อะมิโนวิต รสธรรมชาติ
ข้อมูลผลิตภัณฑ์

อะมิโน วิต (Amino Vit) อาหารทดแทนโปรตีนสกัดจากธรรมชาติ ทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ ผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ได้แก่ มะเร็ง ไตเสื่อม เบาหวาน ภูมิแพ้ แพ้ภูมิตัวเอง ความดันโลหิต ภาวะไขมันพอกตับและภาวะตับแข็ง ภาวะไขมันในเลือด 
และโรคอ้วนที่ต้องการ "ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร" ผู้ที่ต้องการโปรตีนในการดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ วัยเด็กที่ต้องการพัฒนาการด้านร่างกายและการเรียนรู้ที่เหมาะสม คนวัยทำงานที่ต้องการพลังงาน ผู้สูงอายุที่ต้องการอาหารทดแทนในการ
ดูแลสุขภาพ ผู้ที่แพ้นมวัวและแลคโตส ผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก รวมทั้งผู้ที่ชอบออกกำลังกาย 

         อะมิโน วิต เป็นอาหารทดแทนโปรตีน พัฒนาสูตรโดยนายแพทย์บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ เพื่อลดปริมาณโปรตีนจากอาหารลงสู่ระดับที่ปลอดภัยและใช้กรดอะมิโนเข้าไปชดเชยปริมาณโปรตีนจากอาหาร ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น
 (Essential Amino Acid) 8 ชนิด และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) 12 ชนิด อย่างสมดุล รวมทั้งวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด ผ่านกระบวนการไอโซเลท (Isolate) และไฮโดรไลซ์ (Hydrolyzed) จึงทำให้
ได้โปรตีนบริสุทธิ์ มีคุณค่าทางอาหารสูง โมเลกุลเล็กร่างกายดูดซึมได้ทันที ปราศจากน้ำตาลแลคโตสและไขมัน 

*** มี 5 กลิ่น : ธรรมชาติ วานิลลา กาแฟ ชาเขียว และช็อคโกแลต

*** 1 กล่อง มี 30 ซอง ราคา 1,350 บาท

 

ส่วนประกอบสำคัญ

1. ไอโซเลท ซอย โปรตีน (Isolate Soy Protein) 5,000 มก. มีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่จำนวนมาก ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ปรับสมดุลฮอร์โมน ป้องกันมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน บำรุงผิวพรรณ และสามารถทดแทนมื้ออาหาร

2. ไฮโดรไลซ์ เวย์ โปรตีน (Hydrolyzed Whey Protein) 3,500 มก. คือเวย์โปรตีนที่ถูกผ่านกระบวนการไฮโดรไลซ์เพื่อย่อยเป็นเปปไทด์ ทำให้มีโปรตีนบริสุทธิ์สูงถึง 100% ไม่มีน้ำตาลแลคโตส ไม่มีไขมันร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุดและรวดเร็ว อีกทั้งยังทำให้มีโอกาสแพ้โปรตีนได้น้อยกว่าเวย์โปรตีนชนิดอื่น

3. ไอโซเลท เวย์ โปรตีน (Isolate Whey Protein) 3,000 มก. คือเวย์โปรตีนที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการแยกน้ำตาลแลคโตสและไขมันออก จนได้เวย์โปรตีนที่มีความเข้มข้นของโปรตีนสูง มากกว่า 90% ขึ้นไป

4. L-Glutamine 600 มก. เป็นกรดอะมิโนที่มีมากที่สุดในร่างกาย แต่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ในปริมาณน้อย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อ มีบทบาทสำคัญในการกำจัดแอมโมเนียส่วนเกิน ซึ่งเป็นของเสียของร่างกายที่อาจส่งผลต่อไต ช่วยให้ระบบการย่อยเป็นปกติ

5. L-Leucine 600 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่มีประโยชน์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้เซลล์ประสาทแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เช่น กระดูก ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระตุ้นการรักษาบาดแผล ช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

6. L-Isoleucine 300 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและการทำงานของระบบประสาท รวมไปถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ตับทำงานในการขจัดสารพิษได้ดีขึ้น การผลิตฮีโมโกลบิน และการควบคุมพลังงาน

7. L-Lysine 600 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยในการสร้างโปรตีนทุกชนิดในร่างกาย จำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและการสร้างกระดูกในวัยเด็ก ช่วยการดูดซึมแคลเซียมและคงความสมดุลของไนโตรเจนในวัยผู้ใหญ่ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน และเอนไซม์ ช่วยในการสร้างคอลลาเจนและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุน หากร่างกายได้รับโปรตีนชนิดนี้ไม่เพียงพอ อาจมีสัญญาณเตือนบางประการ เช่น เป็นโรคโลหิตจาง เมื่อยล้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และโรคนิ่วในไต

