CAA      ซื้อสินค้า
ข้อมูลผลิตภัณฑ์

ความเสื่อมของเซลล์จากการกระทำของอนุมูลอิสระและการอักเสบภายในร่างกาย นำมาซึ่งโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ไขมันอุดตันหลอดเลือด ภาวะไตเสื่อม โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ แพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคมะเร็ง ล้วนเป็นผลมาจากวิถีการดำเนินชีวิต ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และสารพิษจากสิ่งแวดล้อม “ผลิตภัณฑ์ CAA” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีสารสกัดจากธรรมชาติช่วยต้านอนุมูลอิสระและสารช่วยฟื้นฟูอวัยวะ 10 ชนิด มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ช่วยฟื้นฟูเซลล์และชะลอความเสื่อมในอวัยวะต่าง ๆ ให้แข็งแรงขึ้น และช่วยหยุดยั้งการเสื่อมของไตได้เป็นอย่างดี เหมาะกับผู้ที่ดูแลสุขภาพองค์รวม ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคแพ้ภูมิตนเอง ผู้ที่มีภาวะตับแข็ง และโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพจากภาวะไตเสื่อมและภาวะมะเร็ง ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติ ร่วมกับแนวทางอื่น ๆ

*** 1 กล่อง มี 30 แคปซูล ราคา 1,200 บาท

ส่วนประกอบสำคัญ

1 แคปซูล 550 มก. ประกอบด้วยสารสกัดจากธรรมชาติช่วยต้านอนุมูลอิสระและสารช่วยฟื้นฟูอวัยวะ 10 ชนิด ดังนี้

1. สารสกัดออกฤทธิ์จากถั่วเหลือง (Soy Protein Isolate) 116 มก. อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น ทำหน้าที่ซ่อมเซลล์ ซ่อมแซมอวัยวะที่เสียหายหรือเสื่อมโทรม มีสารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างใส และเพิ่มความหนาแน่นของเส้นใยคอลลาเจน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก

2. สารสกัดจากทับทิม (Pomegranate Extract) 95 มก. อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphynol) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ลดความเสื่อมสภาพของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง คงความชุ่มชื้นให้ผิวเนียนนุ่ม กระจ่างใส ลดการเกรียมจากแสงแดด แตกลายงา และซ่อมแซมผิวที่เสื่อมโทรม

3. สารสกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส (Pine Bark Extract) 30 มก. เป็นสารฟลาโวนอยด์ กลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ที่สำคัญเรียกว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) รวมกันในรูปของ Oligomeric Proanthocyanidin Complexes (OPC) ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง (Super Anti-Oxidant) สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ทุกรูปแบบและจำนวนมาก ช่วยเสริมฤทธิ์การทำงานของวิตามินซีเเละวิตามินอีในการป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายตลอดเวลา ต้านการอักเสบในระดับเซลล์ ช่วยต่อต้านความเสื่อมของหลอดเลือดที่ตา-ไต-หัวใจ-สมอง ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความเสื่อมในระบบการทำงานของสมองและเส้นประสาทส่วนปลายทุกส่วนของร่างกาย อีกทั้งช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง

4. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) 30 มก. เป็นสารฟลาโวนอยด์ กลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ เรียกว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) รวมกันในรูปของ Oligomeric Proanthocyanidin Complexes (OPC) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง (Super Anti-Oxidant) เช่นเดียวกับสารสกัดจากเปลือกสน ช่วยเสริมฤทธิ์สาร OPC จากเปลือกสน

5. สารสกัดจากพริกไทยดำ (Black Pepper Extract) 10 มก. สารที่ให้ความเผ็ดในพริกไทยดำเป็นสารประเภท อัลคาลอยด์ ที่ประกอบไปด้วยสารพิเพอริน (Piperine) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการต้านเซลล์มะเร็ง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดความเสื่อมและการถูกทำลายของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเร่งการเผาผลาญอาหารและสลายไขมัน จึงทำให้ร่างกายได้พลังงานมากขึ้น ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและลำไส้ทำงานดีขึ้น ช่วยขับลม และเพิ่มการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ซีลีเนียม วิตามินบี เบต้าแคโรทีน เคอร์คิวมิน

