ประโยชน์ของ กรดอะมิโน "แอลฟีนิลอะลานีน" (L-Phenylalanine)

 

        ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ซึ่งร่างกายจะสามารถเปลี่ยนฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ให้เป็นไทโรซีน (Tyrosine) ได้
เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีฟีนิลอะลานีน ร่างกายจะนำไปเป็นสารตั้งต้นสร้างกรดอะมิโนไทโรซีน (Tyrosine)  โดยฟีนิลอะลานีนมี 2 ชนิดคือ L-Phenylalanine และ D-Phenylalanine ในส่วนของ
D-Phenylalanine นั้นไม่ใช่กรดอะมิโนที่จำเป็น แต่ L-Phenylalanine เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและเป็นรูปแบบเฉพาะของ        ฟีนิลอะลานีนที่พบในโปรตีน

        แอลฟีนิลอะลานีน (L-Phenylalanine) เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีในระบบประสาท (neurochemical) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็น “ไทโรซีน” ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีความสำคัญในการ
สังเคราะห์ฮอร์โมนหลายชนิด เช่น โดพามิน (Dopamine) อะดรีนารีน (Adrenaline) หรือเรียกว่า เอพิเนฟริน (Epinephrine)  และนอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือเรียกว่า นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline)
 ซึ่งกรดอะมิโนไทโรซีน มีบทบาทกระตุ้นและปรับเปลี่ยนการทำงานของสมอง ช่วยกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว       มีสมาธิ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่ง
ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทสมอง การเรียนรู้และการจดจำ รวมทั้งช่วยให้ตื่นตัวได้ดียิ่งขึ้นหลังการอดนอน ทั้งนี้ร่างกายจะนำฟีนิลอะลานีนไปใช้ไม่ได้หากขาด “วิตามินซี”

        นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์เป็นไทโรซีน (Tyrosine) ซึ่งมีหน้าที่เป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซินร่วมกับไอโอดีน ในการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ และเป็นสารตั้งต้นในการ
สร้างหลั่งฮอร์โมนในลำไส้เล็กได้คือ คอเลซิสโทไคนิน (Cholecystokinin : CCK) ซึ่งชะลอให้อาหารผ่านจากกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็กช้าลง จึงทำให้รู้สึกอิ่ม จึงมีประโยชน์ทางอ้อมให้รับประทานอาหาร
ได้ลดลง รวมทั้งอาจส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง

        โดยทั่วไปสามารถพบฟีนิลอะลานีน ได้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ เช่น ไข่ ปลา เนื้อเป็ด เนื้อไก่         ถั่วเหลือง อัลมอนด์ ถั่วลิสง ถั่วลิมา ฟักทอง เมล็ดงา กล้วย ข้าวแดง อโวคาโด และพบในผลิตภัณฑ์
เสริมอาหารในรูปแบบต่าง ๆ

 

แหล่งที่มาข้อมูล

เอิร์ล มินเดลล์. (2561). Vitaminbible [วิตามินไบเบิล]. (พิมพ์ครั้งที่ 19). อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Nelson, D. L., & Cox, M. M. (2000). Principles of Biochemistry, (3rd ed). New York: Worth    Publisher.

Wendisch V. F. (2007). Amino acid biosynthesis-pathway, regulation and metabolic engineering. Heidelberg, Springer Berlin.

 

 

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.