็นส่วนผสมจำนวนมาก
2. สภาวะจากภายในร่างกาย
2.1 ความเครียด
- กระตุ้นการเกิดเซลล์มะเร็งและเพิ่มจำนวนได้รวดเร็ว
- ทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรด
- มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
- อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
- เซลล์ต่างๆ ถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ
- ระดับภูมิคุ้มกันต่ำลง
2.2 ขาดสารอาหารที่จำเป็นในร่างกาย
- ขาดวิตามินซี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง
- ขาดเอนไซม์ที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์ ทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ เซลล์อ่อนแอ/กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ง่าย
2.3 ท้องผูกอย่างต่อเนื่อง
- เกิดของเสียตกค้างในร่างกาย
2.4 ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การซ่อมแซมเซลล์ และอวัยวะต่าง ๆ เกิดข้อบกพร่อง 2.5 ขาดการออกกำลังกาย
- ระบบน้ำเหลืองในร่างกายไม่เกิดการหมุนเวียน
- ระบบภูมิคุ้มกันไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
1. อาหารที่มีน้ำตาลสูง
- น้ำตาลที่พรวดพราดเข้าสู่กระแสเลือดเราทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคของเราลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
- น้ำตาลส่วนเกินที่ร่างกายเราใช้ไม่ทัน จะไปเป็นอาหารที่เซลล์มะเร็งใช้ในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโต
2. อาหารที่ผ่านการทอดหรือผัดด้วยน้ำมัน
น้ำมันที่เดือดมีอุณหภูมิสูงถึง 160-180 องศาเซลเซียส จะก่อให้เกิดน้ำมันทรานส์ ซึ่งส่งผลเสียในร่างกาย เพราะเป็นน้ำมันผิดธรรมชาติที่ร่างกายเราไม่รู้จัก และมองว่าเป็นสารแปลกปลอมที่ต้องทำลายทิ้ง เมื่อร่างกายทำลายได้ไม่หมดก็จะเกิดการตกค้างในร่างกาย ทำให้เกิดเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เซลล์ของร่างกายกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด
ความร้อนจากอุณหภูมิของน้ำมันเดือดทำให้อาหารที่ทอดหรือผัดไหม้เกรียมได้ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าอาหารที่ไหม้เกรียมไม่ว่าจะมาจากการปิ้งย่าง หรือมาจากการทอด ที่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้จำนวนมาก การทำอาหารให้สุกที่ปลอดภัยคือการทำให้สุกด้วยน้ำเดือด น้ำเดือดอุณหภูมิจะคงที่ ณ 100 องศาเซลเซียส จะไม่ก่อให้เกิดการไหม้เกรียมของอาหาร ไม่ว่าเราจะทำให้อาหารร้อนจนเดือดเป็นเวลานานเท่าใดซึ่งทำได้ทั้งการต้ม การตุ๋น การอบนึ่งด้วยไอน้ำ
3. อาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนมสัตว์
เนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนมสัตว์เป็นอาหารที่ย่อยยาก จะเน่าเสียตกค้างในลำไส้เป็นเวลานาน เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของคนเราย่อยเนื้อสัตว์ได้เล็กน้อย เพราะคนเรามีน้ำกรดและน้ำย่อยจำนวนน้อยมากเพียง 1 ใน 20 หรือ 5% เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์กินเนื้อทั้งหลาย เมื่อเรารับประทานเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนมสัตว์ กระเพาะอาหารของเราจะย่อยได้ไม่หมด จึงถูกนำมาย่อยต่อที่ลำไส้เล็กซึ่งมีสภาวะเป็นด่าง ทำให้การย่อยเกิดได้ยาก เพราะการย่อยเนื้อสัตว์และนมสัตว์เอนไซม์จะทำการย่อยได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด ทำให้เนื้อสัตว์และนมสัตว์ตกค้างอยู่ในลำไส้เล็กหลายวัน เกิดการเน่าเสียหมักหมม ถ้ามีการรับประทานจำนวนมากและต่อเนื่องจะเกิดการเน่าจนย่อยได้ยากมาก และจับเป็นคราบแน่นอยู่ที่ผนังลำไส้เล็ก คราบเน่าเสียเหล่านี้จะปล่อยทั้งสารพิษและสารก่อมะเร็งเข้าสู่กระแสเลือดของเราตลอดเวลา นอกจากนั้นคราบเน่าเสียเหล่านี้ยังเป็นอาหารของแบคทีเรียตัวก่อโรคอีกด้วย
น้ำนมสัตว์มีลักษณะเป็นของเหลวที่ย่อยยาก เพราะนมสัตว์โดยทั่วไปจะมีโปรตีนต่างจากนมของคนเรา (ยกเว้นนมแพะมีโปรตีนเหมือนกับนมของคนเรา) โปรตีนในนมของคนเราเป็นอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งมีโมเลกุลเล็กย่อยได้ง่าย แต่โปรตีนจากนมสัตว์เป็นเคซีน (Casein) ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่ย่อยได้ยากมาก นอกจากนี้การจะให้แม่วัวมีระยะให้นมที่ยาวนานจะต้องมีการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ทำให้นมวัวมีฮอร์โมนปนเปื้อนมาในปริมาณสูง ทำให้เกิดมะเร็งที่สัมพันธ์กับเพศได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ในเพศหญิงจะส่งเสริมให้เกิดมะเร็งเต้านม เพศชายจะส่งเสริมให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
สารพิษและสารก่อมะเร็งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นชนิดเดียวกับคนเรา เนื่องจากคนเราอยู่ในตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายจึงเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เหมือนกัน จนสามารถใช้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เช่น หนู กระต่าย ลิง หมู วัว ทดลองฤทธิ์ของยาและผลข้างเคียงของยาแทนคนเราได้ โรคต่าง ๆ และมะเร็งทุกชนิดที่เกิดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็เป็นชนิดเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในคนเรา สารพิษ สารก่อมะเร็งต่าง ๆ ที่ตกค้างในตัวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดก็สามารถก่อพิษและก่อมะเร็งในคนเราได้ เมื่อเรารับประทานเนื้อของมัน สารพิษหรือสารก่อมะเร็งเหล่านั้นก็จะเข้ามาสะสมหรือก่อโรคในตัวเราได้ทันที
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฉลาดมากเมื่อมันรู้ตัวว่าจะต้องถูกฆ่าก็จะเกิดความเครียดสูงมาก คนเราเมื่อเกิดความเครียดก็จะสร้างสารพิษก่อโรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดความเครียดก็จะสร้างสารพิษและสารก่อมะเร็งเป็นจำนวนมาก ยิ่งมีความเครียดสูงสุดจากการกลัวถูกฆ่า จะยิ่งก่อสารพิษและสารก่อมะเร็งได้สูงสุด จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่เราจะไปรับประทานเนื้อของมันหรือนมของมัน
สารเคมีที่อยู่ในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะถ่ายทอดมาสู่คนเราโดยตรง ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ผู้เลี้ยงจะต้องพยายามให้สัตว์ปลอดจากโรค ก็จะใช้ยาเคมีใส่ให้สัตว์กินอย่างเต็มที่เพื่อรักษาโรคหรือป้องกันการเกิดโรค สารเคมีเหล่านี้ก็จะเข้าสู่ร่างกายเรา เมื่อเรารับประทานเนื้อหรือนมของมันเข้าไป ในการเลี้ยงหมู-วัวเพื่อขายเนื้อหรือนม ก็จะมีการใช้สารเร่งเนื้อแดง มีการใช้ฮอร์โมนเร่งให้โตเร็ว มีการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนให้มีจำนวนน้ำนมมากและให้นมนาน สารเหล่านี้ก็จะผ่านเข้าสู่ร่างกายเราเมื่อเราไปรับประทานเนื้อหรือนมของมัน ซึ่งทำให้ก่อโรคต่าง ๆ และมะเร็งได้หลายชนิด ในคนเรา
4. สารถนอมอาหารและสารปรุงแต่งรสหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง
อาหารในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างจากอาหารธรรมชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ ในธรรมชาติแท้ ๆ จะมีเฉพาะอาหารสดเท่านั้น ยิ่งอาหารที่หนีห่างจากธรรมชาติมากขึ้นเท่าไร อันตรายก็ยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะธรรมชาติในตัวเราจะไม่รู้จักอาหารปรุงแต่งและไม่รู้จักสารถนอมอาหาร ทุกอย่างเป็นสารแปลกปลอมและมีโอกาสก่อให้เกิดโรคและมะเร็งได้เกือบทุกชนิด ถ้าเราต้องการหนีห่างจากโรคต่าง ๆ เราควรรับประทานอาหารสดจากธรรมชาติมากที่สุด อาหารที่เราจะรับประทานสด ได้อย่างปลอดภัยและไม่ผิดธรรมชาติ คือ พืชผัก-ผลไม้ที่ไม่หวาน แต่ก็ยังคงต้องระมัดระวังสารพิษสารปนเปื้อนที่ติดมากับพืชผัก-ผลไม้เช่นเดียวกัน สารพิษและสารก่อมะเร็งที่ใช้เป็นสารถนอมอาหารหรือสารปรุงแต่งรสมีจำนวนมากมายหลายร้อยชนิดในปัจจุบัน จนไม่สามารถจดจำได้หมด และไม่มีหลักประกันได้ว่าปัจจุบันนี้ปลอดภัย
การถนอมอาหารที่ปลอดภัยที่สุดก็คือถนอมอาหารด้วยความเย็น ในกรณีอาหารทั่วไปที่ปรุงเสร็จแล้วถ้าต้องการถนอมระยะสั้น ๆ ก็ถนอมด้วยความเย็นจากการแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสในตู้เย็นตามบ้าน แต่ถ้าต้องเก็บเอาไว้ในระยะยาวนาน การแช่แข็งอาหารเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด เพราะไม่ต้องใช้สารกันบูดหรือสารถนอมอาหารใด ๆ เลย ถึงแม้คุณภาพอาหารอาจจะต่ำกว่าการปรุงสุกแล้วรับประทานเลย แต่ก็สูญหายไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คุ้มค่ากว่าการไปใช้สารถนอมอาหารอื่น ๆ หรือการถนอมอาหารในรูปแบบอาหารกระป๋อง
สารปรุงแต่งรสให้หวานควรมาจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ เช่น หญ้าหวานหรือสารให้ความหวานที่มีรากฐานจากน้ำตาลธรรมชาติ
การล้างผัก-ผลไม้ให้สะอาดควรเลือกใช้เกลือแกง หรือผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) ซึ่งเป็นสารที่รับประทานได้อย่างปลอดภัย ถึงแม้จะล้างออกไม่หมด การล้างผักผลไม้ด้วยน้ำที่มีฟองก๊าซโอโซนซึ่งผลิตจากเครื่องผลิตโอโซนก็เป็นวิธีล้างที่ดีมากวิธีหนึ่ง
ที่มา : หนังสือพิชิตมะเร็ง ฟื้นฟูไต ด้วยพลังธรรมชาติ
เขียนโดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
1. ผักและผลไม้สดไม่หวาน
- เพราะ น้ำตาล เป็นอาหารของเซลล์มะเร็ง
- มีสาระสำคัญต่าง ๆ เอนไซม์ วัตถุออกฤทธิ์ทางยา วิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยขจัดมะเร็ง
- ทานอย่างหลากหลายเพื่อเสริมความแข็งแรงของร่างกาย และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- ทานก่อนอาหารชนิดอื่น และต้องทานในปริมาณมากกว่าอาหารชนิดอื่นในแต่ละมื้อ เพื่อให้การดูดซึมเอ็นไซม์ตรงลำไส้เล็กส่วนต้นดีขึ้น ซึ่งควรมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ถึง 70
2. อาหารที่ให้โปรตีนสูงและสะอาด ไม่เกิดการเน่าเสีย
เห็ดต่าง ๆ
- เห็ดมีโปรตีนสูงมาก เป็นอาหารที่เน่าเสียน้อยที่สุด จึงปลอดภัยที่สุด
- ควรทานเห็ดให้หลากหลายชนิดมากที่สุด เพื่อให้เป็นอาหารขจัดมะเร็ง
ถั่วต่าง ๆ
- ทานถั่วที่สะอาด ไม่มีสารปนเปื้อนใดๆ
- ทำให้สุกด้วยการต้มหรือนึ่ง ไม่นำไปทอดด้วยน้ำมัน
- ถั่วให้ไขมันดีในกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคและภูมิคุ้มกันมะเร็งสูงขึ้น
- ทานถั่วหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้กรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด และยังได้วิตามิน แร่ธาตุ ที่ร่างกายต้องการเป็นจำนวนมาก
- ถั่วมีเส้นใยอาหารสูงมาก ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ทำให้ไม่มีการเน่าเสียของอาหารที่ตกค้างในร่างกาย ซึ่งเป็นอาหารของเซลล์มะเร็ง
- ทานถั่วที่สดใหม่ ไม่มีเชื้อราชนิดที่ก่อให้เกิดสารอะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งตับ
ไข่ต่าง ๆ
- มีสารอาหารครบถ้วนในการซ่อมแซมและเสริมสร้างร่างกาย
- ไข่ไม่ใช่อาหารที่ต่อต้านเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่ก็ไม่ถึงกับส่งเสริมเซลล์มะเร็ง
- ผู้ป่วยมะเร็งไม่ควรรับประทานเกินวันละ 1 ฟอง
- ห้ามนำไข่ไปทอดด้วยน้ำมัน เช่น ไข่เจียว ไข่ดาว โดยเฉพาะไข่ลูกเขย ซึ่งนอกจากจะทอดด้วยน้ำมันแล้ว ยังนำไข่ไปชุบน้ำตาลอีกด้วย
เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
- เนื้อปลาจะย่อยได้ง่าย เกิดการเน่าเสียน้อยลง
- งดเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมู วัว งดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด เพราะ มีอันตรายจากวิธีการเลี้ยงที่มีสารก่อมะเร็งติดมา เช่น สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งการเติบโต ยาปฏิชีวนะ ความเครียดของสัตว์ที่สูงมากในระหว่างการถูกนำมาฆ่า ซึ่งจะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งจำนวนมาก