8. L-Valine 450 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ สมรรถนะของสมองและการประสานงานกันของกล้ามเนื้อรวมไปถึงการผลิตพลังงาน และรักษาสมดุลไนโตรเจนในเลือด

9. L-Methionine 300 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ การดูดซึมสังกะสี ซีลีเนียม และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในการย่อยสลายไขมัน ป้องกันการสะสมของไขมันในตับ ป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับอ่อน จึงช่วยแก้ปัญหาระบบการย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งเป็นสารต้านฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการแพ้ต่าง ๆ ยับยั้งการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ฮีสตามีนและสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ

10. L-Phenylalanine 450 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เป็นสารถ่ายทอดข้อมูลจากสมองสู่ประสาท ช่วยให้มีความทรงจำดี บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดความอยากอาหาร เพิ่มความตื่นตัวและความกระฉับกระเฉง รวมไปถึงการผลิตพลังงาน และรักษาสมดุลไนโตรเจนในเลือด

11. L-Arginine 250 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นเหมาะสมกับทารกและเด็ก ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต บำรุงสมองและพัฒนาการเรียนรู้ ป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้ใหญ่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญไขมันที่สะสมตามร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อกระชับ และควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี

12. มีวิตามินที่ร่างกายต้องการครบถ้วนทุกชนิด 10 มก.

13. ใช้ซูคราโลส 60 มก. เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ไม่กระตุ้นอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือด

14. มีส่วนประกอบของฟอสเฟต โพแทสเซียมและเกลือในปริมาณต่ำ

15. ไม่มีน้ำตาลและครีมเทียมเป็นส่วนประกอบ

บทความแนะนำ
กรดอะมิโนโปรตีนกับการดูแลสุขภาพ

       อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ไข่ นม เห็ด ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ มีโปรตีนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป โปรตีนเป็นสารอาหารที่ย่อยยากและต้องใช้พลังงานมากเพื่อย่อยโปรตีนให้แตกออกเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการใช้ 20 ชนิด การรับประทานโปรตีนจากอาหารชนิดใด ชนิดหนึ่งมักมีกรดอะมิโนไม่ครบ 20 ชนิด เราจึงจำเป็นต้องรับประทานโปรตีนจากอาหารอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนครบ 20 ชนิด และต้องรับประทานปริมาณมากจึงจะเพียงพอ เมื่อพยายามเสริมโปรตีนหรือรับประทานมากเกินไป ก็เกิดปัญหาย่อยไม่ทันและมีของเสียเกิดขึ้นจำนวนมากในร่างกาย เกิดสารพิษ และสารก่อ “มะเร็ง” นอกจากนี้โปรตีนเมื่อย่อยสลายในร่างกายจะเกิดสารแอมโมเนียขึ้น ซึ่งตับจะเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นยูเรียแล้วขับออกทางปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานหนักอันเป็นสาเหตุสำคัญของ “โรคไตเสื่อม”
       ทางออกที่ดีมากและปลอดภัยต่อผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ได้แก่ มะเร็ง ไตเสื่อม เบาหวาน ภูมิแพ้ แพ้ภูมิตัวเอง โรคไขมัน โรคอ้วน รวมทั้งผู้ที่ต้องการเสริมโปรตีนให้กับร่างกายคือ การลดปริมาณโปรตีนจากอาหารลงสู่ระดับที่ปลอดภัย และใช้กรดอะมิโนเข้าไปชดเชยปริมาณโปรตีนจากอาหาร
       การสร้างโปรตีนของกรดอะมิโนจะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) 8 ชนิด และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) 12 ชนิด อย่างสมดุล ซึ่งกรดอะมิโน แต่ละชนิดมีประโยชน์แตกต่างกันออกไปทั้งในแง่ของการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ฟื้นฟูสุขภาพให้ร่างกายมีพลังในการทำงาน
       อะมิโน วิต (Amino Vit) ได้ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพองค์รวม วัยทารกและเด็กที่ต้องการพัฒนาการร่างกาย สติปัญญาและการเรียนรู้ที่เหมาะสม คนวัยทำงานที่ต้องการพลังงาน ผู้สูงอายุที่ต้องการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ควบคู่ไปกับแนวทางอื่นๆ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ เช่น การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบ 3 ต่ำ คือ “ไขมันต่ำ แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” โดยรับประทานผักมาก มีเส้นใยสูงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตเสื่อม และมะเร็ง หรือการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบ 1 สูง 2 ต่ำ คือ “ไขมันสูง แป้งต่ำ โปรตีนต่ำ” ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก การดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตเสื่อม และมะเร็ง ทั้งนี้การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจำเป็นต้องเข้าใจประเภทของไขมันดี ไขมันร้าย และต้องจำกัดจำนวนไขมันหากต้องลดน้ำหนักส่วนเกิน

