ความสำคัญของ “มวลกล้ามเนื้อ” สิ่งที่ควรรู้ ก่อนที่จะสลายไป

         กล้ามเนื้อ เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (Mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน ร่างกายมีกล้ามเนื้อ 600 มัด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของน้ำหนักตัว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) กล้ามเนื้อมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย มีหน้าที่คงรูปร่างและท่าทางต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงรองรับอวัยวะภายในให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ป้องกันกระดูกและยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน รวมถึงรักษาระดับอุณหภูมิในร่างกาย

 

         แต่เมื่ออายุมากขึ้น ความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อในร่างกายจะฝ่อลง เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากอายุ 40 ปี มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มลดลงร้อยละ 12 ต่อปี และเมื่อหลังอายุ 5060 ปี เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจะค่อย ๆ ลดลง ร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี จนเริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหลังอายุ 65 ปี ทั้งนี้นอกจากปัจจัยด้านอายุแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้เช่นกัน ซึ่งแต่ละปัจจัยนั้นล้วนเกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงอันส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีดังนี้

 

          1. ร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ

            โปรตีนเป็นส่วนประกอบโครงสร้างร่างกาย คือ กล้ามเนื้อ กระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และผิวหนัง เป็นสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบหลักของทุกเซลล์ในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญในรูปของเอนไซม์ ฮอร์โมน ผนังเซลล์ และเป็นตัวพาสารอื่น ๆ ในร่างกาย หากขาดโปรตีนจะส่งผลต่อการทำงานทุกระบบในร่างกาย โดยปริมาณโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับสำหรับผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิง คือ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เช่น หากเราน้ำหนัก 55 กิโลกรัม ก็ควรกินโปรตีน 55 กรัมต่อวัน (ตัวอย่างปริมาณโปรตีน : ไข่ไก่ 1 ฟอง 100 กรัม ให้โปรตีนประมาณ 13 กรัม, เนื้ออกไก่ 100 กรัม ให้โปรตีนประมาณ 28.6 กรัม) ทั้งนี้ร่างกายเราควรได้รับปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะหากร่างกายได้รับโปรตีนมากเกินความต้องการจะส่งผลให้ตับและไตทำงานหนักเพื่อกำจัดสารยูเรีย อีกทั้งยังทำให้มีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น

 

         2. ทานโปรตีนน้อยเกินไประหว่างที่บาดเจ็บ มีอาการป่วย หรือได้รับการผ่าตัด

            ในช่วงที่ร่างกายบาดเจ็บ มีอาการป่วย หรือได้รับการผ่าตัด ร่างกายจะต้องการโปรตีนมากขึ้นถึง 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพราะเมื่อเราป่วยหรือมีอาการบาดเจ็บ ระดับฮอร์โมนในการสร้างมวลกล้ามเนื้อจะแปรปรวน และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้ร่างกายมีความต้องการโปรตีนหรือกรดอะมิโนที่สูงมาก เพื่อใช้ในการฟื้นฟูและซ่อมแซมร่างกายให้กลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด ซึ่งหากเราทานโปรตีนน้อยเกินไป และมีการเคลื่อนไหวของร่างกายน้อยลง รวมถึงต้องงดออกกำลังกายด้วยแล้ว ทำให้การ เผาผลาญพลังงานน้อยลง ร่างกายสร้างมวลกล้ามเนื้อลดลง เกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากกว่าปกติได้

 

         3. ออกกำลังกายแบบหักโหม

             เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายจะดึงพลังงานพร้อมใช้ (Dietary Fuel) จากที่เราทานอาหารก่อน เมื่อหมดลง จึงเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่สะสมไว้ (Body Fuel) ในร่างกาย ได้แก่ โปรตีนในกล้ามเนื้อ และไขมันสะสมเป็นลำดับถัดไป การจำกัดอาหารอย่างไม่ถูกวิธี หรืออดอาหาร แล้วไปออกกำลังกายอย่างหนัก ในช่วงแรกไขมันจะลดลง แต่จะทำให้มวลกล้ามเนื้อหายไปด้วย เนื่องจากร่างกายไม่มีสารอาหารที่เพียงพอในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สลายออกไป