3. น้ำมันที่มีฤทธิ์ช่วยขจัดมะเร็ง
น้ำมันมะกอก
- เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว คือตำแหน่งของธาตุคาร์บอนในโมเลกุลตำแหน่งที่ 9 ยังว่างอยู่
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เป็นแหล่งพลังงานที่ดีให้กับเซลล์ร่างกาย แต่ไม่เป็นพลังงานให้กับเซลล์มะเร็ง
- ควรทานในรูปน้ำมันมะกอกสกัดเย็น น้ำมันสลัด หรือรับประทานด้วยการดื่มโดยตรง ในการปรุงอาหารต้องไม่นำน้ำมันมะกอกมาทอดหรือผัดอาหาร เพราะ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนโมเลกุลเป็นไขมันทรานส์กลายเป็นสารก่อมะเร็งได้ น้ำมันมะพร้าว
- มีกรดไขมันลอริก เป็นกรดไขมันอิ่มตัวชนิดสายกลาง ซึ่งช่วยในการเพิ่มภูมิคุ้มกนโรคและภูมิคุ้มกันมะเร็ง และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อรา เชื้อยีสต์ เชื้อ แบคทีเรีย และไวรัส
- เป็นแหล่งพลังงานให้ผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งลดการใช้พลังงานจากกลุ่มแป้งและน้ำตาลลง เพราะเซลล์มะเร็งจะใช้พลังงานจากน้ำตาล ไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำมันได้
- การนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้เป็นอาหาร จะต้องนำมาใช้อย่างถูกวิธี คือ นำมาใช้ในรูปของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หรือทานในรูปกะทิสด ห้ามนำน้ำมันมะพร้าวมาทอดอาหารหรือผัด อาหาร ถ้านำมาทำแกงหรือต้มข่าห้ามเคี่ยวข้าววันข้ามคืน ควรทำเครื่องแกงหรือเครื่อง ต้มข่าให้สุกก่อนแล้วจึงใส่กะทิสดลงไป เมื่ออาหารเริ่มเดือดอีกครั้งก็ยกลงจากเตาทันที ควรปรุงรับประทานให้หมดเป็นมื้อๆ ไม่ควรนำไปอุ่นรับประทานหลายครั้ง
น้ำมันปลา
มีกรดไขมันโอเมกา 3 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 2 ชนิด คือ
1. กรดไขมันอีพีเอ (EPA: Eicosapentaenoic acid ไอโคซาเพนทาอีโนอิก แอซิด)
- ช่วยให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL) เพิ่ม
- ลดการสร้างคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) ลง ลดการสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์ลง จึงช่วยให้เส้นเลือดไม่อุดตัน เลือดไม่หนืด เลือดไหลเวียนผ่านเส้นเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้ดี
- มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ และต้านเซลล์มะเร็ง
2. กรดไขมันดีเอชเอ (DHA: Docosahexaenoic acid โดโคซาเฮกซาอีโนอิก แอซิด)
- ทำให้เซลล์สมองแข็งแรง และเพิ่มเส้นสมองให้มากขึ้น
- น้ำมันปลามีอยู่ในปลาทุกชนิด เมื่อเราทานปลาที่ผ่านการปรุงด้วยการต้มหรือนึ่ง เราจะได้น้ำมันปลาที่ดี แต่ถ้าเรานำปลาไปทอดด้วยน้ำมัน น้ำมันปลาในปลาจะเปลี่ยนตัวเองเป็นไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง
ข้อควรระวัง
อาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น เห็ดต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ซึ่งจัดเป็นอาหารต้านมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งต้องทานด้วยความระมัดระวัง ควบคุมปริมาณโปรตีน ทานในจำนวนที่จำกัด โดยเฉลี่ยแล้วไม่ควรเกินร้อยละ 30 ของสัดส่วนการรับประทานแต่ละมื้อ เพราะถ้าทานในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 จะย่อยไม่ทัน เกิดการเน่าเสียในลำไส้ได้ ถ้าเราทานมากเกินไปจะกลับเป็นอาหารส่งเสริมมะเร็งได้ ร่างกายยังจำเป็นต้องยึดหลัก การรับประทานพืชผักสดและผลไม้สดไม่หวานเป็นอาหารหลัก ซึ่งควรมีสัดส่วนการรับประทานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ถึง 70 ต่อการรับประทานในแต่ละมื้อ น้ำมันต่าง ๆ ทานน้อย ๆ หากเป็นมะเร็งที่เกี่ยวกับท่อน้ำดี ตับ ตับอ่อนหรือมะเร็งที่ให้เคมีบำบัด การทานอาหารที่มีน้ำมัน การย่อยไขมันจะยาก ท้องจะอืดง่าย ถ้าผู้ป่วยมะเร็งไม่มีผลของไตเสื่อมมาก ควนทานข้าวกล้องล้วน เพื่อให้ได้สารอาหารโปรตีน แป้งและไขมันจากจมูกข้าว มีเส้นใยช่วยขับถ่าย การทานแป้งไม่ขัดขาวจะย่อยสลายเป็นน้ำตาลช้า ๆ ซึ่งปลอดภัยกว่า
ที่มา : หนังสือพิชิตมะเร็ง ฟื้นฟูไต ด้วยพลังธรรมชาติ
เขียนโดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
ระยะที่ 1
พบก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือตาเปล่า มะเร็งระยะนี้ยังไม่มีการเติบโตหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ จะยังคงอยู่ในอวัยวะต้นกำเนิดเท่านั้น
ระยะที่ 2
ก้อนเนื้อ แผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มะเร็งลุกลามภายในเนื้อเยื่อ อวัยวะใกล้เคียง หรือต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ
ระยะที่ 3
ก้อนเนื้อ แผลมะเร็งขยายตัวใหญ่ขึ้น มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะและต่อมน้ำเหลืองที่ไกลออกไป
ระยะที่ 4
มะเร็งกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ มะเร็งระยะแพร่กระจาย และมะเร็งระยะลุกลาม
มะเร็งระยะ 0
ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะเซลล์เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง ยังไม่มีการรุกรานเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง แต่อาจพัฒนาเป็นมะเร็งได้
“เห็ดทางการแพทย์” (Medicinal Mushrooms) คือ เห็ดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในทางการแพทย์แผนตะวันออกมีการใช้เห็ดเป็นยามานานหลายศตวรรษ แต่คุณสมบัติของเห็ดต่อ “การส่งเสริมของระบบภูมิคุ้มกัน” เริ่มได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายเมื่อช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา มีการวิจัยที่ทำให้เห็ดถูกจัดเป็นอาหารทางการแพทย์และใช้เห็ดเป็นอาหารทางยา โดยเห็ดสายพันธุ์ที่ได้รับการวิเคราะห์คุณค่าของเห็ดทางการแพทย์ (Medicinal mushrooms) เช่น เห็ดไมตาเกะ เห็ดหลินจือ เห็ดยามาบูชิตาเกะ เห็ดชิตาเกะหรือเห็ดหอม เป็นต้น นับเป็นอาหารฟังก์ชัน (Functional Food) หรืออาหารเพื่อสุขภาพที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง อาหารหรือสารอาหารใด ๆ ที่อยู่ในรูปของธรรมชาติหรือที่ถูกแปรรูป รวมทั้งอาหารที่ถูกเสริมด้วยสารพฤกษเคมีหรือสมุนไพร เพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพนอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้รับจากสารอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายในการป้องกันโรค เพิ่มภูมิต้านทาน ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
เห็ดทางการแพทย์นับเป็นอาหารฟังก์ชันที่มีใช้มาเป็นเวลายาวนานในจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะให้คุณค่าทางโภชนาการ ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่น ๆ ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ จากการศึกษาวิจัยพบว่า เห็ดทางการแพทย์มีสารประกอบสำคัญที่ให้ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและปลอดภัยต่อการบริโภค เช่น ไกลโคโปรตีน เลคติน เทอร์ปีนอยด์ และสารประกอบโพลีแซคคาไรด์ ในกลุ่มของเบต้ากลูแคน 1,3/1,6 โดยเบต้ากลูแคน จะถูกย่อยที่บริเวณผนังลำไส้เล็กส่วน ileum และเข้าไปจับที่ตัวรับบนผิวเซลล์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด แมคโครฟาจ (macrophage) โดยจะไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวอยู่ในสภาวะตื่นตัวเพื่อทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (เอกสาร บำรุงพืช, 2558: 37-38)
โดยเห็ดทางการแพทย์แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทางเคมีและปริมาณของสารเบต้ากลูแคน โพลีแซคคาไรด์แตกต่างกันทั้งในเรื่องขนาดโมเลกุล โครงสร้าง การละลาย การดูดซึม จึงส่งผลให้เซลล์เลือดขาวทำงานได้ดีขึ้นผ่านหลายกลไกและส่งเสริมต่อสุขภาพแตกต่างกัน ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ต้องการความสะดวกสบาย เห็ดทางการแพทย์จึงได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเข้มข้น สกัดเอาสารออกฤทธิ์สำคัญออกมาด้วยกรรมวิธีเฉพาะ ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น เกาหลี จีน โดยนำมาใช้ร่วมกับรังสีบำบัดและเคมีบำบัด โดยนิยมใช้มากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนี้
เห็ดชิตาเกะ (Shitake Extract)
เห็ดชิตาเกะ หรือคนไทยรู้จักในนาม “เห็ดหอม” ชาวจีนใช้เห็ดชนิดนี้มานานและเป็นเห็ดที่มีประวัติการใช้ทางการแพทย์มานานพันปี ถูกใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันมะเร็งและการเติบโตของเนื้อร้าย ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคจากการติดเชื้อไวรัส มีสารไฟโทนิวเทรียนหลายชนิดทำให้ถูกจัดเป็นหนึ่งในเห็ดทางการแพทย์
สิ่งที่เห็ดชิตาเกะต่างจากเห็ดชนิดอื่นคือ เป็นแหล่งอุดมไปด้วยวิตามินบี 2 บี 5 และบี 6 วิตามินดี 2 กรดอะมิโนจำเป็น แร่ธาตุที่สำคัญ ใยอาหาร และให้สารสำคัญคือ “สารเลนติแนน (Lentinan)” ซึ่งเป็น “สารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan)” มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกัน และกำจัดเซลล์มะเร็ง ช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้สารเคมีบำบัด และรังสีบำบัด เนื่องจากมีคุณสมบัติสำคัญในการกระตุ้นการสร้างอินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ในร่างกาย ซึ่งเป็นโปรตีนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัส และสามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน Natural killer cell (NK CELL) ให้ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค และเซลล์มะเร็งอีกด้วย
เห็ดหลินจือ (Reishi)
เป็นเห็ดที่ชาวจีนรู้จักและนิยมใช้ในการบำบัดและบำรุงร่างกายมาเป็นเวลานาน ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดเห็ด” อีกทั้งยังบรรจุในตำราแพทย์จีนว่ามีประสิทธิภาพมากมาย ใช้เพื่อบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ เพิ่มภูมิต้านทาน กำจัดสารพิษในร่างกาย ต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง บำรุงสุขภาพตับ และมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความแข็งแรงในปอด โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาหอบหืด
ในเห็ดหลินจือ มีสารโพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) คือ เจอร์เมเนียมอินทรีย์ ที่ช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันหรือการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage เพิ่มออกซิเจนในระดับเซลล์กระตุ้นให้ร่างกายผลิตแกมมาอินเตอร์เฟอรอน (IFN-g) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ร่างกายผลิตขึ้นใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง รวมทั้งลดผลข้างเคียงจากการใช้เคมี และรังสีบำบัด นอกจากนั้นยังช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้ดี เหมาะแก่การฟื้นฟูสภาพการทำงานของไต
เห็ดไมตาเกะ (Mitake mushroom)
เป็นเห็ดที่มีสรรพคุณทางยา ได้รับขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งเห็ด (King of Mushroom)” เป็นเห็ดพันธุ์พื้นเมืองภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น คำว่า “ไมตาเกะ” เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “เห็ดเต้นรำ” เนื่องจากในอดีต ถ้าพบเห็ดไมตาเกะในป่า คนญี่ปุ่นจะเต้นด้วยความปีติยินดี