ข้อมูล: นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไตของเราเสื่อม

        โรคไตเสื่อมเป็นโรคที่แพร่หลายมากในปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคไต 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,500 - 2,000 บาท/ครั้ง หรือประมาณ 30,000 บาท/เดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือดหรือล้างไตผ่านหน้าท้องซึ่งเป็นค่าใช้ที่จ่ายสูง และเป็นที่น่าเสียดายว่า คนไทยประมาณ 8 ล้านคนนั้นมีเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อม จึงขาดโอกาสที่ดีในการที่จะได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่

 

        ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไตจะเสื่อม

        ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสไตเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปคือ

        1. ผู้ป่วยเบาหวาน

        2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

        3. ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคใดโรคหนึ่งหรือหลายโรคเป็นเวลานาน ๆ

        4. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไตเสื่อม

        5. ผู้ป่วยในกลุ่มโรคแพ้ภูมิตัวเอง

        6. ผู้ป่วยที่ผ่านการให้เคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง

        7. ผู้ป่วยที่ชอบรับประทานอาหารที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ

        8. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด

        9. ผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานหรือมีภาวะอารมณ์เครียด

        10. ผู้ที่เข้าสู่ภาวะสูงวัย

        11. ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง หรือเส้นเลือดบริเวณอื่นตีบตัน

        12. ผู้ป่วยที่มีโรคนิ่วหรือติดเชื้อทางเดินปีสสาวะเป็นประจำ

        ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจสภาพการทำงานของไตด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ (lab) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่ามีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อจะได้มีโอกาสฟื้นฟูไตให้กลับมามีสภาพปกติได้

 

      อาการใดบ้างที่แสดงว่าอาจมีภาวะไตเสื่อม

      ผู้ที่ไตเสื่อมจนมีอาการผิดปกติแสดงออกให้สังเกตได้จะเป็นผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะท้าย ๆ แล้วอาการที่พบได้บ่อย ๆ เช่น

      1. ปัสสาวะมีฟองมาก เกิดจากมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมากทำให้ปีสสาวะเหนียวข้นจึงเกิดฟองเมื่อปัสสาวะลงในน้ำ

      2. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เนื่องจากหน่วยกรองปัสสาวะในไตเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถกรองน้ำปีสสาวะได้ตามปกติ ปัสสาวะจึงลดปริมาณลดลง

      3. มีอาการบวมตามขา หรือตามส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ใบหน้า หนังตาบน ถ้ามีอาการมากอาจบวมทั้งตัวผู้ป่วยในภาวะเช่นนี้ต้องเฝ้าระวังภาวะน้ำท่วมปอดเพราะเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

           อาการบวมเกิดจากระดับโปรตีนอัลบูมิน (albumin) ในเลือดลดลง เพราะโปรตีนอัลนูมินรั่วออกมาในปัสาวะ เนื่องจากไตไม่สามารถดูดชับโปรตีนอัลบูมินจากปัสสาวะกลับเข้าสู่กระแสเลือดได้หมด จึงทำให้มีโปรตีนอัลบูมินบางส่วนรั่วปนออกมากับปัสสาวะ ทำให้ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือดลงลง

   4. มีอาการโลหิตจาง สามารถสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีผิวที่ซีดลงกว่าเดิม เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง สาเหตุที่เม็ดเลือดแดงลดลง เพราะเมื่อไตเสื่อมสภาพลงจะทำให้ไตสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินได้น้อยลงฮอร์โมนชนิดนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าปริมาณฮอร์โมนลดลงเม็ดเลือดแดงในเลือด     ก็ลดลงตามไปด้วย

     5. มีผิวหนังแข็ง ดำคล้ำ และคัน อาการนี้เกิดจากมีภาวะระดับธาตุฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้ ธาตุนี้ไปสะสมที่ผิวหนังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนัง ทำให้แข็งขาดความยืดหยุ่น สีผิวเปลี่ยนเป็น    ดำคล้ำ และผิวจะแห้งผิดปกติทำให้เกิดอาการคันตามมา

     6. มีอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย เกิดจากร่างกายขาดสมดุลของสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ เพราะไตไม่สามารถปรับสมดุลสารต่าง ๆ เหล่านี้ได้ นอกจากนี้อาการเหนื่อยง่ายยังเกิดจากภาวะโลหิตจางจากการขาดเม็ดเลือดแดงอีกด้วย