6. สารสกัดจากชาเขียว (Green Tea Extract) 45 มก. มีสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ประเภทฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ในระดับสุงสุด โดยให้สารสำคัญในรูปแบบ Epigallocatechin-3-gallate (EGCG) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ช่วยต่อต้านความเสื่อมในอวัยวะทุกส่วน ความเสื่อมในหลอดเลือดและระบบประสาท ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือด รวมทั้งต่อต้านและลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย

7. สารสกัดจากงาดำ (Black Sesame Seed Extract) 10 มก. มีสารที่สำคัญคือ เซซามิน (Sesamin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ช่วยต่อต้านการทำลายของอนุมูลอิสระอย่างกว้างขวาง ยับยั้งการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ช่วยการเผาผลาญไขมันในตับ ควบคุมความดันโลหิต และต่อต้านเซลล์มะเร็ง

8. ฟีนูกรีก (Trigonelline) หรือลูกซัด 68 มก. เป็นสมุนไพรเก่าแก่มากที่หมออายุรเวทอินเดียนำมาใช้ในการรักษา เบาหวาน ไขข้ออักเสบและขับน้ำนม เนื่องจากมีสาร Trigonelline ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดด้วยการเพิ่มหน่วยรับน้ำตาลในเลือด ในเซลล์ของร่างกาย (Insulin Receptor) และช่วยลดการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ จึงช่วยลดความเสื่อมของไตได้เป็นอย่างดี

9. แอล-อาร์จินีน (L-Arginine) 25 มก. เป็นกรดอะมิโนที่มีโมเลกุลมหัศจรรย์ มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมหาศาล มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้หลอดเลือดขยาย โดยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานของต่อมไทมัส อีกทั้งช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านมะเร็ง

10. แอล-ไลซีน (L-Lysine) 25 มก. เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ต้องรับโดยตรงจากอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น ร่างกายสร้างเองไม่ได้ มีความจำเป็นอย่างมากในการช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันฮอร์โมนและเอนไซม์หลายชนิด

ข้อมูลเชิงวิชาการ

สารต้านอนุมูลอิสระ

       สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation) กระบวนการออกซิเดชันมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการออกซิเดชันที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม ทำให้แอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน นอกจากนี้กระบวนการออกซิเดชันยังเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เราใช้ออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไปเผาผลาญอาหารที่ร่างกายได้รับให้เป็นพลังงานสำหรับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radical) ขึ้นได้ โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นในร่างกายคือ อายุ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตและรับประทานอาหารผิดหลักธรรมชาติ เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานไขมันทรานส์จากขนม เบเกอรี่ การใช้น้ำมันปรุงอาหารไม่เหมาะกับประเภทของอาหาร การนำน้ำมันทอดอาหารที่อุณหภูมิสูงมาใช้ซ้ำ การรับประทานอาหารปิ้งย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง อาหารแปรรูป สารปรุงแต่งอาหาร และแอลกอฮอล์ การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมีต่าง ๆ การอยู่ท่ามกลางมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นควันรถ ควันบุหรี่ รังสียูวี สารเคมีปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินกว่าความสามารถของสารต้านอนุมูลอิสระจะจัดการได้ อนุมูลอิสระเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่สำคัญในร่างกาย เช่น โปรตีน ไขมัน และดีเอ็นเอที่อยู่ในร่างกาย ทำให้เซลล์เสื่อม เกิดการอักเสบระดับเซลล์ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายและเกิดโรคจากความเสื่อมต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ เกิดเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับไขมันร้าย (LDL) ทำให้เกิดออกซิไดซ์แอลดีแอล (Oxidized LDL) ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดการอุดตันของหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

       โดยทั่วไปร่างกายของเรามีกลไกในการกำจัดอนุมูลอิสระอยู่ในตัวเองอยู่แล้วที่เรียกว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant)” ซึ่งได้รับจากวิตามิน เกลือแร่และสารอาหารที่มีอยู่ในร่างกาย แต่การที่จะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเพียงพอนั้น เราต้องทานผักผลไม้เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือควรไม่ผ่านกรรมวิธีการปรับแต่งพันธุกรรมหรือใช้ยาฆ่าแมลง อีกทั้งปัจจัยอื่น ๆ ด้านอายุ การดูดซึมอาหารที่จำเป็นทำได้น้อยลง พฤติกรรม การดำเนินชีวิตและรับประทานอาหารไม่เหมาะสม รวมทั้งสภาวะแวดล้อมมลพิษต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น ดังนั้นบุคคลทุกเพศทุกวัยจึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอต่อความต้องการ หรือเสริมวิตามินและ แร่ธาตุจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น ลดความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระด้วยการลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย หรือลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ส่งผลให้การทำงานของร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยอย่างแพร่หลาย เป็นที่รู้จักในปัจจุบันและน่าสนใจ มีดังนี้