เห็ดไมตาเกะ ประกอบด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย มีสารออกฤทธิ์ทางยาสูง ได้แก่ โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม ใยอาหาร กรดอะมิโน วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินดีโดยมีสารโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) สูงที่สุดในบรรดาเห็ดทางการแพทย์ โดยเฉพาะสาร Grifolans เป็นสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) ช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกัน หรือการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Killer T Cells (Cytotoxic T Cell) และ Natural killer cell ให้มีจำนวนมากขึ้นและเตรียมพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคและเซลล์ที่มีการแบ่งตัวผิดปกติ จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
เห็ดยามาบูชิตาเกะ (Lion’s Mane)
เห็ดยามาบูชิตาเกะ หรือ เห็ดหัวลิง ในภาษาญี่ปุ่น "ยามาบูชิตาเกะ" แปลว่า ผู้หลับใหลในหุบเขา และเป็นเห็ดที่หายากในธรรมชาติ จึงได้รับการขนานนามว่า “Mountain Hidden Mushroom” เนื่องจากเห็ดนี้จะเกาะอยู่ตามบริเวณไม้ยืนต้นที่บริเวณหุบเขา เช่น ต้นโอ๊ค หรือต้นวอลนัท ลักษณะเห็ดจะคล้ายเส้นไหมสีขาวยาวประมาณ 5-20 ชม. สามารถพบได้บริเวณทวีปยุโรป และเอเชียตะวันออกในประเทศญี่ปุ่น แพทย์แผนตะวันออกใช้เห็ดยามาบูชิตาเกะในการเพิ่มกำลังวังชา บำรุงกระเพาะอาหารและม้าม รวมทั้งใช้ต้านมะเร็ง
เห็ดยามาบูชิตาเกะเป็นแหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Hericium Erinaceus” มีกรดอะมิโนจำเป็นและไม่จำเป็นถึง 16 ชนิด อุดมไปด้วยสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) กลุ่ม Glucoxylan ช่วยกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ลิมโฟไซต์ชนิดบี (B Cells) ชนิดที (T Cells) รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage ในการจับกินเชื้อโรค จึงช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัดและรังสีบำบัด
ปัจจุบันเห็ดทางการแพทย์จึงเป็นอาหารฟังก์ชันที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา รวมทั้งอุดมด้วยใยอาหาร โซเดียมต่ำ รวมทั้งให้พลังงานต่ำและปลอดไขมัน เนื่องจากคนหันมาสนใจกับสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โรคมะเร็ง จัดเป็นโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ 1 ของคนไทย และภาวะไตเสื่อม เป็นโรคกลุ่ม NCDs ที่ปี พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่า มีผู้ป่วยภาวะไตเสื่อมมากกว่า 12 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 17 ของประชากร
ดังนั้นเราจึงควรกลับมาดำเนินชีวิตตามหลักธรรมชาติ เช่น ออกกำลังกาย ลดความเครียด ดูแลการรับประทานอาหารของตนเอง ด้วยการใช้ “อาหารให้เป็นยา” จัดการกับสภาวะที่ส่งเสริมมะเร็ง และไตเสื่อม รวมทั้งใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อให้มีส่วนช่วยทั้งในแง่การ
ป้องกัน และดูแลตนเองด้วยพลังธรรมชาติในร่างกายของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ชนิดของเห็ดทางการแพทย์ เบต้ากลูแคน และผลในการกระตุ้นการทำงานต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
เห็ดทางการแพทย์ | ชนิดของ เบต้ากลูแคน |
ชนิดของเซลล์ เม็ดเลือดขาว |
ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน |
---|---|---|---|
เห็ดไมตาเกะ | Grifolan | แมคโครฟาจ (Macrophage) |
กระตุ้นการหลั่ง Interleukin-1β (IL-1β), interleukin-6 (IL-6) และ TNF-α, กระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์ (NO), กระตุ้นการหลั่ง Interleukin-IL-1, IL-2, Lymphokines |
เห็ดหลินจือ | Ganoderan | แมคโครฟาจ (Macrophage) |
กระตุ้นการหลั่ง Interleukin-1β (IL-1β), Interleukin-6 (IL-6) และ TNF-α |
T-Lymphocytes and B-Lymphocytes |
กระตุ้นการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ ทั้งชนิด B และ T |
||
เห็ดชิตาเกะ | Lentinan | Natural Killer Cells | กระตุ้นการทำงานของ Natural Killer Cells |
T-Lymphocytes | เพิ่มจำนวนของ T-Lymphocyte | ||
B- Lymphocytes | เพิ่มระดับของอิมมูโนโกลบูลิน slgA ที่พบได้ บนผิวของเม็ดเลือดขาวชนิด B-Lymphocyte |
||
เห็ดมายาบูชิตาเกะ | Glucoxylan | T-Lymphocytes B-Lymphocytes |
กระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ เม็ดเลือดขาวชนิด B และ T-Lymphocyte นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มระดับเซลล์ CD4 |
ที่มา Lakhanpal, T. N., & Rana Monika. (2005). Medicinal and nutraceutical genetic resources of mushrooms. Plant Genetic Resources, 3(2): 288-303. เอกสาร บำรุงพืชน์. (พฤศจิกายน, 2558). ทบทวนงานวิจัยของเห็ดทางการแพทย์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน. สรรพสารวงการยา, 16(208): 36-42.
สาหร่ายสไปรูลิน่าหรือสาหร่ายเกลียวทอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Spirulina Platensis คือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-Green Algae) เป็นสายพันธุ์ Platensis ถือเป็นสาหร่ายสายพันธุ์ที่ดีที่สุด เป็นแหล่งที่พบรงควัตถุสังเคราะห์แสงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเซลล์ทรงกระบอกหลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นเส้นสายตรงหรือขดเป็นเกลียว มี 2 สายพันธุ์ คือ Arthrospira Platensis พบในแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ ส่วน Arthrospira Maxima พบได้เฉพาะในอเมริกากลาง โดยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ได้แก่ หิน ดิน ทะเลทราย น้ำพุร้อน น้ำจืด น้ำทะเล และมีการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเสริม
สาหร่ายสไนรูลิน่าจัดเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีนปริมาณสูงถึงร้อยละ 50-70 ของน้ำหนักแห้ง คาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 12-20 วิตามินและแร่ธาตุสูงหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1, บี 2, บี 3, บี 6, บี 9 (Folic Acid) และบี 12 วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินเอ วิตามินอี แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม รวมทั้งมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอาหารจำพวกพฤกษเคมีหรือไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) อันได้แก่ คลอโรฟิลล์-เอ (Chlorophyll-A) คาโรทีนอยด์ (Carotenoids) ชนิดMyxoxanthophyll, Zeaxanthin ไฟโคไซยานิน (Phycocyamin) อัลโลไฟโคไซยานิน (Allophycocyanin) โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่หลายพันธะ คือกรดแกมม่า-ลิโนเลนิก หรือGLA (Gamma-Linolenic Acid), Eicosapentaenoic Acid (EPA) และ Docosahexaenoic Acid (DHA) เป็นต้น (มารศรี เรืองจิตชัชวาล; พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์ )
ประโยชน์ของสาหร่ายสไปรูลิน่า
1. เสริมสร้างความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ในสาหร่ายสไปรูลิน่า ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญสองชนิด คือ สารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) และโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งจะกระตุ้นการสร้างและเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ช่วยในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เพราะอุดมด้วยธาตุเหล็ก และโฟลิกแอซิค
2. ปรับสมดุลระบบขับถ่าย สาหร่ายสไปรูลิน่า จัดเป็น Dietary fiber ช่วยปรับสมดุลของระบบขับถ่าย และบรรเทาอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี
3. บำรุงระบบประสาท สาหร่ายสไปรูลิน่า อุดมไปด้วยกลุ่มวิตามินบีต่าง ๆ เช่น วิตามินบี 1, บี 2, บี 6, และบี 12 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ และโรคที่เกี่ยวกับปลายประสาทอักเสบได้
4. ป้องกันโรคไขมันในเลือดสูง สาหร่ายสไปรูลิน่ามีกรดแกมม่า-ลิโนเลนิก (GLA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นของร่างกาย มีบทบาทในการลดปริมาณของคลอเรสเตอรอลในเลือดได้ ช่วยลดไขมันร้าย (LDL) และเพิ่มระดับไขมันดี (HDL)
5. บำรุงสายตา สาหร่ายสไปรูลีน่ายังอุดมไปด้วยสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ให้วิตามินเอ จึงมีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตา ป้องกันโรคจอประสาทตา และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตาได้
6. เป็นแหล่งที่ให้ปริมาณโปรตีนสูงถึง 50-70 % อุดมด้วยกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด ล้วนมีประโยชน์มากมาย ดังนี้
6.1 ไอโซลิวซีน (Isoleucine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ที่เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและการทำงานของระบบประสาท รวมไปถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ตับทำงานในการขจัดสารพิษได้ดีขึ้น การผลิตฮีโมโกลบิน และการควบคุมพลังงาน
6.2 ลิวซีน (Leucine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เช่น กระดูก ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
6.3 ไลซีน (Lysine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ที่ช่วยในการสร้างโปรตีนทุกชนิดในร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและการสร้างกระดูกในวัยเด็ก ช่วยการดูดซึมแคลเซียมและคงความสมดุลของไนโตรเจนในวัยผู้ใหญ่ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน และเอนไซม์ ช่วยในการสร้างคลอลาเจนและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุน
6.4 เมทไทโอนีน (Methionine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ การดูดซึมสังกะสี ซีลีเนียม และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในการย่อยสลายไขมัน ป้องกันการสะสมของไขมันในตับ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับอ่อน จึงช่วยแก้ปัญหาระบบการย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งเป็นสารต้านฮีสตามีนจึงช่วยลดอาการแพ้ต่าง ๆ ยับยั้งการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ฮีสตามีนและสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ
6.5 เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ช่วยให้มีความทรงจำดี เพิ่มความตื่นตัวและความกระฉับกระเฉง รวมไปถึงการผลิตพลังงาน และรักษาสมดุลไนโตรเจนในเลือด
6.6 ทริพโตเฟน (Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ซึ่งสมองสามารถนำไปใช้เมื่อรวมเข้ากับ วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 และแมกนีเซียม ในการไปสร้างสารเซโรโทนิน (Serotonin) หรือสารสื่อประสาทที่ทำงานด้านการสื่อสารภายในสมอง เป็นหนึ่งในสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนอนหลับของร่างกาย ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการนอนหลับอย่างสนิท และทริปโตเฟนยังทำงานร่วมกับกรดโฟลิกและธาตุเหล็กในการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
6.7 วาลีน (Valine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ สมรรถนะของสมองและการประสานงานกันของกล้ามเนื้อรวมไปถึงการผลิตพลังงาน และรักษาสมดุลไนโตรเจนในเลือด
6.8 ทรีโอนีน (Threonoine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น มีส่วนช่วยในการป้องกันการสร้างไขมันในเลือด ช่วยให้เอนไซม์ในระบบย่อยอาหารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเผาผลาญอาหารในร่างกายและยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมอาหารและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