     7. มีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร เนื่องจากของเสียสะสมอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูง โดยเฉพาะของเสียที่เกิดจากย่อยสลายและเผาผลาญสารประกอบโปรตีน ซึ่งทำให้เกิดการคั่งค้างของยูเรียในกระแสเลือดจำนวนมาก จึงเกิดอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร

    ผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการแสดงออกมา จนกว่าจะมีความผิดปกติทั้งหมดทุกข้อ ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยที่สูญเสียหน่วยกรองปัสสาวะในไตไปเป็นจำนวนมากแล้ว การฟื้นการทำงานของไตจะช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติทั้งหมด หากมีการดูแลพื้นฟูอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้โดยยังไม่ต้องเข้าสู่การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดด้วยการล้างช่องท้อง

 

        การตรวจร่างกายเพื่อค้นหาภาวะไตเสื่อมในระยะเริ่มแรก

        การตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่มทำได้โดยง่าย ปัจจุบันนี้มีเทคนิคในการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะ  ไตเสื่อมได้โดยละเอียดมีหลายวิธี โดยแนะนำวิธีง่ายๆ เสียค่าใช้จ่ายน้อยและผลก็ถูกต้องแม่นยำดีมาก ด้วยการตรวจหาค่าของเสียที่สะสมอยู่ในเลือด 2 ชนิด คือ

        1. BUN (Blood Urea Nitrogen) อ่านว่า “บียูเย็น” เป็นการตรวจหาระดับของเสีย คือยูเรียในเลือดจากการย่อยสลายและเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย จนเกิดของเสียขึ้นมาเป็น “แอมโมเนีย” สุดท้ายตับจะเปลี่ยน “แอมโมเนีย” ให้กลายเป็น “ยูเรีย”

            ถ้าไตทำงานได้ดีระดับของเสีย “ยูเรีย” ในเลือดจะตรวจพบไม่เกิน 25 mg% แต่ถ้าตรวจพบค่า “ยูเรีย ในเลือด หรือ BUN” เกินกว่า 25 m% จะเป็นข้อบ่งขี้ข้อหนึ่งว่าภาวะไตเสื่อมกำลังเริ่มต้นแล้ว

        2. CR (Creatinine) อ่านว่า “ครีเอทินีน” เป็นของเสียที่มาจากกล้ามเนื้อ มีค่าค่อนข้างคงที่ โดยปกติ ไตจะขับครีเอทีนีนออกมากับน้ำปัสสาวะ ทำให้ระดับครีเอทินีนในเลือดมีค่าไม่สูงเกินกว่า 125 mg% ดังนั้นหากพบค่าครีเอทินีนในเลือดสูงเกินกว่า 125 mg% ประเมินเบื้องต้นได้ว่าไตกำลังเข้าสู่ภาวะเสื่อม

           เนื่องจาก “ค่าครีเอทินีน” มีความแม่นยำในการบอกภาวะไตเสื่อมได้ดีกว่า “ค่าบียูเอ็น” เพราะมาจากของเสียที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณโปรตีนในอาหารเหมือนกับค่าบียูเอ็น   จึงสามารถนำเอาค่าครีเอทินีนมาคำนวณหาค่าอัตราที่เลือดไหลผ่านไต (glomerular filtration rate) ตัวย่อคือ GFR ได้โดยคำนึงถึงน้ำหนัก อายุ เพศและเชื้อชาติ ค่า GFR ยิ่งสูง แสดงว่าเลือดยิ่งไหลผ่านไตมาก ประสิทธิภาพในการกรองของเสียทิ้งจะสูงตามไปด้วย

        3. การจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อมด้วยค่า GFR   แบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ดังตารางการจัดระดับความรุนแรงของภาวะไตเสื่อม. ด้วยค่า GFR (glomerular filtration rate) ต่อไปนี้

ระดับ

ค่า GFR (มล./นาที)

สภาวะของไต

ปริมาณเลือดไหลผ่านไต

ระดับ 1

มากกว่า 90 มล./นาที

ไตทำงานได้ตามปกติ

ผ่านไตมากกว่า 90 มล./นาที

ระดับ 2

ระหว่าง 60-90 มล./นาที

ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 2

ผ่านไต 60-90 มล./นาที

ระดับ 3

ระหว่าง 30-59 มล./นาที

ไตเริ่มเสื่อมในระดับที่ 3

ผ่านไต 30-59 มล./นาที

ระดับ 4

ระหว่าง 15-29 มล./นาที

ไตเสื่อมในระดับที่ 4

ผ่านไต 15-29 มล./นาที

ระดับ 5

น้อยกว่า 15 มล./นาที

ไตเสื่อมในระดับที่ 5 หรือระดับที่ต้องพึ่งพาการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผ่านไตน้อยกว่า15 มล./นาที