       1. วิตามินซี (Vitamin C)
         บทบาทที่สําคัญอย่างหนึ่งของวิตามินซีคือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการถูกทําลายจากอนุมูลอิสระ (Free Radical) นับเป็นวิตามินที่มีความสามารถสูงและความไวในการปกป้องร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในระหว่างการเผาผลาญของเซลล์ปกติ และจากการได้รับสารพิษหรือมลพิษ ทำหน้าที่ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของไขมันร้าย (LDL) จากขบวนการเปอร์ออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว โดยยับยั้งอนุมูลอิสระที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำ อีกทั้งยังช่วยในการเปลี่ยนวิตามินอีที่ถูกใช้ในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ (Vitamin E Radical) กลับเป็นวิตามินอีตามเดิม
       นอกจากนี้ยังผลิตและเสริมสร้างการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวของระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมและเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากร่างกายเกิดการติดเชื้อและมีความเครียด ปริมาณวิตามินซีในเลือดจะลดลง โดยผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงพบมากในส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม มะเขือเทศ สตรอเบอรี กีวี ผักเคล ใบมะรุม ผักปวยเล้ง คะน้า บล็อกโคลี พริกหวาน

       2. วิตามินอี (Vitamin E)
         วิตามินอี เป็นวิตามินละลายในไขมันที่สำคัญสำหรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) และช่วยยับยั้งการสลายของเยื่อหุ้มเซลล์หรือการทำลายเนื้อเยื่อโดยอนุมูลอิสระ ป้องกันการออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acids) และวิตามินเอ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์อวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งยังช่วยป้องกันเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลายได้
         เราจะพบอาหารที่พบวิตามินอีได้สูงทั้งในเนื้อเยื่อของสัตว์และในพืช แต่จะพบจากพืชได้มากกว่า โดยเฉพาะจากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันข้าวโพด มันมะกอก น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันรำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่วเปลือกแข็ง เช่น เมล็ดอัลมอนด์ ถั่วสิสง รวมทั้งพบในเนื้อสัตว์ เนยและไข่ ผักผลไม้ เช่น มะเขือเทศสด หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง ผักโขม มะม่วง ข้าวโพด และผักผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน เช่น แครอท ซึ่งเป็นแหล่งที่มีวิตามินอีเป็นจำนวนมาก ส่วนที่พบในเนื้อเยื่อของสัตว์ จะมีปริมาณที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์