สาหร่ายสไปรูลิน่าจึงเป็นอาหารที่มากด้วยคุณค่า โดยสหประชาชาติได้ยกย่องว่าเป็นอาหารเสริมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในศตวรรษที่ 21 และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ศึกษาวิจัยลงความเห็นสรุปได้ว่า “มีคุณสมบัติในการสร้างความสมดุล เพิ่มความต้านทาน และป้องกันการเกิดเชื้อโรคในร่างกาย” ทั้งนี้ควรรับประทานจากแหล่งที่ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับรองมาตรฐาน
ขอบคุณข้อมูลจาก
ผศ.ดร. มารศรี เรืองจิตชัชวาล สายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, แหล่งที่มา : https://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue2/covers/spirulina.html
ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์. ศูนย์เครือข่ายข้อมูล อาหารครบวงจร, แหล่งที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1948/spirulina-สไปรูลิน่า
โสม (Ginseng) เป็นราชาสมุนไพรเก่าแก่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Panax Ginseng” ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายในด้านต่าง ๆ มายาวนานกว่า 2,000 ปี ซึ่งโดยทั่วไปเราอาจคุ้นเคยกับโสมเกาหลี หรือโสมจีนกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ตามธรรมชาติยังมีโสมอีกหลายชนิด เช่น โสมไซบีเรีย โสมญี่ปุ่น โสมอเมริกา เป็นต้น โดยสายพันธ์ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์กันจะมีอยู่ 2 สายพันธ์คือ โสมอเมริกา (Panax Quinquefolius) และโสมเอเชีย (Panax ginseng) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด แบ่งตามอายุของการนำมาสกัดเป็นสารบำรุงสุขภาพ ได้แก่
- โสมสด มักเก็บเกี่ยวโสมที่มีอายุไม่เกิน 4 ปี
- โสมขาว คือ การนำรากโสมที่มีอายุตั้งแต่ 4-6 ปี มาล้างสะอาดแล้วมาตากแดดหรืออบให้แห้งทันที
- โสมแดง คือ การนำรากโสมที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มาตัดเฉพาะส่วนที่ดี ๆ มาล้างให้สะอาด แล้วนำมาอบด้วยไอน้ำประมาณ 120-130 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 2-4 ชั่วโมง จนเป็นสีน้ำตาลแดง
สรรพคุณทางยาในทางการแพทย์แผนโบราณของโสมอเมริกา (Panax Quinquefolius) มีต้นกำเนิดจากทวีปอเมริกาเหนือ ถูกจัดให้เป็นยาเย็นหรือยาที่ช่วยเสริมธาตุ “หยิน” ให้กับร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายอยู่ในภาวะสงบ มีสมาธิ และบำรุงร่างกาย ส่วนโสมเอเชีย (Panax ginseng) มีแหล่งปลูกสำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เกาหลีใต้ และเกาหลีเหนือ ถูกจัดเป็นยาร้อนหรือยาที่เสริมธาตุ “หยาง” ช่วยเรื่องการบำรุงร่างกายให้มีพลังและมีแรงในร่างกาย (Chen, Chiou & Zhang, 2008) โดยสายพันธุ์เอเชียที่นิยมและมีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “โสมเกาหลี”
โสมเกาหลี มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนเหนือและประเทศเกาหลี จัดเป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี ลำต้นฉ่ำน้ำ และมีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและตั้งตรง มีรากเก็บสะสมอาหารลักษณะพองโต แยกเป็นง่าม นิยมเก็บรากมาใช้เป็นยา รวมถึงอาหารเสริมได้เมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี โดยศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนได้นำโสมมาเป็นส่วนผสมหลักเพื่อบำรุงร่างกายหรือรักษาโรค ประกอบด้วยสารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาสำคัญคือ จินเซนโนไซด์ (Ginsenosides) หรือพาแน็กโซไซด์ (Panaxosides) และอแดปโตเจน (Adaptogens) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
1. เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ โดยมีสารอแดปโตเจน (Adaptogens) ช่วยให้เซลล์ทั่วร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น เป็นผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และสร้างโปรตีนอินเตอร์เลนคิน-วัน (Interlenkin-1) เป็นผลทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็งได้ดี นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า จินเซ็นโนไซด์ในกลุ่มโครงสร้าง Protopanaxatriol (PPT) มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการ ทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (Macrophage) รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Natural killer cell และเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) ทั้ง B cells และ T cells (Sun, et al., 2007)
2. ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
สารออกฤทธิ์ในโสม อันได้แก่ จินเซนโนไซด์ (Ginsenosides) เปปไทด์ (Peptide) โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) เป็นต้น ล้วนเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็ง โดยมีกลไกการต้านมะเร็งที่สำคัญ ได้แก่ หยุดวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็ง หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งโดยเฉพาะในระยะส่งเสริม (Promotion Phase) และระยะก้าวหน้า (Progression Phase) เป็นต้น นอกจากนี้ในโสมยังมีสารซาโปนิน (Saponin) ที่อาจช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและเพิ่มการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด
3. ช่วยลดเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
โดยช่วยให้ต่อมในตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ginsenoside Rb และ ginsenoside Rc ยังออกฤทธิ์คล้ายกับอินซูลิน จึงมีประโยชน์ในการช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินจากภายนอกเพื่อรักษาคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ โดยต้องรับประทานโสมวันละ 2.7 กรัม ติดต่อกัน 3 เดือน
4. บำรุงสมองและประสาท
สารจินเซนโนไซด์ Rb1 ในโสมจะช่วยส่งเสริมการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง และระบบประสาทส่วนกลางที่ ชื่อว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาท Cholinergic ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และจดจำ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการป้องกันเซลล์ประสาทของสมอง ส่วน hippocampus จากภาวะการขาดเลือด (Ischemic) ได้อีกด้วย (Attele, Wu, & Yuan, 1999; Aburaya, et al., 1997; Chen, Chiou, & Zhang, 2008) ส่วนจินเซ็นโนไซด์ Rg1 ส่งผลต่อสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (Serotonin) ที่เกี่ยวข้องกับการลดภาวะ ความเครียดเรื้อรังในสมองลดลง ส่งผลให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ผนังหลอดเลือด ยับยั้งการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น จินเซ็นโนไซด์ชนิด Rb1 และ Rg1 ร่วมกันออกฤทธิ์ต่อสมองและสารสื่อประสาท กลูตาเมท (Glutamate) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ และจดจำโดยทำให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลระหว่าง เซลล์ประสาทในสมองอย่างเต็มประสิทธิภาพ (Kang, Schini-Kerth, & Kim, 1995; Zhang, Qu, Liu, & Deng, 1990) นอกจากนี้ยังมีวิตามินเค (Vitamin K) ที่ช่วยป้องกันความเสื่อมของสมอง จากการทำงานของสารอนุมูลอิสระ (Oh, & Kim, 2016, pp. 4506-4515)
5. ชะลอความแก่
อนุมูลอิสระที่สลายตัวจากออกซิเจนจะเป็นตัวทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ ให้เสื่อมสลายลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ โดยโสมมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันเพื่อให้ร่างกายเกิดพลังงาน (เรียกว่า Lipid oxidation) จึงช่วยทำให้เนื้อเยื่อเสื่อมช้าลง
6. ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
สารสกัดจากโสมมีฤทธิ์ช่วยปรับสมดุลต่าง ๆ ของร่างกายหรืออแดปโตเจน (Adaptogen) ช่วยเสริม สมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพดี อีกทั้งช่วยลดความเครียดและชะลอวัยอีกด้วย ทั้งนี้เกิดจากการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากโสมที่มีผลต่อการทำงานต่อมใต้สมองชื่อว่า พิทูอิตารี และการช่วยให้เซลล์ในร่างกายนำออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคสไปใช้ได้มากขึ้น (Chen, Chiou & Zhang, 2008)
7. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
สารสกัดจากโสมช่วย กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดที่บริเวณอวัยวะเพศ จึงช่วยทำให้หลอดเลือดส่วนนั้นขยายตัว เนื่องจากงานวิจัยจาก PubMed Central พบว่า สารสกัดจากโสมช่วยเสริมสร้างการผลิตไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ช่วยรักษาสมดุล ซ่อมแซม และป้องกันดูแลทุก ๆ เซลล์ของระบบภายในร่างกาย ช่วยเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอดเลือดผ่อนคลาย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี ส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction)
จะเห็นได้ว่าโสมเกาหลีมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ เราควรรับประทานในปริมาณเพียงพอเหมาะสม หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดสารออกฤทธิ์ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อปรับสารสำคัญให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ปรับโครงสร้างฤทธิ์ร้อนเย็นให้สมดุล นอกจากนี้การรับประทานร่วมกับวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ จะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงและประสิทธิภาพในการบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี
ที่มา : https://www.healthline.com/nutrition/ginseng-benefits#TOC_TITLE_HDR_3 https://www.medicalnewstoday.com/articles/262982#side-effects
สุรพจน์ วงศ์ใหญ่. (2555). ผลทางเภสัชวิทยาของสารจินเซ็นโนไซด์ในโสมอเมริกาต่อสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 13(3): 90-94. Aburaya, J., Tanaka, J., Lim, J. H., Wen, T. C., Matsuda, N., Maeda, N., Peng, H., Ishihara, K., & Sakanaka, M. (1997). Protection of Ischemic hippocampal neurons by ginsenoside Rb1, a main ingredient of ginseng root, Ehime University School of Medicine, Japan. Neuroscience Research, 28: 191-200. Attele, A.S., Wu, J.A., & Yuan, C. S. (1999). Ginseng pharmacology multiple constituents and multiple actions. Biochemical Pharmacology, 58: 1685-1693. Chen, C.F., Chiou, W.F., & Zhang, J.T. (2008). Comparison of the pharmacological effects of Panax ginseng and Panax quinquefolium. Acta Pharmacologica Sinica, 29(9): 1103-1108. Oh, J., & Kim, JS. (2016). Compound K derived from ginseng: neuroprotection and cognitive protection. Natural Library of Medicine, 7(11): 4506-4515. Kang, S., Schini-Kerth, V., & Kim, N. (1995). Ginsenosides of the protopanaxatriol group cause endothelium-dependent relaxation in the rat aorta. Life Science, 56: 1577-86. Sun, K., Wang, C.S, Guo, J., Horie, Y., Fang, S.P., Wang, F., & Han, J. Y. (2007). Protective effects of ginsenoside Rb1, ginsenoside Rg1 and notoginsenoside R1 on lipopolysaccharide- induces microcirculatory disturbance in rat mesentery. Life Science, 81: 509-18. Zhang, J., Qu, Z., Liu, Y., & Deng, H. (1990). Preliminary study on antiamnesic mechanism of ginsenosides Rg1 and Rb1. Chinese Academy of Medical Sciences, Beijing, Chinese Medical Journal. 103(11): 932-938.
