สิ่งที่ควรตรวจสุขภาพ “ของผู้หญิง 40+”

             ผู้หญิงที่มีอายุย่างเข้าเลข 4 แล้ว ควรใส่ใจเรื่องสุขภาพอย่างยิ่ง เพราะยิ่งอายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวลา การผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ จะเริ่มลดลง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ก็จะตามมาด้วย ส่งผลให้ต้องตรวจสุขภาพแบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้น เพื่อตรวจคัดกรองโรคภัยต่าง ๆ ประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในอนาคต ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมกาดำเนินชีวิตและรับประทานอาหาร มาดูกันว่าเราควรตรวจและดูแลตัวเองด้านใดบ้าง

 

1. การตรวจความดันโลหิต

         เมื่ออายุมากขึ้น เส้นเลือดจะมีการแข็งตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นควรตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการตรวจความดันโลหิตจะดู 3 ค่า ดังนี้

         ค่าที่ 1 ความดันโลหิตตัวบน ไม่ควรเกิน 140 mmHg

         ค่าที่ 2 ความดันโลหิตตัวล่าง ไม่ควรเกิน 90 mmHg

         ค่าที่ 3 ชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ) ไม่ควรเกิน 80 ครั้ง/นาที

         ควรตรวจความดันโลหิตทุกปี หากเลขความดันโลหิตตัวบนสูงกว่า 140 หรือเลขความดันโลหิตตัวล่างสูงกว่า 90 ให้รีบปรึกษาหรือไปพบแพทย์ทันที หากเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต หรือเป็นโรคอื่น ๆ ควรตรวจความดันโลหิต อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

 

2. การตรวจคอเลสเตอรอล

         เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะทุกส่วนของร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง ประกอบกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารผิดหลักธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติได้ โดยการตรวจคอเลสเตอรอลจะพิจารณา 4 ค่า ตามเกณฑ์ดังนี้

         ค่าที่ 1 คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol ต่อย่อ TC)

         ค่าที่ 2 ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride ต่อย่อ Tri) ควรต่ำกว่า 100 mg%

         ค่าที่ 3 แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-Cholesterol ตัวย่อ LDL-C) ควรต่ำกว่า 150 mg%

         ค่าที่ 4 เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol ตัวย่อ HDL-C) ควรมากกว่า 50 mg%

         โดย ค่าอัตราส่วนของ Tri/HDL-C ไม่ควรเกิน 2.0 และ ค่าอัตราส่วนของ LDL-C/HDL-C ไม่ควรเกิน 3.0 จึงจะอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย

         ควรหมั่นตรวจสุขภาพความดันโลหิตสูงเป็นประจำ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต หรือเป็นโรคอื่น ๆ ควรตรวจบ่อยครั้งหรือตามคำแนะนำของแพทย์

 

3. การตรวจโรคเบาหวาน

         เบาหวาน เป็นโรคพฤติกรรมจากการรับประทานน้ำตาลและแป้งในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน    จนทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักและเสื่อมสภาพ จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้พอเพียงในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยปกติระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ที่ 80-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากผลที่ออกมามีค่ามากกว่า 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

 

4. การตรวจโรคกระดูกพรุน

         ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป กระดูกจะค่อย ๆ บางลงจากการทำลายกระดูกที่เยอะกว่าการสร้างกระดูกและการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน จะทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน มีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงถึง 80% ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหาร ยาบางชนิด โรคประจำตัว และการขาดวิตามินดี

         ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงควรตรวจประเมินภาวะกระดูกพรุน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพตั้งแต่ระยะแรก สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และช่วยลดความเสียหายของการเกิดโรคกระดูกพรุนที่ตามมาได้

 

5. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

         มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทย และทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีคู่นอนหลายคน สูบบุหรี่ มีบุตรจำนวนมาก ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือไม่เคยตรวจภายใน ดังนั้นจึงควรไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ทุก ๆ 3 ปี หากผลตรวจเป็นปกติ ให้เว้นการตรวจไป 5 ปี ทั้งนี้หากมีเลือดออกทั้งที่ไม่ได้อยู่ในช่วงมีประจําเดือนจำเป็นต้องตรวจ