       3. วิตามินเอ (Vitamin A)
         วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบ ทนต่อความร้อน ไม่ทนต่อแสงอัลตราไวโอเล็ต อีกทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหนึ่งที่มีความสำคัญในการดูแลผิวพรรณ ดวงตา การเจริญเติบโตของร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย วิตามินเอที่พบส่วนมากมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบวิตามิน เรียกว่า เรตินอล (Retinol) พบในอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ ปลาทะเล ตับ ไข่แดง และรูปแบบสารตั้งต้น เรียกว่า เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) พบมากในผักผลไม้ เช่น แครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน ผักหวาน ตำลึง กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ชะอม บล็อกโคลี่ มะระ คะน้า มะม่วงสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก แตงไทและอโวคาโด
         เบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จัดอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) พวกที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (Pro Vitamin A) เพราะสามารถเปลี่ยนรูปเป็นเรตินอล (Retinol) ได้ที่เยื่อบุผนังลำไส้เล็กและตับ โดยปกติร่างกายเราจะสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนเป็นวิตามินเอแล้วจะช่วยการมองเห็น ลดความเสื่อมสภาพของเซลล์ของลูกตา เยื่อบุตา กระจกตา อีกทั้งช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       4. สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids)
         เป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่ละลายได้ดีในน้ำมัน มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ พบในผักผลไม้ธรรมชาติมีอยู่กว่า 600 ชนิด ที่พบมากมีอยู่ 6 ชนิด คือ เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) อัลฟาคาร์โรทีน (Alpha-carotene) เบต้าคริปโตแซนทิน (Beta-Cryptoxanthin) ไลโคปีน (Lycopene) ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทิน (Zeaxanthin) โดยสาร 3 ชนิดแรกสามารถเปลี่ยนรูปเป็นเรตินอลได้ในทางเดินอาหาร จึงจัดเป็น แคโรทีนอยด์พวกที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (Pro Vitamin A) ส่วนสาร 3 ตัวหลังไม่มีคุณสมบัติเป็นวิตามินเอ หลังจากสารเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายแล้ว จะพบได้ที่เนื้อเยื่อไขมัน ตับ ไต และต่อมหมวกไต โดยที่เนื้อเยื่อไขมันและตับจะเป็นที่สะสมของสารเหล่านี้อยู่มากที่สุด
         บทบาทของแคโรทีนอยด์มีหลายประการคือ นอกจากจะเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอแล้ว ยังทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำลายส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์จนเกิดความเสื่อมหรือการแบ่งตัวของเซลล์ผิดปกติ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงโรคมะเร็ง แต่การกำจัดอนุมูลอิสระได้ดีควรรับประทานร่วมกับวิตามินซีและวิตามินอี เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการปกป้องเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยะต่าง ๆ ของร่างกายจากอนุมูลอิสระ และกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายให้มีประสิทธิภาพการทำงานต้านสิ่งแปลกปลอม เชื้อรา และไวรัสได้ดีขึ้น เราจะพบสารกลุ่มนี้ได้จากผักผลไม้ที่มีสีแดง สีส้ม สีเขียว และสีเหลือง เช่น แครอท มะเขือเทศ ผักโขม ฟักทอง สาหร่าย มะละกอสุก แคนตาลูป เราจึงต้องรับประทานผักผลไม้ในปริมาณสูงและหลายหลายชนิดให้ได้คาโรทีนอยด์ครบถ้วน เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ

       5. กรดแอลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid)
         กรดแอลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic Acid, ALA) จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงที่สามารถสังเคราะห์ได้ในร่างกาย ได้รับการขนานนามว่าเป็น “สารต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาล (Universal Antioxidant)” เนื่องจากมีคุณสมบัติสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน จึงสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปภายในเซลล์ ทำให้สามารถแทรกซึมเข้าไปต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในเซลล์ได้ทั่วทุกเซลล์ในร่างกาย เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ๆ เช่น วิตามินซี วิตามินอี กูลตาไธโอน (Glutathione) และโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) โดยกรดแอลฟาไลโปอิกจะให้อิเล็คตรอนกับสารเหล่านี้ ทำให้สามารถกลับมาทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากเสื่อมสภาพจากการใช้ในการกำจัดอนุมูลอิสระไปแล้ว ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยจับกับโลหะหนัก เช่น สารหนู แคกเมียม ปรอท ตะกั่ว แล้วขับออกจากร่างกาย ช่วยล้างสารพิษและต้านอนุมูลอิสระในตับ ช่วยควบคุมและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยจะไปยับยั้งเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงยับยั้งการผลิตโปรตีนที่ส่งผลต่อการอักเสบ (Cytokine protein TNF-α)
         นอกจากนี้ยังมีบทบาทหลักในการย่อยเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน โดยมีคุณสมบัติเสริม การออกฤทธิ์กับอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในการย่อยสลายน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน และทำลายอนุมูลอิสระที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสภายในเซลล์ จึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ดี เช่น โรคเกี่ยวกับปลายประสาทอักเสบ อาการชาตามปลายมือ-ปลายเท้า ต้อกระจก เราจะพบกรดแอลฟาไลโปอิกได้จากอาหารหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักใบสีเขียวเข้ม ปวยเล้ง ผักโขม บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง รำข้าว มะเขือเทศ เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต

       6. แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
          แอสตาแซนธิน จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ มีลักษณะเป็นสาร สีแดงที่ละลายได้ดีในไขมัน ร่างกายสร้างเองไม่ได้ต้องได้รับจากแหล่งอาหารสีแดง เช่น เนื้อปลาแซลมอน เคย (Krill) กุ้ง เปลือกปู เปลือกกุ้งมังกร และพบมากสุดในสาหร่ายสีแดง สายพันธุ์ฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส (Heamatococcus Pluvialis) ด้วยสูตรโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ จึงมีความสามารถในการปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทั้งภายในและภายนอกได้ทุกส่วนทั่วร่างกาย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบสูงที่สุด ด้วยพลังการต้านอนุมูลอิสระของแอสตาแซนธินที่สูงกว่าวิตามินอี 550 เท่าและสูงกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่า จึงทำให้มีคุณลักษณะที่เหนือกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น ๆ หลายคนจึงเรียกว่าเป็น “Nature's Most Powerful Antioxidant” หรือ “ที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ” หรือ “ราชาแห่งแคโรทีนอยด์”
         แอสตาแซนธิน จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดชนิดหนึ่งที่พบในธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญในการปกป้องเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ ช่วยฟื้นฟูและชะลอการเสื่อมของเซลล์ ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดได้รับมาภายหลัง รวมทั้งช่วยเพิ่มการผลิตไซโตไคน์และแอนติบอดี้ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีแอสตาแซนธิน หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงไม่เพียงช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน แต่ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายโดยรวมอีกด้วย

       7. โพลีฟีนอล (Polyphenol)
         โพลีฟีนอล (Polyphenol) เป็นชนิดของสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) ในกลุ่มของสารประกอบ ฟีนอลิก (Phenolic Compounds) จากสารอาหารธรรมชาติที่พบในพืชผักและผลไม้ มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ลดการอักเสบของหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งช่วยชะลอความเสื่อมของระบบประสาท โดยโพลีฟีนอลแบ่งเป็น 7 ประเภทหลักดังนี้
         1) กรดฟีโนลิก (Phenolic Acid) ประกอบด้วยอนุพันธุ์กรดซินนามิก (Cinnmic Acid) แหล่งอาหารได้แก่ กาแฟ ถั่วเมล็ดแห้ง เกาลัด ชาดำ ช็อคโกแลต แอปเปิ้ล มะกอก ผลไม้สีแดง- ม่วง ได้แก่ เบอร์รี มะเขือเทศ เครื่องเทศ ได้แก่ ออริกาโน ไทม์ และกลุ่มอนุพันธุ์กรดเบนอิก (Benzoic Acid) แหล่งอาหารได้แก่ ไชเท้าม่วง มันฝรั่ง หอมแดง โดยทั่วไปกรดฟีโนลิกจะไม่อยู่ในรูปของกรดอิสระ แต่จะอยู่ในรูปของสารประกอบ เอสเทอร์กับน้ำตาลกลูโคส
         2) สารเคอคิวมินอยด์ (Curcuminoids) เช่น สารเคอร์คิวมิน (Curcumin) หรือไดเฟอรูโลอิลมีเทน (Diferuloylmethane) แหล่งอาหารได้แก่ ขิง ขมิ้น
         3) สทิลบีน (Stilbenes) เช่น เรสเวอราทรอล (Resveratrol) แหล่งอาหารได้แก่ เปลือกองุ่น เบอร์รี และถั่วลิสง สำหรับกระหล่ำม่วง ผักโขม สมุนไพร มีบ้างแต่น้อย
         4) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารฟลาโวนอยด์มีโครงสร้างเป็นกลุ่มวงแหวนอะโรมาติก 2 กลุ่ม เชื่อมต่อด้วยคาร์บอน 3 อะตอม (C3) ฟลาโวนอยด์ในอาหารที่พบมักจะจับกับโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วย 7 กลุ่มหลักคือ
                 4.1 กลุ่มฟลาโวนอล (Flavonols) อย่างเช่น เควอซิทิน (Quercetin) แคมเฟอรอล (Kaempferol) ไมริซิทิน (Myricetin) และไอโซแรมเนทิน (Isorhamnetin) แหล่งอาหาร ได้แก่ ช็อคโกแลต หอมแดง หอมใหญ่ เบอร์รี บล็อกโคลี แอปเปิ้ล สาลี่ และคะน้า