โรคไตเสื่อมเป็นโรคที่แพร่หลายมากในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคไต 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,500 - 2,000 บาท/ครั้ง หรือประมาณ 30,000 บาท/เดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือดหรือล้างไตผ่านหน้าท้องซึ่งเป็นค่าใช้ที่จ่ายสูง และเป็นที่น่าเสียดายว่า คนไทยประมาณ 8 ล้านคนนั้นมีเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อม จึงขาดโอกาสที่ดีในการที่จะได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่
ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไตจะเสื่อม
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสไตเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปคือ
1. ผู้ป่วยเบาหวาน
2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
3. ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคใดโรคหนึ่งหรือหลายโรคเป็นเวลานาน ๆ
4. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเสื่อม
5. ผู้ป่วยในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง
6. ผู้ป่วยที่ผ่านการให้เคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง
7. ผู้ป่วยที่ชอบรับประทานอาหารที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
8. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด
9. ผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานหรือมีภาวะอารมณ์เครียด
10. ผู้ที่เข้าสู่ภาวะสูงวัย
11. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง หรือเส้นเลือดบริเวณอื่นตีบตัน
12. ผู้ป่วยที่มีโรคนิ่วหรือติดเชื้อทางเดินปีสสาวะเป็นประจำ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจสภาพการทำงานของไตด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ (lab) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่ามีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อจะได้มีโอกาสฟื้นฟูไตให้กลับมามีสภาพปกติได้
อาการใดบ้างที่แสดงว่าอาจมีภาวะไตเสื่อม
ผู้ที่ไตเสื่อมจนมีอาการผิดปกติแสดงออกให้สังเกตได้จะเป็นผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะท้าย ๆ แล้วอาการที่พบได้บ่อย ๆ เช่น
1. ปัสสาวะมีฟองมาก เกิดจากมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมากทำให้ปีสสาวะเหนียวข้นจึงเกิดฟองเมื่อปัสสาวะลงในน้ำ
2. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เนื่องจากหน่วยกรองปัสสาวะในไตเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถกรองน้ำปีสสาวะได้ตามปกติ ปัสสาวะจึงลดปริมาณลดลง
3. มีอาการบวมตามขา หรือตามส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ใบหน้า หนังตาบน ถ้ามีอาการมากอาจบวมทั้งตัวผู้ป่วยในภาวะเช่นนี้ต้องเฝ้าระวังภาวะน้ำท่วมปอดเพราะเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
อาการบวมเกิดจากระดับโปรตีนอัลบูมิน (albumin) ในเลือดลดลง เพราะโปรตีนอัลนูมินรั่วออกมาในปัสาวะ เนื่องจากไตไม่สามารถดูดชับโปรตีนอัลบูมินจากปัสสาวะกลับเข้าสู่กระแสเลือดได้หมด จึงทำให้มีโปรตีนอัลบูมินบางส่วนรั่วปนออกมากับปัสสาวะ ทำให้ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดลงลง
4. มีอาการโลหิตจาง สามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีผิวที่ซีดลงกว่าเดิม เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง สาเหตุที่เม็ดเลือดแดงลดลง เพราะเมื่อไตเสื่อมสภาพลงจะทำให้ไตสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินได้น้อยลงฮอร์โมนชนิดนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าปริมาณฮอร์โมนลดลงเม็ดเลือดแดงในเลือด ก็ลดลงตามไปด้วย
5. มีผิวหนังแข็ง ดำคล้ำ และคัน อาการนี้เกิดจากมีภาวะระดับธาตุฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้ ธาตุนี้ไปสะสมที่ผิวหนังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนัง ทำให้แข็งขาดความยืดหยุ่น สีผิวเปลี่ยนเป็น ดำคล้ำ และผิวจะแห้งผิดปกติทำให้เกิดอาการคันตามมา
6. มีอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย เกิดจากร่างกายขาดสมดุลของสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ เพราะไตไม่สามารถปรับสมดุลสารต่าง ๆ เหล่านี้ได้ นอกจากนี้อาการเหนื่อยง่ายยังเกิดจากภาวะโลหิตจางจากการขาดเม็ดเลือดแดงอีกด้วย
7. มีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร เนื่องจากของเสียสะสมอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง โดยเฉพาะของเสียที่เกิดจากย่อยสลายและเผาผลาญสารประกอบโปรตีน ซึ่งทำให้เกิดการคั่งค้างของยูเรียในกระแสเลือดจำนวนมาก จึงเกิดอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร
ผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการแสดงออกมา จนกว่าจะมีความผิดปกติทั้งหมดทุกข้อ ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยที่สูญเสียหน่วยกรองปัสสาวะในไตไปเป็นจำนวนมากแล้ว การฟื้นการทำงานของไตจะช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติทั้งหมด หากมีการดูแลพื้นฟูอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้โดยยังไม่ต้องเข้าสู่การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดด้วยการล้างช่องท้อง
การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาภาวะไตเสื่อมในระยะเริ่มแรก
การตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มทำได้โดยง่าย ปัจจุบันนี้มีเทคนิคในการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะ ไตเสื่อมได้โดยละเอียดมีหลายวิธี โดยแนะนำวิธีง่ายๆ เสียค่าใช้จ่ายน้อยและผลก็ถูกต้องแม่นยำดีมาก ด้วยการตรวจหาค่าของเสียที่สะสมอยู่ในเลือด 2 ชนิด คือ
1. BUN (Blood Urea Nitrogen) อ่านว่า “บียูเย็น” เป็นการตรวจหาระดับของเสีย คือยูเรียในเลือดจากการย่อยสลายและเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย จนเกิดของเสียขึ้นมาเป็น “แอมโมเนีย” สุดท้ายตับจะเปลี่ยน “แอมโมเนีย” ให้กลายเป็น “ยูเรีย”
ถ้าไตทำงานได้ดีระดับของเสีย “ยูเรีย” ในเลือดจะตรวจพบไม่เกิน 25 mg% แต่ถ้าตรวจพบค่า “ยูเรีย ในเลือด หรือ BUN” เกินกว่า 25 m% จะเป็นข้อบ่งขี้ข้อหนึ่งว่าภาวะไตเสื่อมกำลังเริ่มต้นแล้ว
2. CR (Creatinine) อ่านว่า “ครีเอทินีน” เป็นของเสียที่มาจากกล้ามเนื้อ มีค่าค่อนข้างคงที่ โดยปกติ ไตจะขับครีเอทีนีนออกมากับน้ำปัสสาวะ ทำให้ระดับครีเอทินีนในเลือดมีค่าไม่สูงเกินกว่า 125 mg% ดังนั้นหากพบค่าครีเอทินีนในเลือดสูงเกินกว่า 125 mg% ประเมินเบื้องต้นได้ว่าไตกำลังเข้าสู่ภาวะเสื่อม
เนื่องจาก “ค่าครีเอทินีน” มีความแม่นยำในการบอกภาวะไตเสื่อมได้ดีกว่า “ค่าบียูเอ็น” เพราะมาจากของเสียที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณโปรตีนในอาหารเหมือนกับค่าบียูเอ็น จึงสามารถนำเอาค่าครีเอทินีนมาคำนวณหาค่าอัตราที่เลือดไหลผ่านไต (glomerular filtration rate) ตัวย่อคือ GFR ได้โดยคำนึงถึงน้ำหนัก อายุ เพศและเชื้อชาติ ค่า GFR ยิ่งสูง แสดงว่าเลือดยิ่งไหลผ่านไตมาก ประสิทธิภาพในการกรองของเสียทิ้งจะสูงตามไปด้วย
3. การจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อมด้วยค่า GFR
แบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ดังตารางการจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อม. ด้วยค่า GFR (glomerular filtration rate) ต่อไปนี้
ระดับ |
ค่า GFR (มล./นาที) |
สภาวะของไต |
ปริมาณเลือดไหลผ่านไต |
ระดับ 1 |
มากกว่า 90 มล./นาที |
ไตทำงานได้ตามปกติ |
ผ่านไตมากกว่า 90 มล./นาที |
ระดับ 2 |
ระหว่าง 60-90 มล./นาที |
ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 2 |
ผ่านไต 60-90 มล./นาที |
ระดับ 3 |
ระหว่าง 30-59 มล./นาที |
ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 3 |
ผ่านไต 30-59 มล./นาที |
ระดับ 4 |
ระหว่าง 15-29 มล./นาที |
ไตเสื่อมในระดับที่ 4 |
ผ่านไต 15-29 มล./นาที |
ระดับ 5 |
น้อยกว่า 15 มล./นาที |
ไตเสื่อมในระดับที่ 5 หรือระดับที่ต้องพึ่งพาการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
ผ่านไตน้อยกว่า15 มล./นาที |
4. การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม
การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำโดยการตรวจหาค่าโปรตีนในปัสสาวะที่ได้จากการเก็บปัสสาวะในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าปริมาณมากกว่า 150 มก./วัน แสดงถึงว่าไตเริ่มทำงานผิดปกติ
การตรวจให้แน่ชัดขึ้นอีกจะเป็นการตรวจหาโปรตีนเฉพาะชนิดคือ “อัลบูมิน” เรียกว่า “ไมโครอัลบูมิน” (micro albuminuria)” หากมีค่ามากกว่า 30 มก/วัน แสดงว่าไตเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว
การตรวจคัดกรองเพื่อหาผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม จะอาศัยการตรวจง่ายสะดวกรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยมากคือ การตรวจหาค่าครีเอทินีนในเลือด ต้องมีค่าไม่เกิน 1.25 mg% ค่าบียูเอ็นในเลือดต้องมีค่า ไม่เกิน 25 mg% และค่าโปรตีนในปัสสาวะต้องไม่พบโปรตีนในปัสสาวะเลย เพียงใช้เวลาในการตรวจไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็จะทราบแล้วว่าเรามีภาวะไตเสื่อมหรือไม่
จะเห็นได้ว่าการตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำได้ง่ายมาก สะดวกรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ส่วนคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องเข้าถึงบริการตรวจสุขภาพไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งถ้าได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้องตามหลักธรรมชาติ เราก็สามารถมีไตคุณภาพดีใช้งานได้ตลอดชีวิต อีกทั้งอวัยวะทุกส่วนในร่างกายจะได้รับการฟื้นฟูไปพร้อมกับการฟื้นฟูไตด้วย
ภาวะไตเสื่อม ถือเป็นโรค NCDs ที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงมาก ในปี พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่า มีผู้ป่วยภาวะไตเสื่อมมากกว่า 12 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 17 ของประชากร ความน่ากลัวของภาวะนี้ คือ ภาวะความเสื่อมจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา เมื่อภาวะความเสื่อมเข้าสู่ระดับ 5 เรียกภาวะนี้ว่า ไตวาย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดทางหน้าท้อง ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตในเวลาต่อมา
