เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไตของเราเสื่อม

       โรคไตเสื่อมเป็นโรคที่แพร่หลายมากในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคไต 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,500 - 2,000 บาท/ครั้ง หรือประมาณ 30,000 บาท/เดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือดหรือล้างไตผ่านหน้าท้องซึ่งเป็นค่าใช้ที่จ่ายสูง และเป็นที่น่าเสียดายว่า คนไทยประมาณ 8 ล้านคนนั้นมีเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อม จึงขาดโอกาสที่ดีในการที่จะได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่

 

        ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไตจะเสื่อม

        ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสไตเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปคือ

        1. ผู้ป่วยเบาหวาน

        2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

        3. ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคใดโรคหนึ่งหรือหลายโรคเป็นเวลานาน ๆ

        4. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเสื่อม

        5. ผู้ป่วยในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง

        6. ผู้ป่วยที่ผ่านการให้เคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง

        7. ผู้ป่วยที่ชอบรับประทานอาหารที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ

        8. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด

        9. ผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานหรือมีภาวะอารมณ์เครียด

        10. ผู้ที่เข้าสู่ภาวะสูงวัย

        11. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง หรือเส้นเลือดบริเวณอื่นตีบตัน

        12. ผู้ป่วยที่มีโรคนิ่วหรือติดเชื้อทางเดินปีสสาวะเป็นประจำ

        ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจสภาพการทำงานของไตด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ (lab) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่ามีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อจะได้มีโอกาสฟื้นฟูไตให้กลับมามีสภาพปกติได้

 

      อาการใดบ้างที่แสดงว่าอาจมีภาวะไตเสื่อม

      ผู้ที่ไตเสื่อมจนมีอาการผิดปกติแสดงออกให้สังเกตได้จะเป็นผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะท้าย ๆ แล้วอาการที่พบได้บ่อย ๆ เช่น

      1. ปัสสาวะมีฟองมาก เกิดจากมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมากทำให้ปีสสาวะเหนียวข้นจึงเกิดฟองเมื่อปัสสาวะลงในน้ำ

      2. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เนื่องจากหน่วยกรองปัสสาวะในไตเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถกรองน้ำปีสสาวะได้ตามปกติ ปัสสาวะจึงลดปริมาณลดลง

      3. มีอาการบวมตามขา หรือตามส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ใบหน้า หนังตาบน ถ้ามีอาการมากอาจบวมทั้งตัวผู้ป่วยในภาวะเช่นนี้ต้องเฝ้าระวังภาวะน้ำท่วมปอดเพราะเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

           อาการบวมเกิดจากระดับโปรตีนอัลบูมิน (albumin) ในเลือดลดลง เพราะโปรตีนอัลนูมินรั่วออกมาในปัสาวะ เนื่องจากไตไม่สามารถดูดชับโปรตีนอัลบูมินจากปัสสาวะกลับเข้าสู่กระแสเลือดได้หมด จึงทำให้มีโปรตีนอัลบูมินบางส่วนรั่วปนออกมากับปัสสาวะ ทำให้ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดลงลง

     4. มีอาการโลหิตจาง สามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีผิวที่ซีดลงกว่าเดิม เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง สาเหตุที่เม็ดเลือดแดงลดลง เพราะเมื่อไตเสื่อมสภาพลงจะทำให้ไตสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินได้น้อยลงฮอร์โมนชนิดนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าปริมาณฮอร์โมนลดลงเม็ดเลือดแดงในเลือดก็ลดลงตามไปด้วย

     5. มีผิวหนังแข็ง ดำคล้ำ และคัน อาการนี้เกิดจากมีภาวะระดับธาตุฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้ ธาตุนี้ไปสะสมที่ผิวหนังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนัง ทำให้แข็งขาดความยืดหยุ่น สีผิวเปลี่ยนเป็น ดำคล้ำ และผิวจะแห้งผิดปกติทำให้เกิดอาการคันตามมา

     6. มีอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย เกิดจากร่างกายขาดสมดุลของสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ เพราะไตไม่สามารถปรับสมดุลสารต่าง ๆ เหล่านี้ได้ นอกจากนี้อาการเหนื่อยง่ายยังเกิดจากภาวะโลหิตจางจากการขาดเม็ดเลือดแดงอีกด้วย

     7. มีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร เนื่องจากของเสียสะสมอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง โดยเฉพาะของเสียที่เกิดจากย่อยสลายและเผาผลาญสารประกอบโปรตีน ซึ่งทำให้เกิดการคั่งค้างของยูเรียในกระแสเลือดจำนวนมาก จึงเกิดอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร

    ผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการแสดงออกมา จนกว่าจะมีความผิดปกติทั้งหมดทุกข้อ ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยที่สูญเสียหน่วยกรองปัสสาวะในไตไปเป็นจำนวนมากแล้ว การฟื้นการทำงานของไตจะช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติทั้งหมด หากมีการดูแลพื้นฟูอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้โดยยังไม่ต้องเข้าสู่การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดด้วยการล้างช่องท้อง

 

        การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาภาวะไตเสื่อมในระยะเริ่มแรก

        การตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มทำได้โดยง่าย ปัจจุบันนี้มีเทคนิคในการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะ  ไตเสื่อมได้โดยละเอียดมีหลายวิธี โดยแนะนำวิธีง่ายๆ เสียค่าใช้จ่ายน้อยและผลก็ถูกต้องแม่นยำดีมาก ด้วยการตรวจหาค่าของเสียที่สะสมอยู่ในเลือด 2 ชนิด คือ

