ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล

 คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ทั้งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกเซลล์ เป็นสารสำคัญในการสร้างฉนวนเส้นใยประสาท เป็นสารสำคัญในการสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ สร้างวิตามินดี สร้างน้ำดี และเป็นสารประกอบอื่น ๆ ที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้หลายประการ


      เมื่อเรา “อายุมากขึ้น” อวัยวะทุกส่วนของร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ประกอบกับ “พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารผิดหลักธรรมชาติ” จึงกระตุ้นให้อวัยวะที่มีหน้าที่ในการนำคอเลสเตอรอลไปใช้เสื่อมสภาพลง นำคอเลสเตอรอลไปใช้ได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายต้องปรับระดับคอเรสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้น จนสามารถนำคอเรสเตอรอลไปใช้ได้อย่างเพียงพอ เห็นได้จากภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งถือเป็นโรค NCDs ที่คนทั่วโลกเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ผู้รักสุขภาพหลายคนเริ่มตระหนักความสำคัญของการใส่ใจสุขภาพ แต่อาจยังเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลจนไม่กล้ารับประทานอาหารบางประเภท เช่น ไข่ กุ้ง ปลาหมึก เพราะกังวลว่าค่าคอเลสเตอรอลจะสูง อันเกิดจากความเข้าใจเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น โดยอาจยังรู้ไม่เท่าทันเกี่ยวกับ “การรับประทานไขมันทรานส์” และ “การบริโภคน้ำตาลเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน” ที่กำลังรณรงค์กันทั่วโลก รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ บทความนี้จึงขออธิบายถึง “ระดับไขมันในเลือดผิดปกติคืออะไร” เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่เราควรเข้าใจเบื้องต้น
       ระดับไขมันในเลือด มีอยู่ 4 ประเภทของไขมัน


       ประเภทที่ 1 คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol ตัวย่อ TC)
       เป็นค่าที่เกิดจากไขมันคอเลสเตอรอล 3 ชนิดรวมกันคือ ไขมันดี เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C), ไขมันร้าย แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) และไขมันร้ายกว่า วีแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (VLDL-C)
       ในปัจจุบันค่าคอเลสเตอรอลรวม (TC) นิยมให้มีค่าไม่เกิน 200 mg% แต่ตามแนวทางของ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดเวลเนสแคร์ แนะนำให้เลิกยึดถือตัวเลข 200 mg% เนื่องจากในผู้ที่ดูแลสุขภาพดีมาก รับประทานอาหารถูกต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะมีค่าไขมันดี (HDL-C) สูงมาก บางคนสูงถึง 100 mg% ทำให้ค่าคอเลสเตอรอลรวม (TC) เกินกว่า 200 mg% ไปมาก ซึ่งในกรณีนี้ก็ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดหรือภาวะไขมันพอกตับ โดยแนะนำให้ยึดเกณฑ์ “สัดส่วนของ Triglyceride/HDL-C และ LDL-C/HDL-C”


       ประเภทที่ 2 ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride ตัวย่อ Tri)
       ไขมันไตรกลีเซอไรด์ จัดอยู่ในกลุ่ม “ไขมันร้าย” ถ้ามีมากเกินไป จะไปเกาะตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตันและไปพอกตับ โดยสาเหตุที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง มีสาเหตุสำคัญ 5 ประการคือ
       1. รับประทานน้ำตาลและแป้งมากเกินไป
       2. รับประทานไขมันทรานส์
       3. ขาดการรับประทานผัก ซึ่งเป็นอาหารเส้นใยสูง
       4. ขาดการออกกำลังกาย
       5. มีความเครียดในจิตใจสูง


       ประเภทที่ 3 แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-Cholesterol ตัวย่อ LDL-C)
       ไขมันแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL-C) จัดอยู่ในกลุ่ม “ไขมันร้าย” ถ้ามีมากเกินไป จะไปเกาะตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตัน มีสาเหตุเดียวกันกับสาเหตุที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง


       ประเภทที่ 4 เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol ตัวย่อ HDL-C)
       ไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) จัดอยู่ในกลุ่ม “ไขมันดี” เพราะถ้ามีปริมาณมาก จะไปดึงไขมันร้าย Tri และ LDL-C ที่เกาะตามหลอดเลือดกลับไปใช้ประโยชน์ที่ตับ และช่วยสลายไขมันที่พอกตับ
       ค่าระดับไขมันต่าง ๆ ในเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย โดยเกณฑ์เบื้องต้นคือ
       1. HDL-C ควรมากกว่า 50 mg%
       2. Tri ควรต่ำกว่า 100 mg%
       3. LDL-C ควรต่ำกว่า 150 mg%


       เนื่องจาก HDL-C ทำงานตรงกันข้ามกับ Tri และ LDL-C คือ HDL-C ช่วยล้างหลอดเลือด แต่ LDL-C และ Tri จะไปพอกหลอดเลือด จากเกณฑ์เบื้องต้นถ้าเรานำมาเปรียบเทียบสัดส่วน จะได้ดังนี้
        Tri   /  HDL - C       =  100 mg%  /   50 mg%         น้อยกว่าหรือเท่ากับ     2.0
       LDL - C / HDL - C  = 150 mg%   /   50 mg%         น้อยกว่าหรือเท่ากับ     3.0

       
       ถ้าเรามีค่า HDL-C ต่ำลง Tri และ LDL-C และจะลดลงตามด้วย จึงจะปลอดภัยจากการมีไขมันร้าย
       เช่น HDL-C มีค่า 40 mg% ค่า Tri ต้องน้อยกว่า 80 mg% เพื่อไม่ให้อัตราส่วนเกิน 2.0 และ LDL-C ต้องน้อยกว่า 120 mg% เพื่อไม่ให้อัตราส่วนเกิน 3.0
       แต่อย่างไรก็ตามหาก HDL-C มากกว่า. 80 mg% ขึ้นไป ค่า Tri ก็ไม่ควรเกิน 150 mg% และสำหรับ LDL-C ไม่ควรเกิน 200 mg%


       หากเรามีพฤติกรรม 5 ข้อได้แก่ ลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต งดการรับประทานไขมันทรานส์ รับประทานผักเป็นอาหารหลัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ละวางความเครียด ทำจิตใจให้ผ่องใส ผลลัพธ์ที่ได้คือ “HDL-C จะสูงขึ้น Tri จะต่ำลง และ LDL-C จะต่ำลง” โดยหากปฏิบัติตาม 5 ข้ออย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแล้ว อัตราส่วนของ Tri/HDL-C และ LDL-C/HDL-C จะอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เป็นการดำเนินชีวิตตามกฎธรรมชาติให้ร่างกายกลับสู่กระบวนการซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ที่เสื่อมสภาพได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ร่างกายหมดความจำเป็นที่จะคงระดับคอเรสเตอรอลไว้ในเลือดที่ระดับสูง ระดับคอเรสเตอรอลในเลือดก็จะลดระดับลงสู่ปกติ แทนการรับประทานยาลดคอเรสเตอรอลระยะยาวที่ส่งผลเสียต่อตับและไต ทั้งยังเป็นการป้องกันและช่วยสลายไขมันที่ไปอุดตันหลอดเลือดหรือไปพอกตับ


       สำหรับผู้ที่ไม่สามารถปรับพฤติกรรมจนระดับไขมันอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย อาจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นตัวช่วย เช่น อาหารเสริมที่สกัดน้ำจากน้ำมันจากธรรมชาติต่าง ๆ เพื่อช่วยสลายไขมันที่เกาะตามหลอดเลือดและไขมันที่พอกตับ รวมทั้งเสริม
โคเอนไซม์ คิวเทน (CoQ10) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง สามารถสูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปตามหลอดเลือดได้ดี ทั้งนี้ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติจะไม่เกิดโทษต่อสุขภาพ ถ้าไม่เกิดการอุดตันที่หลอดเลือด สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดการอุดตันได้อย่างมากคือ มีการแข็งตัวของหลอดเลือด มีการอักเสบขึ้น ซึ่ง “ความเครียด” จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเสียหายของหลอดเลือดตามที่กล่าวมา รวมทั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย

ข้อมูล: นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.