อันตรายจากโรคไตวายเฉียบพลัน

 

           ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันเรากำลังตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ Covid-19 ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตของเราทุกคนยังไม่ทราบว่าเมื่อไหร่ถึงจะหยุดการแพร่ระบาดและกลับสู่สภาวะปกติทำให้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่หากไม่นับรวมโรคติดต่อ Covid-19 เราพบว่าจากสถิติของคนไทยที่เจ็บป่วยด้วยโรคในกลุ่ม NCDs และเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ  กลับพบว่ามีสาเหตุมาจากภาวะไตเสื่อม และเกิดขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย ดังจะเห็นได้จากข่าวที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะบุคคลที่มีชื่อเสียงในทุกวงการ บางคนอาจเริ่มจากภาวะไตเสื่อมหรือมีโรคอื่นแทรกซ้อน และเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังหรือไตวายเฉียบพลันแล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าโรคไตเป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยเป็นกันจำนวนมาก ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยไตเรื้อรังจำนวน 11.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีมากกว่า 1 แสนคนที่ต้องล้างไต ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ ภาวะความเสื่อมของไตจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา เมื่อภาวะความเสื่อมเข้าสู่ระดับ 5 เรียกภาวะนี้ว่าไตวาย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดทางหน้าท้อง ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต มีสาเหตุหลักดังต่อไปนี้

 

         1. ความชราทำให้ไตเสื่อม เมื่อเราอายุมากขึ้น จำนวนหน่วยกรองปัสสาวะในไตจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงตามธรรมชาติ

         2. โรคเบาหวานทำให้ไตเสื่อม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ไตเสื่อมคือ โรคเบาหวานผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมากเท่าไร ไตจะเสื่อมเร็วและเสื่อมรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

         3. โรคความดันโลหิตสูงทำให้ไตเสื่อม เป็นสาเหตุที่พบบ่อยรองลงมาจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตที่สูงมากจะทำให้เส้นเลือดในหน่วยกรองปัสสาวะในไต ซึ่งมีขนาดเล็กมากและบอบบางมาก เกิดความเสียหายและเสื่อมสภาพได้ง่าย ในขณะเดียวกันไตยิ่งเสื่อมมากเท่าไร เส้นเลือดในไตที่เสื่อมจะยิ่งไปขัดขวางไม่ให้เลือดไหลผ่านไตได้สะดวก ก็จะยิ่งไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นอีก เรียกได้ว่าเป็น “วงจรแห่งความเสื่อม”

         4. โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองทำให้ไตเสื่อม ผู้ที่ไตเสื่อมจากภูมิคุ้มกันกลับมาทำร้ายไตตัวเอง มักพบได้ตั้งอายุยังไม่มาก บางรายไตเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 ปี หรือบางรายก็อาจเป็นในตอนสูงอายุก็ได้

         5. โรคพันธุกรรมทำให้ไตเสื่อม โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ไตเสื่อมมีหลายประเภท บางชนิดเกิดจากขนาดไตเล็กกว่าปกติ บางชนิดมีถุงน้ำจำนวนมากอยู่ในไต บางคนเกิดมาอาจมีไตเพียงข้างเดียว ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวข้างต้นมาตั้งแต่แรกเกิด ไตจะทำงานหนักกว่าคนปกติทั่วไปมาตังแต่เด็ก

         6. ผู้ที่มีไตเพียงข้างเดียวทำให้ไตที่เหลือเสื่อมได้ง่าย สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ที่มีไตปกติมาแต่กำเนิด แต่เหลือไตข้างเดียวในเวลาต่อมาก็คือ การบริจาคไตให้กับญาติ การเกิดอุบัติเหตุทำให้ต้องตัดไตทิ้ง ผู้ที่มีมะเร็งเกิดขึ้นที่ไตและแพทย์ได้ผ่าตัดไตข้างที่เกิดมะเร็งออกไป

         7. การขาดเลือดมาเลี้ยงไตเนื่องจากโรคหรือภาวะบางประการทำให้ไตเสื่อม มีสาเหตุบางประการที่ทำให้เลือดมาเลี้ยงไตน้อยกว่าปกติ เช่น การเสียเลือดเป็นจำนวนมาก การขาดน้ำในร่างกาย การติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง จึงทำให้ไตเสื่อมสภาพแบบเฉียบพลัน

         8. การรับประทานโปรตีนเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม ปัจจุบันนี้รูปแบบของอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม คนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม ถั่ว และเห็ดต่าง ๆ ถ้ารับประทานมากจนเกินไป  ไตจะต้องทำงานหนักเพื่อขับของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนและการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย

         9. การรับประทานเกลือเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม การรับประทานเกลือมากเกินไปทำให้เป็นภาระให้ไตต้องขับทิ้งมากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากการหยุดรับประทานเกลืออาจทำให้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงในเลือดต่ำมากจนถึงระดับอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมโดยละเอียด

        10. การได้รับสารพิษและสารเคมีทำให้ไตเสื่อม รูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคปัจจุบันนี้ ทำให้คนเราได้รับสารเคมีเป็นจำนวนมาก ทั้งจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อนมากับอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งยารักษาโรคต่าง ๆ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ ไตต้องทำงานหนัก ไตอ่อนแอลงจนเสื่อมสภาพในที่สุด

        11. เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ทำให้หลอดเลือดที่ไตและร่างกายส่วนอื่น ๆ เสื่อม

        12. มีภาวะฉุกเฉินที่ทำให้ความดันโลหิตตกลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง (ภาวะ Shock) จนทำให้เลือดไหลผ่านไตน้อยลงอย่างเฉียบพลัน เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียนรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเกิดภาวะช็อก จะทำให้หลอดเลือดในหน่วยไต (nephron) ได้รับความเสียหาย

        13. มีภาวะนิ่วไปอุดตันทางเดินปัสสาวะบางส่วน ทำให้เกิดแรงดันตีกลับไปที่ไตทำให้ไตพองตัว หน่วยไตได้รับความเสียหาย

        14. มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แล้วลุกลามเข้าไปในไตจนเกิดความเสียหายต่อหน่วยไต (nephron)

 

           สาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ท่านสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ไตยังมีคุณภาพดี หรือหากเริ่มมีภาวะไตเสื่อม

แม้กระทั่งท่านฟอกไตแล้ว ก็สามารถดูแลและฟื้นฟูไตได้ ด้วยหลักการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และรูปแบบการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาวะการปัจจุบัน ปรับเปลี่ยน Mindset โดยมีมุมมองที่มีความหวังเพิ่มพลังบวกให้กับตัวเราเอง เป็นการดูแลและปฏิบัติตนอย่างง่ายตามหลักของธรรมชาติ ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับแนวทางการรักษาของนายแพทย์บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติบำบัดเวลเนสแคร์  ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์รักษาคนไข้ด้วยวิถีธรรมชาติบำบัดแบบผสมผสานมากว่า 10 ปี เน้นให้คนไทยห่างไกลจากกลุ่มโรค NCDs โดยเฉพาะโรคไต ที่ผ่านมามีคนเข้ารับการบำบัดรักษาตามแนวทางนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งการให้คำปรึกษาตามโครงการหมอเวลเนสแคร์ดูแลถึงบ้าน และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเวลเนส มาแล้วมากกว่าหมื่นคน

 

           หากท่านใดสนใจและต้องการสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบำบัดรักษาด้วยวิถีธรรมชาติบำบัดแบบผสมผสาน สามารถติดต่อได้ที่ เวลเนส กรีน ช็อปสาขานครสวรรค์

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.