กิงโกะ พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

         แปะก๊วย หรือ Ginkgo มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ginkgo biloba  L. เป็นพืชในวงศ์ Ginkgoaceae ซึ่งเป็นพืชยืนต้นที่มีต้นกำเนิดมานานกว่าร้อยปีในประเทศจีน ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาทางการแพทย์แผนจีนมาอย่างช้านาน เพราะมีสรรพคุณทางยาหลายชนิดทั้งในด้านบำรุงร่างกายและบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสมอง ระบบไหลเวียนโลหิต          สารสกัดทางเคมีของต้นแปะก๊วยสามารถสกัดได้จาก 2 ส่วน ได้แก่ ใบแปะก๊วย และผลแปะก๊วย มีการนำผลแปะก๊วยมาประกอบอาหาร ส่วน “ใบแปะก๊วย” จะมีสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ คือ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีสารสำคัญ “Ginkgo-Flavone Glycosides” และสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) มีสารสำคัญ “กิงโกไลด์ (Ginkgolides)” และ “ไบโลบาไลด์ (Bilobalide)  มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้         

     1. ต้านการเกิดอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่สกัดได้จากใบแปะก๊วย กว่า 20 ชนิด มีฤทธิ์ต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ในการยับยั้ง Lipid peroxidation ช่วยปกป้องเซลล์สมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ประสาท ป้องกันไม่ให้ไขมันร้าย (LDL) เกิดการออกซิไดซ์ (Oxidative damage) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันเม็ดเลือดแดง และป้องกันจอตา (Retina) จากความเสื่อมของเซลล์ประสาท         

     2. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่สกัดได้จากใบแปะก๊วย (EGB 761) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณสมอง และหลอดเลือดส่วนปลายจึงช่วยบรรเทาอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า รวมทั้งกระตุ้นการผ่อนคลายของหลอดเลือดแดงที่หดตัว ซึ่งลดความเสี่ยงอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม (Dementia) จากการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองไม่เพียงพอ (วรัชญา เอื้อวัฒนะสกุล, 2563: 47; นริศา คำแก่น, 2539: 12; Ude, Schubert-Zsilavecz, & Wurglics, 2013: 727-749; Dziwenka, & Coppock, 2016: 681-691)  อาการของการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอของผู้สูงอายุ อาจพบอาการแสดงต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น ขาดสมาธิและความจำเสื่อม ไม่มีกำลัง เหนื่อย ความสามารถทางกายภาพถดถอย อารมณ์ซึมเศร้า กระวนกระวาย ง่วงซึม ปวดศีรษะ บางครั้งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม (Dementia) สารสกัดจากแปะก๊วยจึงมีส่วนช่วยอาการเหล่านี้ (นริศา คำแก่น, 2539: 12)         

     3. ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด สารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) อันได้แก่ Ginkgolides B มีฤทธิ์ในการยับยั้ง PAF (Platelet Activating Factor) ที่นำไปสู่การจับตัวกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke)         

     4. บำรุงสมองและเสริมสร้างความจำ สารสกัดใบแปะก๊วย ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ ลดภาวะอาการหลงลืม ในตำราแพทย์จีนแผนโบราณมีการนำใบแปะก๊วย (Ginkgo Biloba) ไปใช้ประโยชน์ในด้านการส่งเสริมคุณภาพสมอง มีฤทธิ์ที่ดีมากในการยับยั้งเอนไซม์ อะซิติลโคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase: AchE) ซึ่งเป็นสารที่ทำลายสารสื่อประสาท ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (สำนักการแพทย์ทางเลือก, 2558: 147-154) และเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท “อะซิติลโคลีน (Acetylcholine)” ซึ่งมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้และความจำ เข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท บำรุงสมอง และเสริมสร้างความจำ         

 

     ข้อควรระวังและความปลอดภัยพบว่า สารสกัดใบแปะก๊วยมีผลต่อการต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด  จึงมีข้อห้ามในการรับประทานร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เมตาบอลิซึมยาแผนปัจจุบันหลายชนิด จึงควรศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับประทาน เอกสารอ้างอิง นริศา คำแก่น. (2539, พฤศจิกายน). แปะก๊วย. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร. 1(1): 4-17. วรัชญา เอื้อวัฒนะสกุล. (2563, มกราคม – เมษายน). สารสกัดใบแปะก๊วยในการรักษาโรคด่างขาวบน           หลักฐานเชิงประจักษ์ และแนวทางการนําไปใช้ทางคลินิก. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 29(1): 46 - 57. สำนักการแพทย์ทางเลือก. (2558). แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน. นนทบุรี: สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวง สาธารณสุข. Gauthier, S., & Schlaefke, S. (2014). Efficacy and tolerability of Ginkgo biloba extract EGb761® in dementia: a systematic review and meta-analysis of randomized placebo-controlled trials. Clin Interv Aging, 9: 2065-77. Ude, C., Schubert-Zsilavecz, M., & Wurglics, M. (2013). Ginkgo biloba extracts: A review of the pharmacokinetics of the active ingredients. Clin Pharmacokinet, 52:727-49. Dziwenka, M., & Coppock, RW. (2016). Ginkgo biloba (Gupta RC ed.) Nutraceuticals: efficacy, safety and toxicity. Amsterdam: Academic Press/Elsevier.

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.