             4.2 กลุ่มฟลาวานอล (Flavanols) ไม่ใช่สารประกอบฟีนอลหลักในผลไม้ แต่จะอยู่ในรูปของสาร โปรไซยานิดิน (Procyanidins) แอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidins) และอยู่ในรูปของสารโมโนเมอร์ เช่น อิพิแกลโลแคเทชิน (Epigallocatechin: EGCG) แหล่งอาหารได้แก่ ชาเขียว และแคทเทชิน (Catechin) แหล่งอาหาร ได้แก่ องุ่นดำ ผงโกโก้ ผลไม้สีแดง แอปเปิ้ล องุ่น สาลี่ ท้อ ช็อคโกแลต
              4.3 กลุ่มแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) เป็นตัวที่ทำให้เกิดสีแดงในผลไม้บางชนิด โดยมีสารตัวหลักในกลุ่มนี้ที่ทำให้เกิดสีในผลไม้ แยกได้เป็น 6 ชนิดคือ ไซยานิดิน (Cyanidin) เดลฟินิดิน (Delphinidin) พีโอนิดิน (Peonidin) พีลาโกนิดิน (Pelargonidin) พีทูนิดิน (Petunidin) และมาลวานิดิน (Malvanidin) โดยไซยา นิดินเป็นแอนโทไซยานินหลักและพบมากที่สุดในผลไม้ แหล่งอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้สีแดงและม่วง เช่น ตระกูลเบอร์รี องุ่น เชอร์รี บลูเบอร์รี แอปเปิ้ล ส้ม สาลี่ ท้อ ลูกพลัม มะเขือม่วง
                4.4 กลุ่มฟลาวาโนน (Flavanones) แหล่งอาหาร ได้แก่ องุ่น ผลไม้ตระกูลส้ม มะเขือเทศ อัลมอนด์
                4.5 กลุ่มฟลาวาโนนอล (Flavanonols) แหล่งอาหาร ได้แก่ หอมแดง องุ่น ไวน์แดง
               4.6 กลุ่มฟลาโวน (Flavons) พบน้อยในผัก ผลไม้ แหล่งอาหาร ได้แก่ ส้ม เกรพฟรุท มะนาว ผักชีฝรั่ง (Parsley) คื่นช่ายฝรั่ง (Cerely) อาติโชค (Artichoke) สมุนไพร (Herb) ธัญชาติ เช่น มิลเลท (Millet) ข้าวสาลี (wheat)
               4.7 กลุ่มไอโซฟลาโวน (Isoflavones) มี 2 ตัวหลักคือ เจนีสทีน (Genistein) และไดเซน (Daidzein) แหล่งอาหาร ได้แก่ ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
           นอกจากนี้ยังมีสารอินทรีย์กลุ่มใหม่ที่เพิ่งค้นพบ มีโครงสร้างคล้ายสารผลาโวนอยด์ ได้แก่ สารแซนโทน (Xanthone) พบปริมาณมากในมังคุด
       5) ลิกแนน (Lignan) แหล่งอาหาร ได้แก่ เมล็ดแฟล็กซ์ (Flax Seed) เมล็ดงา (Sesame Seed) น้ำมันเมล็ดพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะกอก และพบในปริมาณเล็กน้อยในธัญชาติ (Pulses)
       6) แทนนิน (Tannins) แหล่งอาหาร ได้แก่ องุ่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี ไวน์แดง ชาเขียว
       7) ชาลโคน (Chalcone) ประกอบด้วยกลุ่มสารบิวทีน (butein) แหล่งอาหาร ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ลไซเดอร์ ผัก ได้แก่ มะเขือเทศ มันเทศ ถั่วงอก หอมแดง เครื่องเทศ

       สารต้านอนุมูลอิสระจึงจำเป็นสำหรับเราทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงกับปัจจัยและมลพิษต่าง ๆ ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร ผักและผลไม้ที่หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหาร รวมทั้งเอนไซม์ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ หรือเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการเกิดและการต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่สามารถดักจับหรือต่อสู้กับ เชื้อโรคต่าง ๆ รวมทั้งปกป้องความผิดปกติจากการแบ่งตัวของเซลล์ ทั้งนี้การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิต หรือปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนรับประทาน

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับในชีวิตประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพ: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

TAG
FOLLOW ME
Health & Wellness
Bring Happiness to Your
Good Health and Good Life

บริษัท เวลเนส กรีน ไลฟ์ จำกัด
ช65/4-5 ถ.สวรรค์วิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000

Tel : 091-459-6662 หรือ 056-222-662
Facebook : เวลเนส กรีน ช็อป
                 สาขานครสวรรค์
Line ID : @wglgoodlife
e-Mail : wellness.nsn@gmail.com
              info@wellnessgreenlife.co.th
www.wellnessgreenlife.com :  www.wellnessgreenlife.co.th :  www.wellnessgoodlifeshop.com
Copyright © 2021 Wellness Green Life All Rights Reserved.