การทำงานของไต ในการขับของเสียออกมากับปัสสาวะ เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจ (Descending Aorta) ส่งเลือดผ่านเข้าไตทั้ง 2 ข้างทางหลอดเลือดแดงไต (Renal Artery) และหลอดเลือดแดงไตแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงฝอย ประมาณ 1 ล้านหน่วย ในหน่วยไต (nephron) และเลือดจะไหลกลับทางหลอดเลือดดำฝอยในหน่วยไต (nephron) ทำให้เกิดการขับน้ำปัสสาวะออกทางท่อเล็ก ๆ ในหน่วยใต (nephron) เรียกท่อเล็ก ๆ นี้ว่า "tubule" จากหน่วยไต (nephron) ที่มีจำนวนข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย จะเกิดการรวบรวมน้ำปัสสาวะที่กรวยไต (Pelvis of Kidney) แล้วขับออกทางท่อปัสสาวะจากไต (Ureter) ลงสู่กระเพาะปัสสาวะ
ไตของเรามีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบด้วยหน้าที่หลักคือ
1. กรองของเสียจากในเลือดแล้วขับถ่ายออกมากับน้ำปัสสาวะ
ของเสียหลักที่ไตขับทิ้งคือ “ยูเรีย” ซึ่งได้จากการที่ร่างกายย่อยสลายโปรตีน แล้วเกิดสารแอมโมเนีย (Ammonia) แอมโมเนียมีพิษต่อร่างกายสูงมาก ตับจะรีบจัดการเปลี่ยนแอมโมเนียในเลือดให้เป็นยูเรีย ซึ่งมีพิษต่อร่างกายลดลง ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจะเป็นภาระหนักทั้งของตับและไต เพราะตับต้องเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นยูเรีย และไตต้องคอยขับยูเรียออกมากับปัสสาวะ ส่วนผู้ป่วยโรคไตเสื่อมต้องลดปริมาณการรับประทานโปรตีนลงเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักและเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
2. ปรับสมดุลน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เมื่อเราดื่มน้ำมากเกินกว่าที่ร่างกายเราต้องใช้ ไตก็จะขับปัสสาวะออกมามากขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าเรารับประทานน้ำน้อยเกินไป ไตจะขับปัสสาวะลดลงเพื่อรักษาน้ำไว้ในร่างกายให้เพียงพอต่อความจำเป็นที่ต้องการใช้ การทำหน้าที่ปรับปริมาณน้ำในร่างกายให้เหมาะสม ไตต้องทำงานร่วมกับต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ที่ผลิตฮอร์โมนซึ่งคอยควบคุมการขับน้ำจากร่างกาย
3. ปรับสมดุลกรดและด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เลือดของคนเราควรมี “ค่าความเป็นกรดและด่าง” หรือค่าพีเอช (pH-Potential Hydrogen) ที่เหมาะสมอยู่ที่ 7.4 เพราะจะทำให้การทำงานของเซลล์ทุกเซลล์มีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าเลือดมีความเป็นกรดสูงเกินไป ไตจะขับกรดออกมากับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเลือดมีความเป็นด่างมากเกินไป ไตจะลดการขับกรดลง การควบคุมระดับความเป็นกรดและด่างในเลือด ไตต้องทำงานร่วมกับปอดด้วย
4. ปรับสมดุลของเกลือแร่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เกลือแร่ที่ไตต้องคอยปรับระดับให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ก็คือ โซเดียม โพแทสเชียม คลอไรด์ ฟอสฟอรัส และแคลเชียม ส่วนที่ทำหน้าที่ปรับสมดุลเกลือแร่ของไต คือส่วนที่เรียกว่า “ท่อไต (Renal Tubule)”
5. ปรับปริมาณเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ไตมีกลไกการควบคุมให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดงมากหรือน้อย ด้วยการผลิตฮอร์โมนชื่อ อีริโทรพอยอีติน (Erythropoietin) จากเซลล์ในเนื้อเยื่อของไตที่เรียกว่า อินเตอร์สติเชียลทิสชู (Interstitial Tissue)
ถ้าต้องการให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงมาก ไตก็จะผลิตฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินออกมามาก ในสภาวะที่ไตเสื่อมสภาพจากโรคไตวายเรื้อรัง ไตจะผลิตฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินได้ลดลง ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงลดลง จึงทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อมมีเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดน้อย ที่เรานิยมเรียกว่า “ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง”
6. ผลิตฮอร์โมนและวิตามิน ได้แก่
6.1 ฮอร์โมนเรนิน (Renin)
ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตและการดูดซึมเกลือแร่ที่ไต เมื่อไตเสื่อมการผลิตฮอร์โมนเรนินและการดูดซึมเกลือแร่จะผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและสมดุลของเกลือแร่แปรปรวน
6.2 ฮอร์โมนอีริโทรพอยอีติน
ช่วยกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง เมื่อไตเสื่อมทำให้การผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ลดลงจึงเกิดภาวะซีดตามมา
6.3 วิตามินดี
ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร และช่วยเสริมสร้างกระดูก เมื่อไตเสื่อมการผลิตวิตามินดีก็ลดลง มีผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอ
ภาวะไตเสื่อม คือ การที่หน่วยไต (nephron) มีการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงฝอย หรือหลอดเลือดดำฝอยในหน่วยไต (nephron) ทำให้เลือดไหลผ่านไตได้น้อยลง (ค่า eGFR ลดลง) การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดเหล่านี้มีสาเหตุหลายประการ
1. ความชราทำให้ไตเสื่อม
เมื่อเราอายุมากขึ้น จำนวนหน่วยกรองปัสสาวะในไตจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงตามธรรมชาติ หากเรารู้จักเลือกรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ นอกจากจะช่วยให้การเสื่อมสภาพของไตเกิดขึ้นช้าลง ยังช่วยในการฟื้นฟูไตอีกด้วย ทั้งยังเป็นการลดภาระการทำงานของไตลง
2. โรคเบาหวานทำให้ไตเสื่อม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ไตเสื่อมคือ โรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมากเท่าไร ไตจะเสื่อมเร็วและเสื่อมรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากน้ำตาลระดับสูงในเลือดจะก่อให้เกิดการอักเสบในเซลล์ ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งเซลล์ของผนังเส้นเลือดด้วย เมื่อเกิดการอักเสบก็จะเกิดการเสื่อมสภาพตามมา
หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุม “ระดับน้ำตาลที่ได้จากการเจาะเลือด” และ “ค่าน้ำตาลสะสม” หรือ HbA1c-Hemoglobin A1c ได้ดีจาก “การควบคุมอาหาร” ไตของท่านก็จะหยุดเสื่อมจากโรคเบาหวาน สาเหตุรองลงมาคือ ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาเบาหวาน เพราะสารเคมีที่ใช้ทำยาทุกชนิดต้องถูกขับทิ้งออกทางไต การรับประทานเป็นเวลานานจึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ไตมีโอกาสเสื่อมจากยา ส่วนการฉีดยาเบาหวานไม่ทำให้ไตเสื่อม
3. โรคความดันโลหิตสูงทำให้ไตเสื่อม เป็นสาเหตุที่พบบ่อยรองลงมาจากโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตที่สูงมากจะทำให้เส้นเลือดในหน่วยกรองปัสสาวะในไต ซึ่งมีขนาดเล็กมากและบอบบางมาก เกิดความเสียหายและเสื่อมสภาพได้ง่าย ในขณะเดียวกันไตยิ่งเสื่อมมากเท่าไร เส้นเลือดในไตที่เสื่อมจะยิ่งไปขัดขวางไม่ให้เลือดไหลผ่านไตได้สะดวก ก็จะยิ่งไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นอีก เรียกได้ว่าเป็น “วงจรแห่งความเสื่อม” นอกจากนี้ยาควบคุมความดันโลหิต ก็มีผลข้างเคียงทำให้ไตเสื่อม เช่นเดียวกับยาควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือด
ความดันโลหิตในคนเรา ปกติควรมีค่าตัวบนขณะที่หัวใจบีบตัว (Systolic) ไม่เกิน 140 มม.ปรอท (mmHg) และควรมีค่าตัวล่างขณะที่หัวใจคลายตัว (Diastolic) ไม่เกิน 90 มม.ปรอท ถ้าควบคุมได้ในระดับดังกล่าวจะไม่ทำให้ไตเสื่อม
4. โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองทำให้ไตเสื่อม
ผู้ที่ไตเสื่อมจากภูมิคุ้มกันกลับมาทำร้ายไตตัวเอง มักพบได้ตั้งอายุยังไม่มาก บางรายไตเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 ปี หรือบางรายก็อาจเป็นในตอนสูงอายุก็ได้
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่กลับมาทำร้ายร่างกายเรา แทนที่จะคอยป้องกันโรคให้กับเรา เช่น เอสแอลอี (SLE) รูมาตอยด์ สะเก็ดเงิน หนังแข็ง เบาหวานชนิดที่ 1 ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเหล่านี้มากขึ้นกว่าในอดีตมาก สาเหตุสำคัญในการเกิดโรคเหล่านี้มาจากความเครียด การรับประทานผิดกฎธรรมชาติ และการใช้ชีวิตที่ผิดธรรมชาติ
5. โรคพันธุกรรมทำให้ไตเสื่อม
โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ไตเสื่อมมีหลายประเภท บางชนิดเกิดจากขนาดไตเล็กกว่าปกติ บางชนิดมีถุงน้ำจำนวนมากอยู่ในไต บางคนเกิดมาอาจมีไตเพียงข้างเดียว ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวข้างต้นมาตั้งแต่แรกเกิด ไตจะทำงานหนักกว่าคนปกติทั่วไปมาตังแต่เด็ก เพราะว่าจำนวนหน่วยกรองปัสสาวะในไตจะมีจำนวนน้อยกว่าคนทั่วไป จึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายและไตตั้งแต่วัยเด็ก หากดูแลไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง ไตก็จะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุยังไม่มาก หลักการในการดูแลจะเป็นหลักการเดียวกันกับไตเสื่อมจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง
6. ผู้ที่มีไตเพียงข้างเดียวทำให้ไตที่เหลือเสื่อมได้ง่าย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ที่มีไตปกติมาแต่กำเนิด แต่เหลือไตข้างเดียวในเวลาต่อมาก็คือ การบริจาคไตให้กับญาติ การเกิดอุบัติเหตุทำให้ต้องตัดไตทิ้ง ผู้ที่มีมะเร็งเกิดขึ้นที่ไตและแพทย์ได้ผ่าตัดไตข้างที่เกิดมะเร็งออกไป แนวทางการรักษาผู้ที่ไตเสื่อมด้วยสาเหตุนี้ ยังคงใช้แนวทางเดียวกับผู้ที่ไตเสื่อมจากสาเหตุโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองทำให้ไตเสื่อม และโรคพันธุกรรมทำให้ไตเสื่อม
7. การขาดเลือดมาเลี้ยงไตเนื่องจากโรค หรือภาวะบางประการทำให้ไตเสื่อม
มีสาเหตุบางประการที่ทำให้เลือดมาเลี้ยงไตน้อยกว่าปกติ เช่น การเสียเลือดเป็นจำนวนมาก การขาดน้ำในร่างกาย การติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง จึงทำให้ไตเสื่อมสภาพแบบเฉียบพลัน หากสาเหตุนี้คงอยู่ต่อเนื่องนานจะทำให้ไตเสื่อมสภาพแบบถาวรได้ สำหรับผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เส้นเลือดที่มาที่ไตตีบตันเช่นเดียวกัน
8. การรับประทานโปรตีนเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม
ปัจจุบันนี้รูปแบบของอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม คนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม ถั่ว และเห็ดต่าง ๆ ถ้ารับประทานมากจนเกินไป ไตจะต้องทำงานหนักเพื่อขับของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนและการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย
อาหารโปรตีนสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราไตเสื่อมมากกว่าอาหารที่มีเกลือสูง โดยทั่วไปเมื่อไตเสื่อม คนส่วนใหญ่ก็จะหยุดรับประทานเค็ม แต่ไม่ลดการรับประทานอาหารโปรตีนสูงลง ซึ่งจะไม่ทำให้ไตของผู้ป่วยดีขึ้นแต่อย่างใดเลย
9. การรับประทานเกลือเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม
การรับประทานเกลือมากเกินไปทำให้เป็นภาระให้ไตต้องขับทิ้งมากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากการหยุดรับประทานเกลืออาจทำให้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงในเลือดต่ำมากจนถึงระดับอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมโดยละเอียด
10. การได้รับสารพิษและสารเคมีทำให้ไตเสื่อม
รูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคปัจจุบันนี้ ทำให้คนเราได้รับสารเคมีเป็นจำนวนมาก ทั้งจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อนมากับอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งยารักษาโรคต่าง ๆ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ ไตต้องทำงานหนัก ไตอ่อนแอลงจนเสื่อมสภาพในที่สุด นอกจากนั้นความเครียดจากการทำงาน หรือความเครียดจากความคิดและอารมณ์ ก็มีส่วนทำให้เกิดสารพิษขึ้นในร่างกายส่งผลเสียทำให้ไตเข้าสู่ภาวะเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น
11. เคมีบำบัด
เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ทำให้หลอดเลือดที่ไตและร่างกายส่วนอื่น ๆ เสื่อม
12. มีภาวะฉุกเฉินที่ทำให้ความดันโลหิตตกลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง (ภาวะ Shock) จนทำให้เลือดไหลผ่านไตน้อยลงอย่างเฉียบพลัน เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียนรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเกิดภาวะช็อก จะทำให้หลอดเลือดในหน่วยไต (nephron) ได้รับความเสียหาย
13. มีภาวะนิ่วไปอุดตันทางเดินปัสสาวะบางส่วน ทำให้เกิดแรงดันตีกลับไปที่ไตทำให้ไตพองตัว หน่วยไตได้รับความเสียหาย
14. มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แล้วลุกลามเข้าไปในไตจนเกิดความเสียหายต่อหน่วยไต (nephron)
สาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นสามารถป้องกันได้ หากเราเริ่มลงมือป้องกันไตเสื่อมตั้งแต่ไตยังมีคุณภาพดี เราจะมีไตที่มีคุณภาพดีไว้ใช้งานได้ตลอดชีวิต หากท่านเริ่มรู้ตัวว่าไตเสื่อม การเริ่มดูแลตนเองและฟื้นฟูโดยเร็วที่สุดโดยปฏิบัติอย่างถูกต้องทุกประการ ไตของเราจะสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติดังเดิม แม้ว่าเราต้องฟอกไตแล้วก็ตาม
เรื่อง “ภาวะไตเสื่อมก่อให้เกิดอันตรายกับเราอย่างไรบ้าง”
ภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม เราจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติแต่อย่างใด แต่จะเริ่มรู้สึกได้เมื่อไตมีการสูญเสียหน่วยกรองของเสีย หรือ "เนฟรอน" (nephron) ไปมากกว่า 70% ดังนั้นหากเราไม่ตรวจสภาพการทำงานของไตเป็นประจำทุกปี เราจะขาดโอกาสค้นพบว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มไปอย่างน่าเสียดาย ส่งผลให้เกิดอันตรายจากภาวะไตเสื่อมที่พบได้บ่อยดังนี้
1. ภาวะโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำจนมีอาการน้ำท่วมปอด
เมื่อระดับโปรตีนอัลบูมิน (albumin) ในเลือดต่ำกว่า 35mg% แรกเริ่มจะมีอาการบวมที่เท้า หากลดต่อไปอีกจนต่ำกว่า 30mg% จะพบอาการบวมได้ทั่วตัวและใบหน้า ลำตัวอาจจะมีน้ำในช่องท้อง อันตรายสูงสุดคือมีภาวะน้ำท่วมปอด ซึ่งเกิดจากโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำมากจนน้ำจากเส้นเลือดฝอยในปอดซึมออกจากเส้นเลือดเข้าไปในถุงลมปอดทำให้ผู้ป่วยขาดอากาศจนเสียชีวิตได้
สาเหตุที่โปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำมีดังต่อไปนี้
1) ผู้ป่วยไตเสื่อมจะสูญเสียโปรตีนอัลบูมินออกไปกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำลง
ผู้ป่วยสามารถตรวจเช็คความรุนแรงในการสูญเสียโปรตีนอัลบูมินได้จากการตรวจปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
2) การรับประทานโปรตีนที่ไม่สมดุล ผู้ป่วยไตเสื่อมอาจเกิดอาการบวมจากการขาดโปรตีน หรือไตเสื่อมเพิ่มมากขึ้นจากการรับประทานโปรตีนมากเกินไป
3) ตับเสื่อมสภาพจนผลิตโปรตีนอัลบูมินลดลง ผู้ป่วยไตเสื่อมมักจะมีโรคต้นเหตุมาจากหลายโรคด้วยกัน เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ไขมันแทรกตับ โรคตับแข็ง โรคต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลง ทำให้การผลิตโปรตีนอัลบูมินจากตับลดลงไปด้วยจึงเป็นผลให้ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำกว่าปกติ
2. ภาวะหัวใจล้มเหลวจากโลหิตจาง
เมื่อร่างกายมีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในเลือดลงจากภาวะไตเสื่อม ร่างกายก็จะปรับตัวให้มีการหมุนเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น เพราะต้องให้เซลล์ในเนื้อเยื่อของอวัยวะต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่นำพาไปเลี้ยงด้วยเม็ดเลือดแดงมีจำนวนเพียงพอที่จะใช้งาน หากยิ่งภาวะโลหิตจางเกิดรุนแรงมากขึ้นเท่าไร การหมุนเวียนเลือดก็ต้องยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เป็นภาระของหัวใจในการสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้น หากภาระหนักเกินไปก็จะเกิดภาวะหัวใจวายทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
3. ภาวะของเสียจากโปรตีนสะสมในเลือดสูง
ผู้ป่วยไตเสื่อมนอกจากจะได้รับอันตรายจากภาวะโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ ภาวะโลหิตจางแล้ว ยังได้รับอันตรายจากภาวะที่ของเสียจากโปรตีนสะสมในเลือดสูงอีกด้วย ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยไตเสื่อมทุกคน
ความเป็นพิษจากของเสียที่ได้จากการย่อยสลายและเผาผลาญโปรตีนจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณที่สะสมอยู่ พิษในกลุ่มนี้จะเป็นสารพิษที่มีปริมาณสูงสุด และเกิดโทษกับร่างกายสูงสุดเช่นเดียวกัน หากปริมาณที่สะสมเกินกว่าระดับ 100 mg% ร่างกายจะเข้าสู่ที่เรียกว่า "ยูรีเมีย" (uremia) ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังต่อไปนี้
3.1 ระบบทางเดินหายใจ
เมื่อยูเรียมีปริมาณสูงมากจะทำให้เลือดมีภาวะความเป็นกรดสูง ร่างกายจะหอบหายใจเพื่อแก้ภาวะความเป็นกรด ลมหายใจมีกลิ่นยูเรีย (uremic fetor) มีการอักเสบในปอดและเยื่อหุ้มปอด เกิดภาวะน้ำท่วมปอดจากยูรีเมียได้ นอกจากนั้นภูมิคุ้มกันโรคยังต่ำลงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอดมากขึ้น
3.2 ระบบทางเดินอาหาร
มีการอักเสบในช่องปากจากการที่เอนไชม์ยูรีเอสเปลี่ยนยูเรียในน้ำลายให้เป็นแอมโมเนีย การรับรู้รสอาหารจะมีรสเฝื่อน อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ อาจมีเลือดออก ท้องผูกสลับกับท้องเดินอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน
3.3 ระบบโลหิต เกิดภาวะซีดจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง และเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นลงจากภาวะเลือดเป็นกรด มีภาวะเลือดออกง่ายจากการที่เกล็ดเลือดต่ำลง และภาวการณ์ขาดสารอาหารอีกหลายชนิด ทำให้ภาวะซีดและเกล็ดเลือดต่ำรุนแรงมากยิ่งขึ้น
3.4 ระบบประสาท ผลกระทบจากภาวะยูเรียกับระบบประสาท แบ่งออกเป็น
ระบบประสาทส่วนกลาง จะทวีความรุนแรงขึ้นตามระดับสารยูเรียที่สะสมในเลือด ตั้งแต่อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มือสั่น ง่วงซึม ขาดสมาธิ สับสน เพ้อ ชัก หมดสติ
ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรับความรู้สึก การรับความรู้สึกลดลง มีอาการแสบร้อนปลายเท้าและกดเจ็บตามมาด้วยความรู้สึกชา ในส่วนระบบประสาทสั่งการ กล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและต้นขาอ่อนแรง เหี่ยวลีบ การเดินเปลี่ยนไป เดินเท้าห่าง การทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริวในเวลากลางคืน
การมองเห็น มีอาการตาอักเสบ และระคายเคืองเนื่องจากมีแคลเซียมไปเกาะที่เยื่อบุตา มีการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพ มีการหนาตัวขึ้นทำให้การมองเห็นไม่ดี
4. ภาวะเสียสมดุลของแร่ธาตุในเลือด
สาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยไตเสื่อม คือ “การเสียสมดุลของแร่ธาตุในเลือด” แต่ส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตเฉียบพลันของผู้ป่วยไตเสื่อมเกิดจากภาวะหัวใจหยุดเต้น เมื่อเกิดภาวะไตเสื่อมจะทำให้เกิดการเสียสมดุลของระดับแร่ธาตุในเลือด มีทั้งขาดแร่ธาตุและแร่ธาตุเกิน มักเกิดกับแร่ธาตุที่สำคัญในร่างกายได้หลายชนิด ซึ่งเกิดอันตรายและอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามลำดับความรุนแรงดังนี้
4.1 ธาตุโพแทสเซียม (potassium)
เป็นธาตุประจุไฟฟ้าบวก ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญภายในเซลล์ต่าง ๆ ทั้งเชลล์กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเซลล์ประสาท ตับ กระดูก เม็ดเลือดแดง และเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ คอยควบคุมแรงดัน และภาวะกรด-ด่างภายในเชลล์ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับเมตาโบลิซึม (กระบวนการเผาผลาญอาหาร) ของคาร์โบไฮเดรทและโปรตีนภายในเซลล์ ค่าปกติในเลือดอยู่ที่ระดับ 35-55 mEq/L
ภาวะโพแทสเซียมสูง (hyperkalemia) สาเหตุพบได้บ่อยในกรณีมีเซลล์แตกทำลายในร่างกายในปริมาณมาก โดยเฉพาะการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง มีภาวะเลือดเป็นกรด ในผู้ป่วยไตเสื่อมพบในกรณีรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมมากเกินไป ในการตรวจวินิจฉัย จะพบระดับโพแทสเซียมในเลือดเกินกว่า 55 mEq/L ในระดับรุนแรงจะพบว่ามีค่าเกิน 7.0 mEq/L
อาการและอาการแสดง
- ระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ ท้องเดิน ลำไส้เคลื่อนไหวมาก อาเจียน กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นตะคริว
- ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจากที่ขาก่อนจะมาที่ลำตัว มีอาการกระตุก รู้สึกชาและซ่า ๆ
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด เริ่มด้วยหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที และต่อมาจะเต้นช้าลง และหยุดเต้นในเวลาต่อมา
ภาวะโพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia) สาเหตุพบได้บ่อยในกรณีสูญเสียโพแทสเชียมมากจากภาวะท้องเสีย อาเจียน รับประทานอาหารที่ขาดโพแทสเซียม ภาวะที่เลือดเป็นด่างอย่างแรง ในการตรวจวินิจฉัยจะพบระดับโพแทสเซียมในเลือดมีค่าต่ำกว่า 3.5 mEg/L
อาการและอาการแสดง
- ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เปลี้ยและเป็นตะคริว สมองเฉื่อยชา ซึม ง่วงนอน
