อาหารฟังก์ชัน อาหารแห่งอนาคต ก้าวสำคัญอาหารสุขภาพสู่ตลาดสากล

          กระแสรักสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมในยุค Digital Transformation เนื่องจากคนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงข้อมูลสาระสุขภาพได้ง่ายผ่านสื่อออนไลน์ อีกทั้งความเจริญทางเศรษฐกิจ การศึกษา ส่งผลให้ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญต่อการ
มีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะการบริโภคอย่างสมดุล รักษ์สิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคระบาดและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่คุกคาม
และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตกว่าครึ่งของประชากรทั่วโลก

        นอกจากนี้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หลังการระบาดของ COVID-19 ยังก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและธุรกิจบริการที่ตอบสนองผู้บริโภคในหลายรูปแบบ อาหารที่มีคุณภาพและประโยชน์นอกเหนือไปจากโภชนาการ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Food with Function Claims (FFC) จึงได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของทั้งภาคอุตสาหกรรมอาหารและผู้บริโภคทั่วโลกโดย “อัตราการเติบโต
ของตลาดอาหารแห่งอนาคตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตราเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7 ต่อปี หรืออาจมีมูลค่าระดับ 5 ล้านล้านบาท ทั่วโลกภายในปี พ.ศ. 2569”
เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมารับประทานอาหาร
และเครื่องดื่มสุขภาพ และแนวโน้มนี้จะยังคงเติบโตควบคู่ไปกับพัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี (well-being) ตลอดจนถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
สำหรับประเทศไทย “อาหารฟังก์ชัน” หนึ่งในอาหารแห่งอนาคต จึงกลายเป็นตัวแปรสำคัญของการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารไปสู่ธุรกิจมูลค่าสูง ภายใต้ความร่วมมือวิจัยและพัฒนาจากทั้งภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม
(สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรกรและอาหารแห่งชาติ, 2565: 10-13)

        Functional Foods หรือ อาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชัน เป็นอาหารที่มีลักษณะเหมือนอาหารรูปแบบปกติที่อยู่ในรูปธรรมชาติหรือถูกแปรรูป บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายนอกเหนือจากคุณค่าทาง
โภชนาการพื้นฐาน (คาร์โบไฮเดรตโปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่) และลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แหล่งของอาหารฟังก์ชั่นอาจได้มาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ โดยส่วนประกอบของอาหารฟังก์ชันอาจเป็น
เส้นใยอาหาร พรีไบโอติค เปปไทด์ โพรไบโอติค กรดไขมันไม่อิ่มตัว สารพฤกษเคมี วิตามินและแร่ธาตุ ด้วยประโยชน์ดังกล่าว จึงทำให้อาหารฟังก์ชันเป็นอาหารที่ได้รับความสนใจ มีการพัฒนาในหลายรูปแบบ และสามารถ
ขยายตัวในเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว

 

 

แหล่งอ้างอิง

ศนิ จิระสถิตย์. (2561). สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(3), 1617-1637.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรกรและอาหารแห่งชาติ. (2565). ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ: เทรนด์อาหารที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบัน. วารสารเพื่อการเตือนภัยสินค้าเกษตรกรและอาหาร, 14(3), 1-15.

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.