 

        4. การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม

            การตรวจปัสสาวะเพื่อหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำโดยการตรวจหาค่าโปรตีนในปัสสาวะที่ได้จากการเก็บปัสสาวะในเวลา 24 ชั่วโมง ถ้าปริมาณมากกว่า 150 มก./วัน แสดงถึงว่าไตเริ่มทำงานผิดปกติ

            การตรวจให้แน่ชัดขึ้นอีกจะเป็นการตรวจหาโปรตีนเฉพาะชนิดคือ “อัลบูมิน” เรียกว่า “ไมโครอัลบูมิน” (micro albuminuria)” หากมีค่ามากกว่า 30 มก/วัน แสดงว่าไตเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว

           การตรวจคัดกรองเพื่อหาผู้ป่วยไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม จะอาศัยการตรวจง่ายสะดวกรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยมากคือ การตรวจหาค่าครีเอทินีนในเลือด ต้องมีค่าไม่เกิน 1.25 mg% ค่าบียูเอ็นในเลือดต้องมีค่า   ไม่เกิน 25 mg% และค่าโปรตีนในปัสสาวะต้องไม่พบโปรตีนในปัสสาวะเลย เพียงใช้เวลาในการตรวจไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็จะทราบแล้วว่าเรามีภาวะไตเสื่อมหรือไม่

         จะเห็นได้ว่าการตรวจหาภาวะไตเสื่อมในระยะแรกเริ่ม ทำได้ง่ายมาก สะดวกรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้เบื้องต้นว่าโรคไตเสื่อมคืออะไร มีสาเหตุใดบ้างที่จะทำให้ใตเสื่อม และตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ส่วนคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องเข้าถึงบริการตรวจสุขภาพไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่าตัวเองมีภาวะไตเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งถ้าได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้องตามหลักธรรมชาติ เราก็สามารถมีไตคุณภาพดีใช้งานได้ตลอดชีวิต อีกทั้งอวัยวะทุกส่วนในร่างกายจะได้รับการฟื้นฟูไปพร้อมกับการฟื้นฟูไตด้วย

 

เพราะเหตุใดไตเราจึงเสื่อม

        ภาวะไตเสื่อม ถือเป็นโรค NCDs ที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงมาก ในปี พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่า มีผู้ป่วยภาวะไตเสื่อมมากกว่า 12 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 17 ของประชากร ความน่ากลัวของภาวะนี้ คือ ภาวะความเสื่อมจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา เมื่อภาวะความเสื่อมเข้าสู่ระดับ 5 เรียกภาวะนี้ว่า ไตวาย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือการฟอกเลือดทางหน้าท้อง ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตในเวลาต่อมา

        การทำงานของไต ในการขับของเสียออกมากับปัสสาวะ เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจ (Descending Aorta) ส่งเลือดผ่านเข้าไตทั้ง 2 ข้างทางหลอดเลือดแดงไต (Renal Artery) และหลอดเลือดแดงไตแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงฝอย ประมาณ 1 ล้านหน่วย ในหน่วยไต (nephron) และเลือดจะไหลกลับทางหลอดเลือดดำฝอยในหน่วยไต (nephron) ทำให้เกิดการขับน้ำปัสสาวะออกทางท่อเล็ก ๆ  ในหน่วยใต (nephron) เรียกท่อเล็ก ๆ นี้ว่า "tubule" จากหน่วยไต (nephron) ที่มีจำนวนข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย จะเกิดการรวบรวมน้ำปัสสาวะที่กรวยไต (Pelvis of Kidney) แล้วขับออกทางท่อปัสสาวะจากไต (Ureter) ลงสู่กระเพาะปัสสาวะ

        ไตของเรามีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบด้วยหน้าที่หลักคือ

        1. กรองของเสียจากในเลือดแล้วขับถ่ายออกมากับน้ำปัสสาวะ

             ของเสียหลักที่ไตขับทิ้งคือ “ยูเรีย” ซึ่งได้จากการที่ร่างกายย่อยสลายโปรตีน แล้วเกิดสารแอมโมเนีย (Ammonia) แอมโมเนียมีพิษต่อร่างกายสูงมาก ตับจะรีบจัดการเปลี่ยนแอมโมเนียในเลือดให้เป็นยูเรีย ซึ่งมีพิษต่อร่างกายลดลง ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจะเป็นภาระหนักทั้งของตับและไต เพราะตับต้องเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นยูเรีย และไตต้องคอยขับยูเรียออกมากับปัสสาวะ ส่วนผู้ป่วยโรคไตเสื่อมต้องลดปริมาณการรับประทานโปรตีนลงเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักและเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น