 

6. การตรวจมะเร็งเต้านม

         ผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งปัจจัยด้านอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสุด ปัจจัยรองลงมาคือ การเคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านมและพบว่าเป็นซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (atypia) และการพบว่ามีญาติสนิท (แม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูก) เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน ส่วนปัจจัยอื่นที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย ได้แก่ การเริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย การหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้า การไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก การที่เคยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี เป็นต้น

         เราสามารถตรวจหามะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองทุกเดือน ด้วยการคลำหาก้อนเนื้อที่เต้านมตนเองทุกเดือน พบแพทย์ตรวจเมื่อมีอาการสงสัย (อย่าปล่อยไว้เพราะไม่เจ็บ) และตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ประจำปี เริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นต้นไป

 

7. การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

         มะเร็งลำไส้ใหญ่ ถือเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยทำงาน อาการเตือนที่มักปรากฏให้เห็นของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น อุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด ลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจมีปัจจัยจากอาหารและสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารที่ให้พลังงาน ไขมันและน้ำตาลสูง ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน เป็นปัจจัยสำคัญ รวมถึงปัจจัยด้านอายุ ซึ่งพบความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป และเสี่ยงมากถึง 50 เท่า (เมื่อเทียบกับกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 40 ปี) ในกลุ่มอายุระหว่าง 60-69 ปี โดยส่วนใหญ่กว่าผู้ป่วยจะทราบว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็มักพบในระยะรุนแรงแล้วจึงส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูง ดังนั้นการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมาพบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการผิดปกติเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด

 

8. การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน

         มะเร็งตับอ่อนเป็นโรคร้ายที่เป็นภัยเงียบ มักจะรู้เมื่อสายเกินไป เนื่องจากตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกภายในช่องท้อง จึงไม่สามารถพบได้จากการตรวจร่างกายทั่วไป มะเร็งตับอ่อนเกิดได้หลายปัจจัย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ บริโภคเนื้อแดง อาหารแปรรูปและไขมันอิ่มตัวมากเกินไป โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ภาวะน้ำหนักเกิน โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 45 ปีและประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 65 ปี ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการ จนกว่ามะเร็งมีขนาดใหญ่หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ และมักเกิดอาการเมื่อลุกลามแล้ว ทำให้กว่าครึ่งของผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจายไปแล้ว อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อนจึงน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ดังนั้นการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อนจึงเป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถประเมินความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนได้

         หากท่านใดมีความสนใจสามารถเข้ารับการตรวจโปรแกรมสุขภาพสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งหญิงเบื้องต้นได้ โดยมีค่าบริการ 3,510 บาท (ลดพิเศษจากราคาปกติ 3,900 บาท) ซึ่งราคานี้จะรวมทั้งการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (AFP), สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA), สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (CA19-9), สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA125) และสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3)

         การตรวจสุขภาพช่วยให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่ในระยะแรก รวมถึงสามารถคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ หากคุณอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยง อย่าลืมไปตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อช่วยให้คุณสามารถป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้นหรือลดความรุนแรงของโรค รวมทั้งการได้รับคำแนะนำในการรักษาโรคได้ทันท่วงที และดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

 

สอบถามรายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพ บริการ และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ร้านเวลเนส กรีน ช็อปสาขานครสวรรค์ เยื้องประตู 12 อุทยานสวรรค์ (หนองสมบูรณ์)

เปิดบริการทุกวันจันทร์ - เสาร์ เวลา 08.00 - 17.00 น. *ปิดทุกวันอาทิตย์*

โทร 056-222662, 062-9262642, 091-4596662

หรือลงทะเบียนเพื่อรับคำปรึกษาฟรี แอดไลน์คลิก https://lin.ee/ujQ6Y1Y Line ID : @wglgoodlife

 

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.