 

             การเผาผลาญไขมันโดยให้เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อน้อยที่สุด คือ การออกกำลังกายชนิดเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Resistive Exercise) เป็นการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่าง ๆ โดยอาศัยแรงต้านจากน้ำหนักร่างกายเราเอง เช่น ดันพื้น ดึงข้อ ลุกนั่ง เป็นต้น หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น ดัมเบล ยางยืด เป็นต้น ควบคู่กับการออกกำลังชนิดเพิ่มความทนทาน (Aerobic Exercise) เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน การเต้น ปีนเขา การวิ่ง เพื่อช่วยสลายไขมันส่วนเกิน อย่างไรก็ตามควรทำร่วมกับการควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในการซ่อมแซมมวลกล้ามเนื้อที่สลายไป

 

         4. พักผ่อนไม่เพียงพอ

             เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้มีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากเราจะรู้สึกหงุดหงิด  อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่อยากออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวระหว่างวัน ทำให้ไม่มีการกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญพลังงานและการสร้างมวลกล้ามเนื้อที่มากพอ ส่งผลให้ร่างกายเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งเวลาที่เรานอนหลับ ต่อมใต้สมองจะมีการหลั่ง Growth Hormones เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ยิ่งเรานอนดึกหรือพักผ่อนน้อยมากเท่าใด ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายจะยิ่งน้อยลงเท่านั้น  ทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้เช่นกัน

 

             ดังนั้นเราจึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายมีเวลาในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การพักผ่อนที่น้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินหลังจากการกินอาหารน้อยลง ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ และพลังงานแคลอรี่ที่เรากินเข้าไปก็จะถูกเก็บสะสมไว้เป็นไขมันในร่างกายมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานสูงขึ้นตามมา

 

         จะเห็นได้ว่าการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัยหากเรามีพฤติกรรมเสี่ยง เราจึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ แนะนำว่าเราควรได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งโปรตีนในเนื้อสัตว์ 1 ขีด (100 กรัม ) ให้ปริมาณโปรตีนเพียง 18-22 กรัมเท่านั้น (ที่เหลือเป็นไขมัน น้ำ และสารอื่น ๆ) การทานโปรตีนมื้อละ 1 ขีด จึงอาจเป็นเรื่องยุ่งยาก หรืออาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs

         นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ จึงได้พัฒนา ผลิตภัณฑ์อะมิโน วิตอาหารทดแทนโปรตีนจากอาหารที่มีกรดอะมิโนสกัดจากธรรมชาติครบ 20 ชนิด ในรูปแบบไฮโดรไลซ์ เวย์ โปรตีน (Hydrolyzed Whey Protein) ไอโซเลท เวย์ โปรตีน (Isolate Whey Protein) และไอโซเลท ซอย โปรตีน (Isolate Soy Protein) โมเลกุลเล็กร่างกายดูดซึมได้ทันที ปราศจากน้ำตาลแลคโตสและไขมัน อีกทั้งมีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับวัยเด็กที่ต้องการพัฒนาการร่างกาย สติปัญญาและการเรียนรู้ที่เหมาะสม คนวัยทำงานที่ต้องการพลังงาน ผู้สูงอายุที่ต้องการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างภูมิต้านทาน การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs และผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในด้านโภชนาการ ควบคู่กับการออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

 

ที่มาข้อมูล

คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. (2563).   

          ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. สำนักโภชนาการ

          กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

นาฎนภา อารยะศิลปธร, พัชนี สมกำลัง, จรัสศรี สีลาวุธ, จันทร์จิรา ภูบุญเอิบ และจิราภรณ์ มุลเมืองแสน.   

          (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง.

          วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 28(1), 39.

โรงพยาบาลกรุงเทพ. ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย. สืบค้นข้อมูลจาก :

          https://www.bangkokhospital.com/content/muscle-wasting-in-the-elderly

สมิทธิ์ อารยะสกุล. (2562). ออกกำลังแล้วน้ำหนักลด แต่ไขมันไม่ลด. สืบค้นข้อมูลจาก :    

          https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ลดน้ำหนัก

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.