        2. ปรับสมดุลน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

            เมื่อเราดื่มน้ำมากเกินกว่าที่ร่างกายเราต้องใช้ ไตก็จะขับปัสสาวะออกมามากขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าเรารับประทานน้ำน้อยเกินไป ไตจะขับปัสสาวะลดลงเพื่อรักษาน้ำไว้ในร่างกายให้เพียงพอต่อความจำเป็นที่ต้องการใช้ การทำหน้าที่ปรับปริมาณน้ำในร่างกายให้เหมาะสม ไตต้องทำงานร่วมกับต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ที่ผลิตฮอร์โมนซึ่งคอยควบคุมการขับน้ำจากร่างกาย

        3. ปรับสมดุลกรดและด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

           เลือดของคนเราควรมี “ค่าความเป็นกรดและด่าง” หรือค่าพีเอช (pH-Potential Hydrogen) ที่เหมาะสมอยู่ที่ 7.4 เพราะจะทำให้การทำงานของเซลล์ทุกเซลล์มีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าเลือดมีความเป็นกรดสูงเกินไป ไตจะขับกรดออกมากับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าเลือดมีความเป็นด่างมากเกินไป ไตจะลดการขับกรดลง การควบคุมระดับความเป็นกรดและด่างในเลือด ไตต้องทำงานร่วมกับปอดด้วย

        4. ปรับสมดุลของเกลือแร่ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

           เกลือแร่ที่ไตต้องคอยปรับระดับให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ก็คือ โซเดียม โพแทสเชียม คลอไรด์ ฟอสฟอรัส และแคลเชียม ส่วนที่ทำหน้าที่ปรับสมดุลเกลือแร่ของไต คือส่วนที่เรียกว่า “ท่อไต (Renal Tubule)”

        5. ปรับปริมาณเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

            ไตมีกลไกการควบคุมให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดงมากหรือน้อย ด้วยการผลิตฮอร์โมนชื่อ อีริโทรพอยอีติน (Erythropoietin) จากเซลล์ในเนื้อเยื่อของไตที่เรียกว่า อินเตอร์สติเชียลทิสชู (Interstitial Tissue)

            ถ้าต้องการให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงมาก ไตก็จะผลิตฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินออกมามาก ในสภาวะที่ไตเสื่อมสภาพจากโรคไตวายเรื้อรัง ไตจะผลิตฮอร์โมนอีริโทรพอยอีตินได้ลดลง ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงลดลง จึงทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อมมีเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดน้อย ที่เรานิยมเรียกว่า “ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง”

        6. ผลิตฮอร์โมนและวิตามิน ได้แก่

           6.1 ฮอร์โมนเรนิน (Renin)

               ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตและการดูดซึมเกลือแร่ที่ไต เมื่อไตเสื่อมการผลิตฮอร์โมนเรนินและการดูดซึมเกลือแร่จะผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและสมดุลของเกลือแร่แปรปรวน

           6.2 ฮอร์โมนอีริโทรพอยอีติน

                ช่วยกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง เมื่อไตเสื่อมทำให้การผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ลดลงจึงเกิดภาวะซีดตามมา

           6.3 วิตามินดี

                ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร และช่วยเสริมสร้างกระดูก เมื่อไตเสื่อมการผลิตวิตามินดีก็ลดลง มีผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดลง ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอ

 

        ภาวะไตเสื่อม คือ การที่หน่วยไต (nephron) มีการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงฝอย หรือหลอดเลือดดำฝอยในหน่วยไต (nephron) ทำให้เลือดไหลผ่านไตได้น้อยลง (ค่า eGFR ลดลง) การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดเหล่านี้มีสาเหตุหลายประการ

        1. ความชราทำให้ไตเสื่อม

           เมื่อเราอายุมากขึ้น จำนวนหน่วยกรองปัสสาวะในไตจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงตามธรรมชาติ หากเรารู้จักเลือกรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ นอกจากจะช่วยให้การเสื่อมสภาพของไตเกิดขึ้นช้าลง ยังช่วยในการฟื้นฟูไตอีกด้วย ทั้งยังเป็นการลดภาระการทำงานของไตลง

        2. โรคเบาหวานทำให้ไตเสื่อม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ไตเสื่อมคือ โรคเบาหวาน

            ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมากเท่าไร       ไตจะเสื่อมเร็วและเสื่อมรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากน้ำตาลระดับสูงในเลือดจะก่อให้เกิดการอักเสบในเซลล์ ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งเซลล์ของผนังเส้นเลือดด้วย เมื่อเกิดการอักเสบก็จะเกิดการเสื่อมสภาพตามมา

           หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุม “ระดับน้ำตาลที่ได้จากการเจาะเลือด” และ “ค่าน้ำตาลสะสม” หรือ HbA1c-Hemoglobin A1c ได้ดีจาก “การควบคุมอาหาร” ไตของท่านก็จะหยุดเสื่อมจากโรคเบาหวาน สาเหตุรองลงมาคือ ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาเบาหวาน เพราะสารเคมีที่ใช้ทำยาทุกชนิดต้องถูกขับทิ้งออกทางไต การรับประทานเป็นเวลานานจึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ไตมีโอกาสเสื่อมจากยา ส่วนการฉีดยาเบาหวานไม่ทำให้ไตเสื่อม

        3. โรคความดันโลหิตสูงทำให้ไตเสื่อม เป็นสาเหตุที่พบบ่อยรองลงมาจากโรคเบาหวาน

            ความดันโลหิตที่สูงมากจะทำให้เส้นเลือดในหน่วยกรองปัสสาวะในไต ซึ่งมีขนาดเล็กมากและบอบบางมาก เกิดความเสียหายและเสื่อมสภาพได้ง่าย ในขณะเดียวกันไตยิ่งเสื่อมมากเท่าไร เส้นเลือดในไตที่เสื่อมจะยิ่งไปขัดขวางไม่ให้เลือดไหลผ่านไตได้สะดวก ก็จะยิ่งไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นอีก เรียกได้ว่าเป็น “วงจรแห่งความเสื่อม” นอกจากนี้ยาควบคุมความดันโลหิต ก็มีผลข้างเคียงทำให้ไตเสื่อม เช่นเดียวกับยาควบคุมระดับน้ำตาล      ในเลือด

           ความดันโลหิตในคนเรา ปกติควรมีค่าตัวบนขณะที่หัวใจบีบตัว (Systolic) ไม่เกิน 140 มม.ปรอท (mmHg) และควรมีค่าตัวล่างขณะที่หัวใจคลายตัว (Diastolic) ไม่เกิน 90 มม.ปรอท ถ้าควบคุมได้ในระดับดังกล่าวจะไม่ทำให้ไตเสื่อม

        4. โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองทำให้ไตเสื่อม

            ผู้ที่ไตเสื่อมจากภูมิคุ้มกันกลับมาทำร้ายไตตัวเอง มักพบได้ตั้งอายุยังไม่มาก บางรายไตเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 ปี หรือบางรายก็อาจเป็นในตอนสูงอายุก็ได้

           โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่กลับมาทำร้ายร่างกายเรา แทนที่จะคอยป้องกันโรคให้กับเรา เช่น เอสแอลอี (SLE) รูมาตอยด์ สะเก็ดเงิน หนังแข็ง เบาหวานชนิดที่ 1 ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเหล่านี้มากขึ้นกว่าในอดีตมาก สาเหตุสำคัญในการเกิดโรคเหล่านี้มาจากความเครียด การรับประทานผิดกฎธรรมชาติ และการใช้ชีวิตที่ผิดธรรมชาติ

        5. โรคพันธุกรรมทำให้ไตเสื่อม

           โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ไตเสื่อมมีหลายประเภท บางชนิดเกิดจากขนาดไตเล็กกว่าปกติ บางชนิดมีถุงน้ำจำนวนมากอยู่ในไต บางคนเกิดมาอาจมีไตเพียงข้างเดียว ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวข้างต้นมาตั้งแต่แรกเกิด ไตจะทำงานหนักกว่าคนปกติทั่วไปมาตังแต่เด็ก เพราะว่าจำนวนหน่วยกรองปัสสาวะในไตจะมีจำนวนน้อยกว่าคนทั่วไป จึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายและไตตั้งแต่วัยเด็ก หากดูแลไม่ดีหรือไม่ถูกต้อง ไตก็จะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุยังไม่มาก หลักการในการดูแลจะเป็นหลักการเดียวกันกับไตเสื่อมจากภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง

        6. ผู้ที่มีไตเพียงข้างเดียวทำให้ไตที่เหลือเสื่อมได้ง่าย

           สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ที่มีไตปกติมาแต่กำเนิด แต่เหลือไตข้างเดียวในเวลาต่อมาก็คือ การบริจาคไตให้กับญาติ การเกิดอุบัติเหตุทำให้ต้องตัดไตทิ้ง ผู้ที่มีมะเร็งเกิดขึ้นที่ไตและแพทย์ได้ผ่าตัดไตข้างที่เกิดมะเร็งออกไป    แนวทางการรักษาผู้ที่ไตเสื่อมด้วยสาเหตุนี้ ยังคงใช้แนวทางเดียวกับผู้ที่ไตเสื่อมจากสาเหตุโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองทำให้ไตเสื่อม และโรคพันธุกรรมทำให้ไตเสื่อม

        7. การขาดเลือดมาเลี้ยงไตเนื่องจากโรค หรือภาวะบางประการทำให้ไตเสื่อม

           มีสาเหตุบางประการที่ทำให้เลือดมาเลี้ยงไตน้อยกว่าปกติ เช่น การเสียเลือดเป็นจำนวนมาก การขาดน้ำในร่างกาย การติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง จึงทำให้ไตเสื่อมสภาพแบบเฉียบพลัน หากสาเหตุนี้คงอยู่ต่อเนื่องนานจะทำให้ไตเสื่อมสภาพแบบถาวรได้ สำหรับผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน    ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เส้นเลือดที่มาที่ไตตีบตันเช่นเดียวกัน

        8. การรับประทานโปรตีนเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม

           ปัจจุบันนี้รูปแบบของอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม คนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม ถั่ว และเห็ดต่าง ๆ ถ้ารับประทานมากจนเกินไป ไตจะต้องทำงานหนักเพื่อขับของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนและการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย

           อาหารโปรตีนสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราไตเสื่อมมากกว่าอาหารที่มีเกลือสูง โดยทั่วไปเมื่อไตเสื่อม คนส่วนใหญ่ก็จะหยุดรับประทานเค็ม แต่ไม่ลดการรับประทานอาหารโปรตีนสูงลง ซึ่งจะไม่ทำให้ไตของผู้ป่วยดีขึ้นแต่อย่างใดเลย

        9. การรับประทานเกลือเป็นจำนวนมากทำให้ไตเสื่อม

           การรับประทานเกลือมากเกินไปทำให้เป็นภาระให้ไตต้องขับทิ้งมากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากการหยุดรับประทานเกลืออาจทำให้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงในเลือดต่ำมากจนถึงระดับอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมโดยละเอียด

        10. การได้รับสารพิษและสารเคมีทำให้ไตเสื่อม

             รูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคปัจจุบันนี้ ทำให้คนเราได้รับสารเคมีเป็นจำนวนมาก ทั้งจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อนมากับอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งยารักษาโรคต่าง ๆ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้   ไตต้องทำงานหนัก ไตอ่อนแอลงจนเสื่อมสภาพในที่สุด นอกจากนั้นความเครียดจากการทำงาน หรือความเครียดจากความคิดและอารมณ์ ก็มีส่วนทำให้เกิดสารพิษขึ้นในร่างกายส่งผลเสียทำให้ไตเข้าสู่ภาวะเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น

        11. เคมีบำบัด

            เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ทำให้หลอดเลือดที่ไตและร่างกายส่วนอื่น ๆ เสื่อม

        12. มีภาวะฉุกเฉินที่ทำให้ความดันโลหิตตกลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง (ภาวะ Shock) จนทำให้เลือดไหลผ่านไตน้อยลงอย่างเฉียบพลัน เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียนรุนแรง ติดเชื้อในกระแสเลือดจนเกิดภาวะช็อก จะทำให้หลอดเลือดในหน่วยไต (nephron) ได้รับความเสียหาย

        13. มีภาวะนิ่วไปอุดตันทางเดินปัสสาวะบางส่วน ทำให้เกิดแรงดันตีกลับไปที่ไตทำให้ไตพองตัว หน่วยไตได้รับความเสียหาย

        14. มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แล้วลุกลามเข้าไปในไตจนเกิดความเสียหายต่อหน่วยไต (nephron)

 

        สาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นสามารถป้องกันได้ หากเราเริ่มลงมือป้องกันไตเสื่อมตั้งแต่ไตยังมีคุณภาพดี      เราจะมีไตที่มีคุณภาพดีไว้ใช้งานได้ตลอดชีวิต หากท่านเริ่มรู้ตัวว่าไตเสื่อม การเริ่มดูแลตนเองและฟื้นฟูโดยเร็วที่สุดโดยปฏิบัติอย่างถูกต้องทุกประการ ไตของเราจะสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติดังเดิม แม้ว่าเราต้องฟอกไตแล้วก็ตาม

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.