        1. BUN (Blood Urea Nitrogen) อ่านว่า “บียูเย็น” เป็นการตรวจหาระดับของเสีย คือยูเรียในเลือดจากการย่อยสลายและเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย จนเกิดของเสียขึ้นมาเป็น “แอมโมเนีย” สุดท้ายตับจะเปลี่ยน “แอมโมเนีย” ให้กลายเป็น “ยูเรีย”

            ถ้าไตทำงานได้ดีระดับของเสีย “ยูเรีย” ในเลือดจะตรวจพบไม่เกิน 25 mg% แต่ถ้าตรวจพบค่า “ยูเรีย ในเลือด หรือ BUN” เกินกว่า 25 m% จะเป็นข้อบ่งขี้ข้อหนึ่งว่าภาวะไตเสื่อมกำลังเริ่มต้นแล้ว

        2. CR (Creatinine) อ่านว่า “ครีเอทินีน” เป็นของเสียที่มาจากกล้ามเนื้อ มีค่าค่อนข้างคงที่ โดยปกติ ไตจะขับครีเอทีนีนออกมากับน้ำปัสสาวะ ทำให้ระดับครีเอทินีนในเลือดมีค่าไม่สูงเกินกว่า 125 mg% ดังนั้นหากพบค่าครีเอทินีนในเลือดสูงเกินกว่า 125 mg% ประเมินเบื้องต้นได้ว่าไตกำลังเข้าสู่ภาวะเสื่อม

         เนื่องจาก “ค่าครีเอทินีน” มีความแม่นยำในการบอกภาวะไตเสื่อมได้ดีกว่า “ค่าบียูเอ็น” เพราะมาจากของเสียที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณโปรตีนในอาหารเหมือนกับค่าบียูเอ็น จึงสามารถนำเอาค่าครีเอทินีนมาคำนวณหาค่าอัตราที่เลือดไหลผ่านไต (glomerular filtration rate) ตัวย่อคือ GFR ได้โดยคำนึงถึงน้ำหนัก อายุ เพศและเชื้อชาติ ค่า GFR ยิ่งสูง แสดงว่าเลือดยิ่งไหลผ่านไตมาก ประสิทธิภาพในการกรองของเสียทิ้งจะสูงตามไปด้วย

        3. การจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อมด้วยค่า GFR

           แบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ดังตารางการจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อม. ด้วยค่า GFR (glomerular filtration rate) ต่อไปนี้

 

   ระดับ                 

ค่า GFR (มล./นาที)                              

            สภาวะของไต                      

   ปริมาณเลือดไหลผ่านไต                                                         

ระดับ 1

มากกว่า 90 มล./นาที                                 

  ไตทำงานได้ตามปกติ

ผ่านไตมากกว่า 90 มล./นาที

ระดับ 2

ระหว่าง 60-90 มล./นาที

  ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 2

ผ่านไต 60-90 มล./นาที

ระดับ 3

ระหว่าง 30-59 มล./นาที

  ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 3

ผ่านไต 30-59 มล./นาที

ระดับ 4

ระหว่าง 15-29 มล./นาที

  ไตเสื่อมในระดับที่ 4

ผ่านไต 15-29 มล./นาที

ระดับ 5

น้อยกว่า 15 มล./นาที

  ไตเสื่อมในระดับที่ 5 หรือระดับที่   ต้องพึ่งพาการฟอกเลือดด้วย   เครื่องไตเทียม

ผ่านไตน้อยกว่า 15 มล./นาที

 


        4. การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม

           การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำโดยการตรวจหาค่าโปรตีนในปัสสาวะที่ได้จากการเก็บปัสสาวะในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าปริมาณมากกว่า 150 มก./วัน แสดงถึงว่าไตเริ่มทำงานผิดปกติ

           การตรวจให้แน่ชัดขึ้นอีกจะเป็นการตรวจหาโปรตีนเฉพาะชนิดคือ “อัลบูมิน” เรียกว่า “ไมโครอัลบูมิน” (micro albuminuria)” หากมีค่ามากกว่า 30 มก/วัน แสดงว่าไตเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว

           การตรวจคัดกรองเพื่อหาผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม จะอาศัยการตรวจง่ายสะดวกรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยมากคือ การตรวจหาค่าครีเอทินีนในเลือด ต้องมีค่าไม่เกิน 1.25 mg% ค่าบียูเอ็นในเลือดต้องมีค่า ไม่เกิน 25 mg% และค่าโปรตีนในปัสสาวะต้องไม่พบโปรตีนในปัสสาวะเลย เพียงใช้เวลาในการตรวจไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็จะทราบแล้วว่าเรามีภาวะไตเสื่อมหรือไม่

           จะเห็นได้ว่าการตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำได้ง่ายมาก สะดวกรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ส่วนคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องเข้าถึงบริการตรวจสุขภาพไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งถ้าได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้องตามหลักธรรมชาติ เราก็สามารถมีไตคุณภาพดีใช้งานได้ตลอดชีวิต อีกทั้งอวัยวะทุกส่วนในร่างกายจะได้รับการฟื้นฟูไปพร้อมกับการฟื้นฟูไตด้วย

 

 

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.