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ชีพจรเบา ความดันโลหิตต่ำ
- ระบบหายใจ หายใจตื้น กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หยุดหายใจได้ในที่สุด
4.2 ธาตุโซเดียม (sodium)
เป็นธาตุประจุไฟฟ้าบวก ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญอยู่ในของเหลวภายนอกเซลล์ (ส่วนโพแทสเซียมเป็นธาตุสำคัญในของเหลวภายในเซลล์) มีหน้าที่ควบคุมความเข้มข้นและสมดุลของน้ำในเส้นเลือดและน้ำในระหว่างเซลล์ เป็นตัวนำกลูโคสผ่านเข้าผนังเซลล์ เป็นตัวนำกระแสประสาทสู่เส้นใยกล้ามเนื้อ ค่าปกติในเลือดอยู่ที่ระดับ 135-150 mEq/L
ภาวะโซเดียมสูง (hypernatremia) สาเหตุเกิดจากได้รับเกลือมากเกินไปสูญเสียน้ำในร่างกายจากไฟลวก สูญเสียน้ำจากปอดด้วยการหอบหายใจ ในการวินิจฉัยจะพบระดับโซเดียมในเลือดมีค่าเกินกว่า 150 mEq/L
อาการและอาการแสดง
กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ผิวหนังบวม แดงหายใจหอบเหนื่อย ปัสสาวะน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงความดันสูง หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ความคิดสับสน ชัก หมดสติ
ภาวะโซเดียมต่ำ (hyponatremia) สาเหตุเกิดจากการสูญเสียเกลือจากภาวะอาเจียน ท้องเสียเหงื่อออกมาก ได้รับยาขับปัสสาวะมากไป ดื่มน้ำมากเกินไป รับประทานเกลือน้อยเกินไป การตรวจวินิจฉัยจะพบระดับโซเดียมในเลือดมีค่าต่ำกว่า 135 mEq / L ถ้าต่ำกว่า 110 mEq/L จะเพ้อ คลั่ง ชัก หมดสติ
อาการและอาการแสดง
เวียนศีรษะ เวลายืนจะเป็นลม ความดันโลหิตท่านั่งและท่ายืนจะมากกว่าท่านอน ชีพจรมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที กล้ามเนื้อกระตุก กระสับกระส่าย เพ้อ เสียชีวิตจากภาวะสมอง บวมน้ำ
4.3 ธาตุคลอไรด์ (chloride)
เป็นธาตุประจุไฟฟ้าลบ มีมากที่สุดทั้งในเชลล์และนอกเซลล์ มีหน้าที่รักษาสมดุลของเกลือแร่ ซึ่งมีประจุไฟฟ้าบวกโดยรวมตัวอยู่ในรูปของ “โซเดียมคลอไรด์” “โพแทสเซียมคลอไรด์” “แคลเซียมคลอไรด์” ทำหน้าที่รักษาสมดุลน้ำและความเข้มข้นของเลือด เป็นส่วนประกอบของกรดในทางเดินอาหาร รักษาสมดุล กรด-ด่างในร่างกาย ค่าปกติในเลือดอยู่ที่ระดับ 95-110 mEq/L
ภาวะคลอไรด์สูง (hyperchloremia) สาเหตุเกิดจากการได้รับเกลือในปริมาณมาก ไตเสื่อมขับเกลือได้น้อยทำให้มีโซเดียมและคลอไรด์คลั่ง ได้ยาที่มีส่วนผสมของคลอไรด์สูง ในการตรวจวินิจฉัยจะพบระดับ. คลอไรด์ในเลือดมีค่าสูงกว่า 110 mEo/L
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระวนกระวาย หายใจหอบลึก หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูง บวมกดบุ๋ม ซึมหมดสติ
ภาวะคลอไรด์ต่ำ (hypochloremia) สาเหตุเกิดจากการสูญเสียคลอไรด์มากจากการอาเจียนท้องเสีย ได้รับยาปัสสาวะมาก รับประทานเกลือน้อยเกินไป ดื่มน้ำมากเกินไป ในการวินิจฉัยจะพบระดับคลอไรด์ในเลือดมีค่าต่ำกว่า 95 mEq/L
อาการและอาการแสดง
หายใจช้า หายใจตื้น กระตุก กระสับกระส่าย ไวต่อสิ่งเร้า เพ้อ หมดสติ
4.4 ธาตุแคลเซียม (calcium)
เป็นธาตุประจุไฟฟ้าบวก เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระดูกและฟัน มีความจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท และการแข็งตัวของเลือด ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับของแคลเซียมในเลือดคือ “พาราไทรอยด์ฮอร์โมน” ถ้าแคลเซียมในเลือดสูงจะหลั่งฮอร์โมนน้อย ถ้าแคลเซียมต่ำจะหลั่งฮอร์โมนออกมามากค่าปกติในเลือดอยู่ที่ระดับ 86 - 104 mEq/L
ภาวะแคลเซียมสูง (hypercalcemia) สาเหตุเกิดจากการได้รับแคลเซียมจากอาหารมากไป ได้รับจากยาลดกรดในกระเพาะมากไป ได้รับวิตามินดีช่วยดูดซึมมากไป ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ มีการ ดูดกลับแคลเซียมจากปัสสาวะและอาหารมากเกินไป ต่อมไทรอยด์เป็นพิษทำให้มีฮอร์โมนแคลชิโตนินสูงเกินไป ทำให้มีการสลายกระดูกมาก มีฟอสเฟตในเลือดต่ำทำให้แคลเซียมในเลือดสูงขึ้น การสลายกระดูกมากจากการนอนติดเตียงเป็นระยะเวลานาน ได้รับยาสเตียรอยด์มากทำให้ดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ในการตรวจวินิจฉัยจะพบระดับแคลเซียมในเลือดมีค่าเกินกว่า 104 mEq/L
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงจะขึ้นกับระดับและความรวดเร็วในการเพิ่มระดับ ถ้าค่อย ๆ เพิ่มช้า ๆ จะปรากฎอาการน้อย จะเริ่มแสดงอาการบ้างถ้าระดับเกิน 12 mEq/L และถ้าเกินกว่า 15 mEq/L จะเริ่มพบหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น และเมื่อเกินกว่า 16 mEq/L จะเริ่มมีอาการสับสน ความจำเสื่อม ซึม หมดสติ
ภาวะแคลเซียมต่ำ (hypocalcemia) สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำร่างกายขาดวิตามินดี ไม่ได้รับแสงแดด การมีฟอสฟอรัสในเลือดสูงจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง ได้รับยาขับปัสสาวะมาก ในการตรวจวินิจฉัยจะพบระดับแคลเซียมในเลือดมีค่าต่ำกว่า 86 mEq/L
อาการและอาการแสดง
แคลเซียมต่ำในระยะยาวจะทำให้กระดูกพรุน การต่ำแบบเฉียบพลัน ถ้าต่ำรุนแรงจะเกิดอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ เป็นตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง ท้องเสีย สมองเลอะเลือน
4.5 ธาตุฟอสฟอรัส (phosphorus)
เป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับสี่ในร่างกาย คือรองจาก คาร์บอน ไนโตรเจน และแคลเซียม ส่วนใหญ่สะสมอยู่ที่กระดูก รองลงมาอยู่ภายในเซลล์ มีเพียงเล็กน้อยอยู่ในน้ำเลือด ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของฟอสเฟส ค่าปกติในเลือดอยู่ที่ระดับ 27-47 mEq/L
ภาวะฟอสฟอรัสสูง (hyperphosphatemia) สาเหตุเกิดมาจากการรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ในภาวะไตเสื่อมความสามารถในการขับฟอสฟอรัสลดลง ทำให้เกิดการสะสมฟอสฟอรัสในเลือด ในการตรวจวินิจฉัย จะพบระดับฟอสฟอรัสในเลือดมีค่าเกินกว่า 47 mEg/L
อาการและอาการแสดง
ทำให้เกิดอาการคันตามผิวหนัง ในระยะยาวจะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนเพราะจะทำให้เกิดการสลายของแคลเซียมในกระดูกอย่างต่อเนื่อง หากสูงมากแบบเฉียบพลันจะมีผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะฟอสฟอรัสต่ำ (hypophosphatemia) สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำ ลำไส้มีข้อบกพร่องในการดูดซึมฟอสฟอรัส หรือรับประทานสารที่มีฤทธิ์ดักจับฟอสฟอรัส เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต ในการตรวจวินิจฉัยจะพบระดับฟอสฟอรัสในเลือดมีค่าต่ำกว่า 27 mEq/L
อาการและอาการแสดง
ไม่ค่อยพบอาการผิดปกติ ยกเว้นมีการลดต่ำลงแบบรวดเร็วและรุนแรง จะพบอาการอ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะและหยุดหายใจได้
4.6 ธาตุแมกนีเซียม (magnesium)
เป็นธาตุที่อยู่ทั้งในเซลล์และนอกเชลล์ ในภาวะสูงหรือต่ำโดยปกติจะ ไม่แสดงอาการใด ๆ ยกเว้นในกรณีสูงมากโดยเฉียบพลันอาจมีการเต้นของหัวใจผิดปกติ โดยค่าปกติในเลือดอยู่ที่ระดับ 14-25 mEq/L
ภาวะแมกนีเซียมสูง (hypermagnesemia) สาเหตุส่วนใหญ่ พบในผู้ป่วยที่รับประทานยาลดกรดในกระเพาะ หรือยาระบายที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมมากเป็นเวลานาน ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมหรือเกิดจากการปนเปื้อนของน้ำที่ใช้ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในการตรวจวินิจฉัยจะพบระดับแมกนีเซียมในเลือด มีค่าเกินกว่า 225mEq/L
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตต่ำคลื่นไส้อาเจียนท้องอึดเหงื่อออกมากกว่าปกติกล้ามเนื้ออ่อนแรงหัวใจเต้นข้าหัวใจหยุดเต้นได้ในที่สุด
ภาวะแมกนีเซียมต่ำ (hypomagnesemia) สาเหตุพบได้ในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารได้น้อยรับประทานอาหารที่มีธาตุแมกนีเซียมต่ำ มีภาวะท้องเสียเรื้อรัง หรือมีการให้อาหารทางสายยาง แล้วแมกนีเชียมเข้าไปอยู่ในเซลล์เกิดใหม่จำนวนมาก ในการตรวจวินิจฉัยจะพบระดับแมกนีเซียมในเลือดมีค่าต่ำกว่า 14 mEq/L
อาการและอาการแสดง
เมื่อระดับต่ำมากอาจมีผลทำให้หัวใจ เต้นผิดจังหวะทำให้มีการยับยั้งการทำงานของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน
จากภาวะเสียสมดุลของแร่ธาตุในเลือดที่กล่าวทั้งหมดข้างต้น ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
5. ภาวะกรด-ด่างเสียสมดุล
การทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายจะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ที่ค่า 7.45 (pH 7.45) การควบคุมความเป็นกรด-ด่างอยู่ที่ปริมาณของอนุมูลไฮโดรเจนไอออน (hydrogen ion) H+ และไบคาร์บอเนตไอออน (bicarbonate ion or hydrogen carbonate ion) HCO3- การเกิดภาวะกรดหรือด่างไม่สมดุล เกิดได้หลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคไตเสื่อมที่สำคัญ เกิดจากการเผาผลาญอาหาร
สาเหตุที่ทำให้เลือดมีภาวะด่างสูง
เกิดการสูญเสียกรดจากการอาเจียนกรดในกระเพาะอาหารออกมา ได้รับยาขับปัสสาวะทำให้ขับกรดออกมามาก รับประทานยาลดกรดมาก ในการตรวจวินิจฉัย จะพบระดับ HCO3- ในเลือดมีค่าเกินกว่า 30 mEq/Lซึ่งควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาการและอาการแสดง
จะมีอาการหายใจช้า หายใจตื้น หัวใจเต้นเร็ว หากมีภาวะโพแทสเชียมต่ำร่วมด้วย อาจจะมีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ชัก
สาเหตุที่ทำให้เลือดมีภาวะกรดสูง
เกิดจากการเผาผลาญอาหารในกลุ่มโปรตีนมากเพราะอินซูลินในเลือดต่ำจากภาวะเบาหวาน หรือจาก การอดอาหารทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเกิดกรดไขมัน และเผาผลาญโปรตีนเกิดกรดอะมิโนทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ในการตรวจวินิจฉัย จะพบระดับ HCO3- ในเลือดมีค่าต่ำกว่า 20 mEq/L ซึ่งควรได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาการและอาการแสดง
หายใจเร็วและหายใจลึกเพื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาให้มากที่สุด หัวใจเต้นแรงและเร็วจากภาวะโพแทสเซียมสูงร่วมด้วย หากมีความรุนแรงมากหัวใจอาจหยุดเต้นได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มึนงง สับสน หมดสติในเวลาต่อมา
ดังนั้น ผู้ป่วยควรมีความรู้เพียงพอที่จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ให้ไตไม่เสื่อมสภาพ ที่สำคัญมีความรู้ที่จะทราบว่าอาการและอาการแสดงอะไรที่ต้องมาพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการช่วยเหลือได้ ความรู้นี้แม้เป็นเรื่องยากมาก แต่แนะนำให้อ่านหลายๆ ครั้ง พร้อมนำผลการตรวจเลือดที่ได้รับจากแพทย์มาอ่านประกอบ เราจะเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น จนกระทั่งในที่สุดเราจะมีความรู้มากกว่าผู้ป่วยไตเสื่อมคนอื่น ๆ และมีความรู้มากจนสามารถหลุดพ้นจากการฟอกเลือดในอนาคตได้...